ชนิดของการเผยแพร่ที่เกี่ยวกับผู้รับสาสน์และผู้ฟัง

การเผยแพร่มีสองอย่าง
1-การเผยแพร่สำหรับบุคคล(ตัวต่อตัว)
2-การเผยแพร่สำหรับส่วนรวม
ในบทนี้ต้องการอธิบายถึงข้อควรระมัดระวังรากฐานที่เฉพาะสำหรับทั้งสองชนิดในการเผยแพร่
การอธิบายของแต่ละชนิดของการเผยแพร่
1-การเผยแพร่สำหรับบุคคล(ตัวต่อตัว)
เพื่อให้ไปถึงจุดมุ่งหมายของการเผยแพร่ในการเผยแพร่สำหรับบุคคล นักเผยแพร่ต้องพยายามทำความรู้จักกับบุคคลแต่ละบุคคลที่เกี่ยวกับคุณลักษณะของพวกเขาและเพื่อการเผยแพร่แก่แต่ละบุคคล บุคคลแต่ละคนนั้นจะยอมรับเนื้อหาที่เหมาะสมกับคุณลักษณะของตนเอง
ด้วยเหตุนี้ เมื่อนักเผยแพร่ต้องการเผยแพร่ บุคคลประเภทที่เป็นนักวิชาการหรือผู้มีอิทธิพลต่อกลุ่มหรือสังคมต่างๆหรือผู้ฟังของเขาโดยทั่วไปเป็นผู้มีปัญหา เขาต้องใช้ประโยชน์จากรากฐานการเผยแพร่สำหรับบุคคลเพื่อให้เกิดผลมากที่สุด
รากฐานการเผยแพร่แบบตัวต่อตัว
รากฐานที่หนึ่ง:รูปแบบการแก้ไข
ในรูปแบบของการแก้ไขต้องพยายามเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบและเป็นขั้นตอนได้ดีที่สุดซึ่งขั้นตอนมีดังต่อไปนี้
1-1การขจัดอุปสรรคและสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นภายใน
สิ่งแรกที่เป็นหน้าที่สำหรับนักเผยแพร่เวลาที่ต้องพอกับผู้คนที่ไม่รู้จักคือการขจัดอุปสรรค ความอาย , ความกลัว ฯลฯจะเป็นอุปสรรคในการสร้างสัมพันธ์กับมนุษยชาติ ฉะนั้นนักเผยแพร่จะต้องขจัดอุปสรรคต่างๆออกไปซึ่งจะสร้างความสงบ ความปลอดภัยให้กับผู้ฟัง ฉะนั้นเป็นไปไม่ได้เลยหากไม่รู้จักผู้ฟังและระมัดระวังความรู้สึกของพวกเขา
1.2การทำให้เกิดคุณค่า
การประพฤติปฎิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่เป็นประจำจะทำให้เกิดความเคยชินซึ่งในบางครั้งการกระทำนั้นมันก็ไม่มีคุณค่าใดๆ นักเผยแพร่ต้องพยายามพูดคุยหรือสนทนากับผู้ฟังเพื่อให้เขาสร้างคุณค่าให้กับตนเองให้ได้ให้ไปแทนที่สิ่งต่างๆที่ไม่มีคุณค่า
1.3สร้างความเป็นมั่นคงและความเสมอภาค
เมื่อผู้ฟังได้สร้างคุณค่าให้กับตัวเขาเองแล้ว ย่อมมีความจำเป็นต่อความสงบภายในจิตใจ เป็นหน้าที่ของนักเผยแพร่ที่จะต้องสร้างความสงบให้แก่เขา ต้องหาเหตุผลต่างๆที่จะทำให้เขายอมรับที่จะยืนหยัดต่อคำตำหนิต่างๆจากบุคคลอื่นๆเช่น เพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้องที่เคยเห็นข้อไม่ดีต่างๆของบุคคลนั้น
1.4พูดคุยถึงปัญหาต่างๆกับตัวบุคคล
จุดประสงค์คือการสนทนาและการถามจากตัวบุคคลเพื่อยืนยันคำตอบที่ถูกต้องจากคำตอบของผู้ฟังเองซึ่งจะทำให้เกิดผลเป็นอย่างมาก และผู้ฟังก็จะยอมรับในที่สุด
1.5ระมัดระวัง
ในตอนท้ายของการสนทนานักเผยแพร่ต้องพยายามแนะนำทางแก่ผู้ฟังซึ่งเขาจะลืมคุณลักษณะก่อนๆและพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นจนเป็นนิสัยในที่สุดเขาก็จะพยายามสร้างเสริมจิตวิญญาณของตนเองนักเผยแพร่ต้องพยายามรักษาจิตวิญญาณนี้ให้แก่ผู้ฟัง
รากฐานที่สอง:การสัมภาษณ์
ในการเผยแพร่แบบตัวต่อตัวต้องมีเงื่อนไขต่างๆที่สำคัญสำหรับการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์ก็คือ การพูดคุยกันระหว่างบุคคลสองบุคคลพร้อมกับผลพวงที่จะได้ การไม่พิจารณาไปถึงความคิด , ข้อมูลต่างๆ ,ความเชื่อ โดยที่ต้องการผลสะท้อนกลับจากคู่สนทนานั้นเป็นไปไม่ได้ เพื่อให้การสัมภาษณ์เป็นไปอย่างถูกต้องต้องพิจารณาไปถึงเงื่อนไขและสิ่งสำคัญต่างๆ
แต่ก่อนที่จะเข้าไปสู่การอธิบาย เราจะอธิบายถึงชนิดต่างๆของการสัมภาษณ์ดังต่อไปนี้
2.1การสัมภาษณ์โดยตรง
เป็นการสัมภาษณ์ที่นักเผยแพร่จะรับหน้าที่เป็นผู้ดูแลเอง ซึ่งการสัมภาษณ์นี้สำหรับบุคคลที่ต้องการจะขจัดปัญหาของตนเองเขาจะเข้ามาหานักเผยแพร่ด้วยเอง เช่น อาจบอกว่าเขามีปัญหาชอบโกหกจะทำอย่างไรดี? ตรงนี้เองที่นักเผยแพร่จะทำหน้าที่พูดคุยกับเขาได้ด้วยตนเอง
2.2การสัมภาษณ์โดยทางอ้อม
การสัมภาษณ์ประเภทนี้ถ้าดูผิวเผินคนที่ทำหน้าที่ดูแลคือผู้ที่เข้ามาหานักเผยแพร่แต่ในความเป็นจริงคือนักเผยแพร่นั้นเอง และการสัมภาษณ์ประเภทจะมีปัญหา จะทำได้ก็ต่อเมื่อคนที่เข้าไปหานักเผยแพร่มากับใครคนใดคนหนึ่งหรือแนะนำให้นักเผยแพร่รู้จักหรือนักเผยแพร่จะเป็นฝ่ายไปหาเองทั้งสามอย่างนี้แน่นอนว่าผู้ที่จะถูกสัมภาษณ์ย่อมไม่พอใจกับการถูกสัมภาษณ์ เช่น มีบุคคคลหนึ่งเข้ามาหานักเผยแพร่และบอกว่า ลูกชายของฉันชอบโกหก ถ้าเป็นไปได้คุณช่วยพูดคุยกับเขาหน่อยเพื่อให้เขาแก้ไขตนเอง ณ ตรงนี้เองที่นักเผยแพรไม่สามารถเริ่มเรื่องได้ เขาต้องให้คู่สนทนาของเขาเป็นฝ่ายเริ่มก่อนเพื่อจะได้เข้าเรื่อง
2.3การเลือกสัมภาษณ์
ตรงนี้นักเผยแพร่มีอิสระที่จะสัมภาษณ์เองหรือให้ผู้อื่นรับหน้าที่นี้ไปเพื่อพิจารณาไปที่ความเหมาะสม


เงื่อนไขและข้อต่างๆที่สำคัญในการสัมภาษณ์
1-การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีงาม
เมื่อนักเผยแพร่จะเริ่มสนทนากับผู้ฟังอย่าเพิ่งเข้าเรื่อง ให้ถามถึงสารทุกข์สุกดิบหรือเริ่มอารัมภบทอื่นไปก่อน
2-การฟัง
เมื่อผู้ฟังจะเริ่มพูดนักเผยแพร่ต้องฟังเขาพูดอย่างตั้งใจ เพราะจะทำให้เข้าใจได้เมื่อมันอยู่ในสมองหรืออยู่ในสมุดจด
3-ปฏิกิริยาสนองตอบ
เพื่อเป็นการสร้างความตื่นตัวให้แก่ผู้ฟังควรเน้นย้ำเรื่องที่ได้เลือกมาหรือไม่ก็มีการถามเพื่อให้ผู้ฟังได้คิดและสนทนากันเนื่องจากว่าการสนทนานี้จะเป็นไปในลักษณะทางอ้อมที่จะให้พวกเขาเข้าสู่เนื้อหาของเรื่องนั้น
4-การมอง
การมองไปยังสิ่งหนึ่งสิ่งใดสำหรับบางครั้งเมื่อประสบกับสภาพที่ผู้ฟังเริ่มไม่สนใจในคำปราศรัยต้องออกจากเรื่องสักประเดี๋ยวเพื่อสร้างความพร้อมอีกครั้ง
5-การสรุป
ในตอนท้ายของการสัมภาษณ์ต้องสรุปในสิ่งที่ได้ทำการสนทนาไปเพื่อสาธยายให้แก่ผู้ฟังเพราะในบางครั้งผู้ฟังจะมีอาการกระวนกระวายเมื่อทำการสนทนาหรืออาจจะได้ยินเรื่องอะไรมาและไม่สนใจ ด้วยเหตุนี้การได้สรุปจะช่วยได้เยอะในการนำเนื้อหาเข้าสู่สติปัญญาของเขา
6-การระบุเวลาครั้งต่อไป
เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาต่างๆ เป็นการดีที่จะกำหนดเวลาในการพูดคุยครั้งต่อไป และต้องปฏิบัติในเชิงที่ว่าผู้พร้อมที่จะยอมถูกสัมภาษณ์ในครั้งต่อไป
2-การเผยแพร่แบบส่วนรวม
ส่วนใหญ่นักเผยแพร่จะเจอกับการเผยแพร่แบบส่วนรวม ถ้าหากผู้คนมีความเท่าเทียมกันในเรื่องของอายุ , หน้าที่การงาน , ระดับสติปัญญา ก็ไม่น่าจะมีปัญหาในการเผยแพร่ ถ้าหากจะต้องเผยแพร่กับสังคมที่มีผู้คนที่มีความคิดความอ่าน , ระดับสติปัญญา ,อาชีพ ,คุณลักษณะต่างๆที่ไม่เหมือนกัน ย่อมเป็นเรื่องที่ยากและจะมีปัญหาในการดึงดูดและไปให้ถึงจุดมุ่งหมาย ด้วยเหตุนี้จะต้องใช้ประโยชน์จากการเผยแพร่แบบส่วนบุคคลให้ดีที่สุด เพื่อให้ผู้คนได้รับประโยชน์จากเนื้อหา
การเผยแพร่แบบส่วนรวมจะมีคุณลักษณะที่เฉพาะ การใช้เสียงของผู้พูด , สำเนียงในการอธิบาย , การระมัดระวังสิ่งที่ควรระมัดระวังในภายนอกสรุปคือเงื่อนไขต่างๆที่จะทำให้ประสบความสำเร็จจำเป็นที่จะต้องระวังระวังสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้

1-คุณลักษณะของผู้พูด
สิ่งแรกที่เป็นสิ่งสำคัญในการเผยแพร่คือคุณลักษณะของผู้พูดต้องเป็นที่กระจ่าง หมายความว่านักเผยแพร่ต้องรู้ถึงพื้นฐานของตัวบุคคล , วิชาการ , ความสามารถในการอธิบาย , ระดับการรับรู้ของข้อมูลในด้านศาสนาและการดึงดูดของคำพูดว่าอยู่ในระดับไหนและบรรทัดฐานในการรู้จัดสังคมของเขาเป็นอย่างไรและขั้นไหน
ผู้พูดต้องพิจารณาในประเด็นต่างๆของตนเพื่อจะได้ทำให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้ฟัง
2-เนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับอธิบาย
เป็นไปไม่ได้ที่เราจะทำให้การปราศรัยถูกจำกัดเพียงครั้งเดียว ณ ปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ใฝ่หาวิชาความรู้และมีข้อมูลมากมาย แน่นอนว่าไม่สามารถมองผู้คนว่าอยู่ในระดับเดียวกัน
ด้วยเหตุนี้ การเลือกหัวข้อและเนื้อหาต้องได้มาด้วยกับการค้นคว้าและปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญและเพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับเนื้อหาควรใช้ประโยชน์จากอายะฮฺและริวายัติต่างๆ แต่ให้ดีควรท่องจำทั้งอายะฮ์และริวายัติ ในด้านของจิตยวิทยา การท่องจำอายะฮ์และริวายัติจะมีผลอย่างมากสำหรับความคิดของผู้ฟัง ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดปัญหาของการใช้น้ำเสียงและจะมีความสอดคล้องกับการใช้ท่าทางของร่างกายพร้อมกับเสียงรวมถึงจะดูเป็นคนที่มีความชำนาญ
3-สภาพแวดล้อมของที่ปราศรัย
การพูดต้องครอบคลุมสภาพแวดล้อมโดยรวม และพิจารณาไปที่คุณลักษณะของผู้ฟังว่าต้องการอะไรเช่น ในที่นี้ผู้คนมีความรักไปยังอิมามฮุเซน ก็ใช้ประโยชน์จากความรักนี้และนำเนื้อหาเข้ามาใส่ไม่ใช่ว่าไม่สนใจถึงเรื่องก็ทำการจู่โจมทางด้านคำพูดเลยทีเดียว ถ้าหากเกิดขึ้นก็จะทำให้ผู้ฟังไม่สนใจ
4-วิธีการบรรยาย
จะพูดอย่างไร?เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถึงแม้จะพยายามเพียงใดก็ไม่สามารถดึงดูดได้นั้นเป็นเพราะไม่รู้จะพูดออย่างไร
เพื่อให้พูดได้อย่างดีและมีการพัฒนาในการบรรยายต้องพิจารณาข้อต่างๆดังต่อไปนี้
1-ความคล้องจองในเรื่องของเสียงและท่าทางประกอบในการปราศรัย
2-การเลือกคำที่ถูกต้องและเป็นประโยค
3-การระมัดระวังน้ำเสียง
4-การระมัดระวังกฎไวยกรณ์และเปลี่ยนน้ำเสียงในประโยคต่างๆ เช่น ประโยคคำถามกับสำเนียงของการถามหรือประโยคตกใจควรออกมาในลักษณะที่ตกใจจริงๆ
5-อย่าให้เวลาเกินจากที่กำหนด เพราะในบางครั้งนักเผยแพร่อาจมีโปรแกรมอื่นๆที่เตรียมไว้สำหรับผู้ฟังซึ่งไม่รักษาเวลาด้วยแน่นอนว่าย่อมเกิดปัญหา
ฉะนั้นต้องมีเนื้อหาที่ชัดเจนซึ่งไม่ควรให้บทสรุปของเนื้อหาคนละเรื่องกับจุดประสงค์ของเนื้อหา
6-ต้องระมัดระวังเรื่องของความเข้าใจต้องให้เหมาะสมด้วย
7-มีความหลากหลายในการพูดโดยเฉพาะกับผู้ที่มีอายุและข้อมูลที่แตกต่าง

1 ความคิดเห็น:

ผู้สนับสนุน