การประทานอัลกุรอานแบบวาระเดียว

1. การประทานอัลกุรอานมี 2 รูปแบบด้วยกันคือ : การประทานอัลกุรอานแบบวาระเดียว และการประทานอัลกุรอานแบบหลายวาระ ซึ่งโองการที่ถูกประทานมาในเดือนรอมฎอน เป็นการประทานอัลกุรอานในรูปแบบวาระเดียว 2. ตามรายงานของบรรดาอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ถึงเรื่องของการประทานอัลกุรอานแบบวาระเดียว เป็นการประทานลงมา ณ บัยตุลอิซซะฮ์ และฟากฟ้าแห่งโลกดุนยา และตามการรายงานของชีอะฮ์อิมามียะฮ์รายงานกล่าวไว้เช่นกันว่าการประทานอัลกุรอานถูกประทาน ณ บัยตุลมะอ์มูรและฟากฟ้าชั้นที่สี่
3. ตามแนวความคิดของท่านอัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีย์ คือ อัลกุรอานถูกประทานลงมาสู่จิตใจของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แบบวาระเดียว ดังโองการที่ 11 ซูเราะฮ์ฏอฮา และโองการที่ 19 ซูเราะฮ์กิยามัต ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า การประทานโองการหรือซูเราะฮ์แบบวาระเดียวยังท่านศาสดา(ศ็อลฯ) นั้น ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)รอบรู้ในทุก ๆ สิ่งที่จะถูกประทานมายังท่านก่อนแล้ว ด้วยเหตุนี้เองการอ่านโองการอัลกุรอานก่อนการประทานจะเสร็จสิ้นลงนั้นจึงเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) 4. ความเร้นลับหนึ่งในการประทานอัลกุรอานแบบหลายวาระ คือ การทำให้จิตใจของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) และบรรดามุสลิเกิดความมั่นคง และการประทานอัลกุรอานแบบหลายวาระเป็นบทบัญญัติของอิสลาม เพี่อให้อัลกุรอานพ้นจากการดัดแปลง เพิ่มเติม และเพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้หลักปฏิบัติ อีกทั้งเพื่อให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ต่าง ๆที่เกิดขึ้นในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อย่างสมบูรณ์การประทานอัลกุรอานแบบวาระเดียว สิ่งนี้ทำให้คาดการณ์ได้ว่า อัลกุรอานมีการประทานลงมาหลายรูปแบบ : เนื่องจากทั้งในสายรายงานของพี่น้องซุนนะฮ์และชีอะฮ์ ต่างยอมรับและมีความเห็นตรงกันในการประทานในรูปแบบนี้ ท่านญะลาลุดดีน ซะยูฏี กล่าวว่า : รูปแบบการประทานอัลกุรอานลงมาจากบัลลังก์ของอัลลอฮ์ (ซบ.) มี 3 ทัศนะด้วยกันคือ ทัศนะแรก : อัลกุรอานถูกประทาทนลงมายังโลกดุนยาแบบทั้งหมดเพียงวาระเดียวในค่ำคืนลัยละตุลก็อดร์ หลังจากนั้นถูกประทานแบบเป็นระยะ ๆ ในเวลา 20-23 หรือ 25 ปี (แตกต่างกันตามระยะเวลาของการพำนักอยู่ในนครมักกะฮ์ของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) หลังจากการเผยแพร่ศาสนาอย่างเปิดเผย) ท่านชะฮีด บิน ญะบีร รายงานจากท่านอิบนิอับบาสว่า : อัลกุรอานถูกประทานมายังโลกดุนยาแบบวาระเดียวในค่ำคืนลัยละตุลก็อดร์ หลังจากนั้นพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงทยอยประทานโองการต่าง ๆ ตามกันลงมายังท่านศาสดาของพระองค์ มีรายงานอีกรายงานหนึ่ง จากท่านอิบนิอับบาส เช่นกันว่า : อัลกุรอานถูกประทานลงมาเพียงครั้งเดียว ณ บัยตุลอิซซะฮ์ ในฟากฟ้าแห่งโลกดุนยา และหลังจากนั้นญิบรออีลได้นำอัลกุรอานมาประทานแก่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เพื่อใช้ในการตอบคำถามของมนุษยชาติ และเพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติในการดำรงชีวิตของพวกเขา ทัศนะที่ 2 : อัลกุรอานถูกประทานลงมาสู่โลกดุนยาในค่ำคืนที่ 20 หรือ 23 หรือ 25 ของเดือนรอมฎอน เรียกได้ว่า ทุกค่ำคืนของลัยละตุลก็อดร์ พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงประทานโองการกุรอานจำนวนหนึ่งลงมาในระยะเวลาดังกล่าวจนครบถ้วนและหลังจากนั้น โองการต่าง ๆ เหล่านี้ถูกประทานอีกครั้งแบบเป็นระยะสั้น ๆ ตลอดทั้งปี ทัศนะที่ 3 : ความหมายของการประทานอัลกุรอานในเดือนรอมฎอน คือ ในครั้งแรกเป็นการประทานอัลกุรอานลงมาเพียงบางส่วนในเดือนรอมฎอน หลังจากนั้นเป็นการประทานส่วนที่เหลือในรูปแบบต่าง ๆ เป็นครั้งคราวตลอดทั้งปีมีอีกรายงานหนึ่งจากทางอิมามียะฮ์ รายงานว่า การประทานอัลกุรอานมีขึ้นที่บัยตุลมะอ์มูร และบางสายรายงานกล่าวว่า บัยตุลมะอ์มูร อยู่ณ ฟากฟ้าชั้นที่สี่ สำหรับฟากฟ้าชั้นที่สี่อยู่ที่ใหน และความเป็นจริงของบัยตุลมะอ์มูรคืออะไร เรื่องนี้ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด รายงานนี้เป็นรายงานเดียวที่ทำให้ทราบถึงสถานที่หนึ่งที่มีนามว่า ชั้นฟ้าชั้นที่สี่และบัยตุลมะอ์มูร ซึ่งอัลกุรอานถูกประทานลงมาในค่ำคืนลัยละตุลก็อดร์ ณ สถานที่ดังกล่าว ตามแนวความคิดของอัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งสามารถกล่าวโดยสังเขปได้ดังนี้คือ : จากแนวคิดทางปัญญาในเรื่องของการประทานอัลกุรอานลงมาในค่ำคืนลัยละตุลก็อดร์ของเดือนรอมฎอน และการอรรถาธิบายถึงการประทานอัลกุรอานลงมาแบบวาระเดียว ดังโองการกุรอานทั้งสามโองการข้างต้นนั้น มีคำอธิบายที่ตรงกันข้ามกับการประทานอัลกุรอานแบบหลายวาระ (ซึ่งกริยาบาบ ตัฟอีล ส่วนใหญ่แล้วจะตรงกันข้ามกับกริยาบาบ อิฟอาล) ด้วยเหตุนี้เองทำให้อัลกุรอานซึ่งมีความสัจจริงอยู่เหนือความเข้าใจโดยปกติทั่วไปของมนุษย์ จากโองการแรกของซูเราะฮ์ฮูด ได้กล่าวถึงความเป็นสัจจริงดังกล่าวไว้ดังนี้คือ “(อัลกุรอาน) เป็นคัมภีร์ซึ่งบรรดาโองการที่ปรากฏในนั้น ถูกเรียบเรียงขึ้นอย่างมั่นคง (โดยอัลลอฮ์) หลังจากนั้นโองการดังกล่าวก็ถูกจำแนกไว้อย่างชัดเจน เป็นคัมภีร์ที่ถูกประทานมาจากอัลลอฮ์ผู้ทรงปรีชาญาณยิ่ง อีกทั้งทรงตระหนักยิ่ง” กล่าวคือ อัลกุรอานในอีกระดับหนี่งไม่มีการแบ่งออกเป็นภาคหรือเป็นส่วนย่อยแต่อย่างใด สำหรับการอรรถาธิบายและรายละเอียดย่อยของโองการอัลกุรอานซึ่งเราเห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นขั้นตอนภายหลังจากนั้นที่ได้ถูกประทานลงมา ดังในซูเราะฮ์อะอ์รอฟ โองการี่ 53 และซูเราะฮ์ยูนุส โองการที่ 39 เป็นโองการที่มีลักษณะดังที่ได้กล่าวไว้ และที่กระจ่างชัดที่สุดคือในซูเราะฮ์ซุครุฟ โองการที่ 1-4 ความว่า : “ฮามีม ขอยืนยันในคัมภีร์(อัลกุรอาน) ที่แจ้งชัด แท้จริงเราได้บันดาลคัมภีร์นั้นให้เป็นกุรอานภาษาอาหรับเพื่อเจ้าทั้งหลายจะได้เข้าใจ และแท้จริงอัลกุรอานมีปรากฏอยู่ในแม่บทแห่งคัมภีร์ซึ่งอยู่ที่เราเอง แน่นอนยิ่งเป็นคัมภีร์อันสูงส่ง เป็นคัมภีร์ที่ยิ่งด้วยวิทยญาณ” โองการนี้เป็นการอรรถาธิบายคำกล่าวที่ว่า คัมภีร์ที่แจ้งชัดนั้นอยู่ในแม่บทแห่งคัมภีร์ซึ่งไม่ใช่ภาษาอาหรับ และไม่มีการแบ่งออกเป็นภาคหรือส่วนย่อย และถูกประทานมาเพื่อให้มนุษยชาติทั้งหลายได้ทำความเข้าใจโดยประทานลงมาเป็นภาษาอาหรับ จากโองการข้างต้นและโองการอื่น ๆ ทำให้เรากล่าวได้ว่า การประทานอัลกุรอานลงมาในเดือนรอมฎอนซึ่งเป็นการประทานคัมภีร์อันสูงส่งมาในหัวใจของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)แบบทั้งหมดในวาระเดียวนั้นมีวัตถุประสงค์เดียวกับการประทานอัลกุรอานลงมาในจิตใจของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) แบบเป็นระยะ ๆ ตลอดระยะเวลาของการเป็นศาสดาของท่าน ท่านอัลลามะฮ์ ได้ยกตัวอย่างซูเราะฮ์ฏอฮา โองการที่ 114 ความว่า : “และเจ้าอย่างเร่งรัดใน(การถ่ายทอด)อัลกุรอาน (สู่ผู้อื่น) ก่อนที่การประทานอัลกุรอานส่วนนั้นแก่เจ้าจะเรียบร้อยลง” และในซูเราะฮ์กิยามัต โองการที่ 16-17 ความว่า : “เจ้าอย่ากระดกลิ้นของเจ้าด้วยความเร่งรัดในการอ่านอัลกุรอาน เนื่องจากการรวบรวมอัลกุรอานและการอ่านมันเป็นหน้าที่ของเรา” จากโองการดังกล่าวทำให้เราทราบได้ว่า จริง ๆ แล้วอัลกุรอานถูกประทานลงมายังจิตใจของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)อยู่ก่อนแล้ว และท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ก็มีความรอบรู้ในสิ่งที่ได้ประทานลงมายังท่านเช่นกัน ด้วยเหตุนี้พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) จึงทรงห้ามท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ในการรีบเร่งที่จะอ่านโองการอัลกุรอานก่อนที่การประทานจะเรียบร้อยลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้สนับสนุน