อิจฉาในทัศนะหะดีษ

ท่านอิมามอะลีได้กล่าวว่า ความอิจฉาคือคุกแห่งจิตวิญญาน
ท่านได้กล่าวอีกว่า ความอิจฉาคือโรคที่ร้ายแรงที่สุด
ท่านได้กล่าวอีกว่า ความอิจฉาคือต้นกำเนิดแห่งความชั่วร้ายทั้งหลาย
สาเหตุที่ทำให้เกิดการอิจฉา
แน่นอนการอิจฉาถือว่าเป็นคุณลักษณะที่ไม่ดี และผู้ใดมีคุณลักษณะดังกล่าว ต้องรีบขจัดความป่วยไขนี้ออกไป แต่ก่อนเราต้องมาทราบสาเหตุที่ก่อให้เกิดการอิจฉาเสียก่อน นักวิชาการด้านอัคลากได้กล่าวว่า สาเหตุทำให้เกิดการอิจฉามี เจ็ดประการด้วยกัน
๑ จิตรใจที่ชั่วร้าย
เมือเห็นคนอื่นลำบาก, เศร้า,ทุกข์ มีความสุข โดยที่ต้นเองก็มิได้มีความคิดเป็นศัตรู
๒ เป็นศัตรู
เกิดจากความเกลียดชังและการเป็นศัตรู ซึ่งไม่ปราถนาให้พบกับความสุข เมื่อเห็นศัตรูมีความสุข ได้สิ่งดีๆ เขาจะเกิดความเศร้าหมอง
๓ รักในตำแหน่งและเงินทอง
ในการใช้ชีวิตของเราอาจต้องประสบกับคู่แข่ง ซึ่งมีความรู้สึกอิจฉาต่อเขา อาทิเช่น เขามีสิ่งที่ดีกว่าเราทุกอย่าง ร่ำรวย ชื่อเสียง ตำแหน่ง มีความต้องการให้เขาพบกับความพินาศในชีวิตของเขา
๕ ตะกับโบร( ทะนงตน)
บางคนที่มีจิตรใจทะนงและเห็นตัวเองเหนือกว่าผู้อื่น เมื่อเห็นความเจริญก้าวหน้าของผู้อื่น เกิดความเศร้าโศก และไม่สามารถ จะเห็นความก้าวหน้า ของคนอื่นได้ เพราะผู้ทะนงตนไม่สามารถจะเห็นความก้าวหน้าของคนอื่นได้ เพราะผู้ทะนงตนชอบที่จะเห็นคนอื่นต่ำต้อยกว่าตนเอง เพื่อตนเองจะได้ทะนงตน และรอที่จะให้ผู้อื่นนั้นให้การยกย่องตนเอง ดังนั้นเมื่อคนอื่นมีความเหนือกว่าเขา จึงเป็นสาเหตุทำให้ไม่มีผู้ใดที่จะมาให้เกรียติและนอมน้อมต่อเขา ด้วยเหตุนี้เองความอิจฉาจึงเกิดขึ้น
๖ เห็นแก่ตัว
เพราะคนประเภทนี้ จะรักตนเองมากที่สุด เขาจึงเกิดความกังวลว่าหากใครมีความเจิรญก้าวหน้า จะทำให้ตนเองต้องเสียผลประโยชน์ ความเห็นแก่ตัว มีความแตกต่างกับวความทะนงตน เพราะความทะนงตนนั้น เห็นตนเองเหนือกว่าผู้อื่น แต่ทว่าผู้ที่เห็นแก่ตัวกลับมิได้เห็นตนเองเหนือกว่าผู้อื่น แต่กลัวผลประโยชน์สูญเสียไปจากตนเอง
๗ แสดงความงุนงง
บางคนมีความรู้สึกว่าความสุขและเนียมัตทีเขาได้รับนั้นดีที่สุด แต่เมื่อมีคนอื่นได้เนียมัตนั้นเหนือกว่าที่เขาได้รับ ทำให้เกิดความงุนงงว่าเนียมัตอันยิ่งใหญ่เช่นนี้ได้มาสู่เขาได้อย่างไร ( บุญหลนทับ) ซึ่งทำให้เขาปราถนาให้มันสูญหายไป

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณที่ทำให้เรามีรายงานส่งอาจารย์

    ตอบลบ

ผู้สนับสนุน