ชีอะฮฺถึงลดนมาซห้าเวลาเหลือเพียงสามเวลา

คำถามที่ ๒๕ : การขอผ่าน (ตะวัซซุล) ไปยังเอาลิยา (มวลมิตร) เป็นสาเหตุทำให้เป็นชิกร์และบิดอะฮฺหรือ
คำตอบ :การตะวัซซุลถือเป็นวิธีการหนึ่งที่มีค่าที่สุด ที่ทำให้บ่าวไปถึงยังตำแหน่งใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้า เป็นเพียงสื่อที่เชื่อมต่อระหว่างมนุษย์กับพระผู้เป็นเจ้าของตนเอง
ท่านอิบนิ มันซูรฺ ได้กาล่าวไว้ในหนังสือลิซานุล อาหรับว่า..
توسل اليه بكذا، تقرّب اليه بحرمة آصرةٍ تعطفه عليه
ได้สัมพันธ์กับเขาด้วยสิ่งที่มีอยู่ หมายถึง ได้ใกล้ชิดกับเขาด้วยเกียรติและฐานันดรที่ดึงดูดเขา
อัล-กุรอานกล่าวว่า.
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ اتَّقُواْ اللّهَ وَابْتَغُواْ إِلَيهِ الْوَسِيلَةَ وَجَاهِدُواْ فِي سَبِيلِهِ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ
ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! พึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และจงแสวงหาสื่อไปสู่พระองค์ และจงต่อสู้บนทางของอัลลอฮฺเถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ
ท่านญูฮะรีย์ ได้ให้ความหมายคำว่า (วะซีละฮฺ) ไว้ในศิฮาหุลลุเฆาะฮฺ ว่าหมายถึง
الوسيلة ما يتقرب به الى الغير
สื่อหมายถึง สิ่งที่ทำให้เราใกล้ชิดกับอิกสิ่งหนึ่งโดยมัน
ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่มีค่ายิ่งที่เราได้สัมพันธ์ด้วยนั้น บางครั้งอาจเป็นความดีงาม หรือการเคารพสักการะพระผู้เป็นเจ้าด้วยความบริสุทธิ์ใจ สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นสื่อที่ทรงพลังทำให้เราได้เข้าใกล้ชิดต่อพระผู้เป็นเจ้า และบางครั้งอาจเป็นมนุษย์ที่เปี่ยมด้วยความดีงาม ณ พระองค์เขาคือผู้มีฐานันดรและมีเกียรติที่สูงส่ง
ประเภทของการตะวัสสุล
สามารถแบ่งการตะวัสสุลออกเป็น ๓ ประเภทดังนี้
๑. ตะวัสสุล กับอะอ์มาลศอลิห์ (คุณงามความดี) ดังที่ท่าน ญะลาลุดดีน ซุยูฏีย์ได้กล่าวอธิบายโองการที่ว่า และจงแสวงหาสื่อไปสู่พระองค์
(وَابْتَغُوْا إِلَيْهِ الْوَسِيْلَةَ)
โดยรายงานมาจากท่านกุตาดะฮฺว่า
عن قتادة فى قوله تعالى [وَابْتَغُوْا إِلَيْهِ الْوَسِيْلَةَ] قال : تقربوا إلى الله بطاعته و العمل بما يرضيه
ท่านกุตาดะฮฺ ได้อธิบายโองการข้างต้นที่ว่า (จงแสวงหาสื่อไปสู่พระองค์) ว่าหมายถึง การเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าและพึงปฏิบัติในสิ่งที่พระองค์พึงพอพระทัย อันเป็นสื่อทำให้บ่าวใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้า
๒. ตะวัสสุล กับดุอาอ์ของบ่าวที่ดี ดั่งที่อัล-กุรอานได้กล่าวถึงคำพูดของพี่น้องของท่านศาสดายูสุฟไว้ว่า
قَالُواْ يَا أَبَانَا اسْتَغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا إِنَّا كُنَّا خَاطِئِينَقَالَ سَوْفَ أَسْتَغْفِرُ لَكُمْ رَبِّيَ إِنَّهُ هُوَ الْغَفُورُ الرَّحِيمُ
พวกเขากล่าวว่า โอ้พ่อของเรา! โปรดขออภัยโทษความผิดของเราให้แก่เรา แท้จริงเราเป็นผู้ผิดเขากล่าวว่า ฉันจะขออภัยโทษต่อพระเจ้าของฉันให้พวกเจ้า แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ
โองการได้อธิบายว่าบุตรของท่านศาสดายะอ์กูบ (อ.) ได้ตะวัสสุลกับดุอาอ์ที่บิดาได้ขออภัยให้กับพวกเขา และพวกเขาได้ถือว่าสิ่งนั้นเป็นสื่อที่ทำให้พวกเขาพบกับความผาสุกและพ้นจากเคราะห์กรรม ท่านศาสดายะอ์กูบ (อ.) ไม่เพียงแต่มิได้ท้วงติงการตะวัสสุลของพวกเขาเท่านั้น แต่ท่านยังได้สัญญากับพวกเขาว่าจะวิงวอนขอการอภัยโทษจากพระผู้เป็นเจ้าให้แก่พวกเขาอีกต่างหาก
๓. การตะวัสสุล กับบุคคลที่มีเกียรติยศ และมีฐานันดรอันสูงส่ง ณ อัลลอฮฺ (ซบ.) โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความใกล้ชิดกับพระองค์โดยให้พวกเขาเป็นสื่อ
การตะวัสสุลเช่นนี้เป็นที่ยอมรับของสังคมอิสลามตั้งแต่ยุคแรก และเป็นความประพฤติของบรรดาศ่อฮาบะฮฺชั้นใกล้ชิดอีกต่างหาก ซึ่งลำดับต่อไปขอหยิบยกความประพฤติบางอย่างของเหล่าบรรดาศ่อฮาบะฮฺ
๑. ท่านอหฺมัด บิน ฮันบัล ได้บันทึกไว้ในมุสนัดของท่าน โดยรายงานมาจาก อุสมาน บิน หะนีฟว่า
إن رجلا ضرير البصر أتى النبى (ص) فقال ادع الله أن يعافينى قال : إن شئت دعوت لك و إن شئت أخرت ذاك فهو خير فقال: أدعه فأمره أن يتوضأ فيحسن وضوئه فيصلى ركعتين و يدعو بهذا الدعاء اللهم انى اسئلك و اتوجه إليك بنبيك محمد نبي الرحمة يا محمد انى توجهت بك إلى ربى فى حاجتى هذه فتقضى لى اللهم شفعه فىّ
ได้มีชายตาบอดคนหนึ่งมาหาท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และพูดว่า โปรดวิงวอนต่ออัลลอฮฺให้อภัยโทษแก่ฉัน ท่านศาสดา กล่าวว่า หากท่านปรารถนาฉันจะดุอาอ์ให้กับท่าน แต่ถ้าท่านปรารถนาให้ฉันประวิงเวลาออกไป มันจะเป็นการดี เขาได้พูดว่า ขอให้ท่านดุอาอ์เถิด ดังนั้น ท่านศาสดาได้สั่งให้เขาไปทำวุฏูอ์ ด้วยความตั้งใจหลังจากนั้นให้ทำนมาซสองร่อกะอัต เมื่อเสร็จแล้วให้ดุอาอ์ว่า โอ้อัลลอฮฺ ข้าฯขอวิงวอนต่อพระองค์ ข้าฯได้ผินหน้ามายังพระองค์โดยผ่านศาสดาของพระองค์ มุฮัมมัด ศาสดาแห่งเมตตา โอ้มุฮัมมัด แท้จริงฉันได้วิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระผู้อภิบาลของฉันโดยผ่านท่านเพื่อให้การวิงวอนของฉันถูกตอบรับ โอ้อัลลอฮฺ โปรดให้เขาเป็นผู้อนุเคราะห์แก่ฉันเถิด
ริวายะฮฺดังกล่าวอุละมาอ์ฮะดีซส่วนใหญ่ได้เห็นพร้องตรงกัน ถึงขนาดที่ว่าท่านฮากิมภายหลังจากได้รายงานฮะดีซแล้ว ท่านได้กล่าวยกย่องว่าเป็นฮะดีซศ่อฮีย์ ท่านอิบนะมาญะฮฺเช่นกันได้รายงานมาจากท่าน อบูอิสหาก และยกย่องว่าเป็นฮะดีซศ่อฮีย์ ท่านติรฺมิซีย์ ได้กล่าวสนับสนุนถึงความถูกต้องไว้ในหนังสือ อับวาบุลอัดอียะฮฺ
ท่านมุฮัมมัด นะซีบุรฺระฟาอีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัตตะวัศศ่อลุ อิลา หะกีก่อติตตะวัสสุลิ ดังนี้ว่า
لاشك أن هذا الحديث صحيح و مشهور...و قد ثبت فيه بلا شك ولا ريب ارتداد بصر الأعمى بدعاء رسول الله صل الله عليه[وآله] وسلم له
ไม่มีความสงสัยใด แท้จริงฮะดีซนี้ถูกต้อง และเป็นที่รู้จักกัน ในริวายะฮฺได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ดุอาอ์ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำให้ดวงตาของชายตาบอดคนนั้นมองเห็นริวายะฮฺได้ให้ความเข้าใจอย่างาชัดเจนว่า การตะวัสสุลกับท่านศาสดา โดยมีเจตนาให้ดุอาอ์ถูกตอบรับอย่างรวดเร็วถือว่าอนุญาต ทว่าท่านศาสดาได้สั่งให้ชายตาบอดดุอาอ์เช่นนั้น โดยมอบให้ศาสดาเป็นสื่อกลางระหว่างตนเองกับอัลลอฮฺ การกระทำอย่างนี้ในความหมายก็คือ การตะวัสสุลกับบรรดาเอาลิยา (มวลมิตร) และผู้ที่เป็นที่รักยิ่ง ณ พระองค์
๒. อบูอับดิลลาฮฺ บุคอรีย์ ได้กล่าวไว้ในศ่อฮีย์ของตนว่า
إن عمر بن الخطاب رضى الله عنه كان إذا قحطوا إستسقى بالعباس بن عبد المطلب فقال : اللهم إنا كنا نتوسل إليك بنبينا فتسقينا و إنا نتوسل إليك بعم نبينا فاسقنا قال فيسقون
ทุกครั้งที่ประสบภัยบิบัตแห้งแล้ง ท่านอุมัรฺ บิน คัฎฎ็อบจะขอฝนผ่านท่านอับบาส บิน อับดุลมุฎ็อลลิบ ลุงของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) โดยกล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺ ในยุคของท่านศาสดาเราจะขอผ่านท่าน และพระองค์ได้ประทานฝนแห่งเมตตาตกลงแก่พวกเรา ปัจจุบันเราได้ขอผ่านลุงของท่านศาสดาขอพระองค์โปรดประทานแก่พวกเราได้ ดังนั้นพวกเขาได้อิ่มสำราญ
สะวาบ บิน กอริบ ได้กล่าวกลอนบทหนึ่งแก่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ซึ่งตอนหนึ่งของกลอนกล่าวว่า
و أشهد ان لا ربّ غيره و انك مأمون على كل غالب
وانك أذنى المر سلين و سيلة إلى الله يابن الأكرمين الاطانب
ขอยืนยันว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ และแท้จริงท่านคือหลักประกันแก่สิ่งซ่อนเร้นทั้งหลาย
ท่านคือสื่อที่ใกล้ชิดอัลลอฮฺมากที่สุดในหมู่บรรดาศาสดา โอ้บุตรของผู้ที่มีเกียรติและมีความบริสุทธิ์
อย่างไรก็ตามท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ยินกลอนดังกล่าวจาก สะวาบ บิน กอริบ และท่านมิได้ห้ามปรามหรือกล่าวหาว่า กอริบ ทำชิกร์หรือสร้างบิดอะฮฺแต่อย่างไร
ท่านอิมามชาฟิอีย์ได้กล่าวกลอนที่บ่งบอกถึงแก่นแท้ไว้เช่นนี้ว่า

آل النبى ذريعتى هم إليه و سيلتى
إرجوبهم اعطى غدأ بيدى اليمين صحيفتى
ครอบครัวของท่านศาสดาเป็นสื่อไปสู่อัลลอฮฺสำหรับฉัน
ฉันหวังว่าโดยสิทธิของพวกเขาฉันจะถูกมอบบัญชีการกระทำทางมือขวา
จะเห็นได้ว่ามีริวายะฮฺจำนวนมากอนุญาตให้ตะวัสสุลกับบรรดาเอาลิยา (มวลมิตร) ของอัลลอฮฺ (ซบ.) และกล่าวยืนยันว่าการตะวัสสุลนั้นเป็นที่ยอมรับในทรรศนะของซุนนะฮฺ เป็นแบบอย่างของบรรดาศ่อฮาบะฮฺและนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของอิสลาม ซึ่งไม่จำเป็นต้องนำมาวิพากวิจารณ์อีก
จากคำอธิบายดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าคำกล่าวหาของบางกลุ่มชนที่ว่า การตะวัสสุลกับบรรดาผู้ที่รักยิ่งของอัลลอฮฺเป็นชิกร์นั้นถือว่าไม่ถูกต้อง
คำถามที่ ๒๖ : การจัดฉลองวันเกิดบรรดาเอาลิยาของอัลลอฮฺเป็นชิกร์ หรือบิดอะฮฺไหม
คำตอบ :การให้เกียรติและรำลึกถึงบ่าวที่ดีของอัลลอฮฺ อาทิเช่น การจัดพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในวันเกิด ตามทรรศนะของนักปราชญ์แล้วเป็นที่ชัดเจน ทว่าเพื่อขจัดความสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ขอนำเสนอเหตุผลบางประการทางชัรฺอีย์
๑. การจัดงานเฉลิมฉลองเป็นสื่อแห่งความรัก
อัล-กุรอานได้กล่าวเชิญชวนให้บรรดามุสลิมทั้งหลายมีความรักต่อบรรดาอหฺลุลบัยตฺ (ลูกหลานชั้นใกล้ชิด) ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า..
قُل لَّا أَسْأَلُكُمْ عَلَيْهِ أَجْرًا إِلَّا الْمَوَدَّةَ فِي الْقُرْبَى
จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด ฉันมิได้ขอรางวัลตอบแทนใด ๆ เพื่อการนี้ นอกเสียจากความรักที่มีต่อลูกหลาน
ไม่เป็นที่สงสัยว่าการจัดงานเฉลิมฉลองให้กับบรรดาเอาลิยาของอัลลอฮฺ เป็นภาพลักษณ์หนึ่งแห่งความรักของประชาชนที่มีต่อบรรดาท่านเหล่านั้น ซึ่งหากพิจารณาอย่างละเอียดจะพบว่าเป็นที่ยอมรับอัล-กุรอาน
๒. การจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดให้ท่านศาสดา (ศ็อลฯ)
อัล-กุรอาน นอกจากจะให้ช่วยเหลือท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แล้วยังได้กล่าวยกย่องเกียรติยศของท่านศาสดาและถือว่า ตำแหน่งอันสูงส่งของท่านเป็นมาตรฐานของความดีงามและความเจริญรุ่งเรือง
فَالَّذِينَ آمَنُواْ بِهِ وَعَزَّرُوهُ وَنَصَرُوهُ وَاتَّبَعُواْ النُّورَ الَّذِيَ أُنزِلَ مَعَهُ أُوْلَئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ
ดังนั้นบรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อเขา ให้ความสำคัญและช่วยเหลือเขา และปฏิบัติตามรัศมีที่ถูกประทานลงมาพร้อมกับเขา แน่นอนชนเหล่านี้แหละคือผู้ประสบความสำเร็จ
โองการข้างต้นได้กล่าวอย่างชัดเจนว่าการให้เกียรติกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในทรรศนะของอิสลามเป็นที่ยอมรับ ตลอดจนการจัดพิธีเฉลิมฉลองเพื่อเป็นการรำลึกถึงความรุ่งเรืองที่ท่านเป็นผู้สถาปนาไว้ และพึงรักษาให้สิ่งนี้ดำรงอยู่ตลอดไปแน่นอนเป็นที่พึงพอพระทัยของอัลลอฮฺ (ซบ.) เนื่องจากโองการข้างต้นได้อธิบายถึงคุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จไว้สี่ประการดังนี้
๑. มีศรัทธามั่นคง (อัลละซีนะอามะนู) โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย
๒. เป็นผู้ปฏิบัติตามนูรฺรัศมี (วัตตะบะอุลนูรอลละซีอุนซิละมะอะฮู) และปฏิบัติตามรัศมีที่ถูกประทานลงมาพร้อมกับเขา
๓. เป็นผู้ให้การช่วยเหลือท่านศาสดา (วะนะศ่อร่อฮู) และช่วยเหลือเขา
๔.เป็นผู้ให้ความสำคัญต่อตำแหน่งของท่านศาสดา (วะอัซซะรูฮู) ให้ความสำคัญ
ด้วยเหตุนี้ การให้เกียรติและยกย่องฐานันดรของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) นอกเหนือไปจากการช่วยเหลือ และการปฏิบัติตามคำสั่งของท่าน ถือว่าเป็นความจำเป็น ส่วนการให้ความสำคัญต่อท่านเท่ากับได้ปฏิบัติตามอัล-กุอานที่กล่าวว่า (วะอัซซะรูฮู)
๓. การจัดงานเฉลิมฉลองเท่ากับเป็นการปฏิบัติตามพระผู้เป็นเจ้า
อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ให้ความสำคัญแก่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ว่า
وَ رَ فَعْنَا لَكَ ذِكْرَكَ
และเราได้ยกย่องการรำลึกแก่เจ้าแล้ว
โองการได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงต้องการให้ความรุ่งโรจน์และภาพลักษณ์ของท่านศาสดาขจรขจายกว้างไปทั่วทั้งโลก ดังนั้น จึงเห็นว่าพระองค์ได้ทำการยกย่องท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ด้วยพระองค์เอง
เมื่ออัล-กุรอานยืนว่าพระองค์ได้ยกย่องฐานันดรอันสูงศักดิ์ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์ และมีเกียรติยิ่งแก่ท่านศาสดา มุสลิมในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติตามอัล-กุรอานของพระองค์ จึงได้แสดงการยกย่องท่านศาสดาตามพระองค์
เป็นที่ชัดเจนว่าจุดประสงค์ของบรรดามุสลิมในการจัดพิธีเฉลิมฉลองรำลึกถึงท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ไม่ได้มีสิ่งใดเกินเลยไปจากการยกย่องเกียรติยศของท่าน
๔. การประทานอัล-กุรอาน มิได้เล็กน้อยไปกว่าการประทานอาหาร
อัล-กุรอานได้กล่าวถึงคำพูดของท่านศาสดาอีซา (อ.) ว่า
قَالَ عِيسَى ابْنُ مَرْيَمَ اللَّهُمَّ رَبَّنَا أَنزِلْ عَلَيْنَا مَآئِدَةًمِّنَ السَّمَاء تَكُونُ لَنَا عِيداً لِّأَوَّلِنَا وَآخِرِنَا وَآيَةً مِّنكَ وَارْزُقْنَا وَأَنتَ خَيْرُ الرَّازِقِينَ
อีซาบุตรของมัรยัม ได้กล่าวว่า โอ้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระผู้อภิบาลของเรา โปรดประทานอาหารจากฟากฟ้าลงมาแก่พวกเรา เพื่อจะได้เป็นวันรื่นเริงแก่พวกเราทั้งหมดตั้งแต่คนแรกของพวกเราจนคนสุดท้าย และเพื่อเป็นสัญญาณหนึ่งจากพระองค์ โปรดประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเราพระองค์คือผู้ที่ดีเยี่ยมในหมู่ผู้ประทานปัจจัยยังชีพทั้งหลายท่านศาสดาอีซา (อ.) ได้เสนอต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ว่าให้พระองค์ประทานอาหารจากฟากฟ้าแก่พวกเขา เพื่อจะได้จัดให้วันนั้นเป็นวันอีด (วันรื่นเริง)
คำถาม ขณะที่ท่านศาสดอีซา (อ.) ได้รับริสกีซึ่งเป็นอาหารที่ถูกประทานจากฟากฟ้าและเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายเจิญเติบโตอิ่มหนำสำราญ ท่านศาสดาอีซาได้จัดเฉลิมฉลองวันนั้นให้เป็นวันอีดทันที และวันนี้เนื่องจากเป็นวันแห่งการประทานอัล-กุรอานหรือวันประสูติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ผู้ซึ่งได้ช่วยเหลือให้มนุษย์รอดพ้นจากสภาพของความเป็นเดรัจฉาน และได้ให้ชีวิตใหม่แก่สังคมมนุษย์ถ้าหากมุสลิมจะจัดพิธีเฉลิมฉลอง หรือมอบให้เป็นวันอีดแก่มวลมุสลิมทั้งหลายถือว่าเป็นชิกร์และบิดอะฮฺหรือ ?
๕. แบบฉบับของมุสลิม
ผู้ปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาอิสลามนับตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน ได้มีการจัดพิธีเฉลิมฉลองรื่นเริงเพื่อรำลึกถึงท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มาโดยตลอด อาทิเช่น
ท่านฮุซัยนฺ บิน มุฮัมมัด ดิยารฺบิกรีย์ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ ตารีคุลค่อมีส ว่า
ولا يزال أهل الاسلام يحتفلون بشهر مولده عليه السلام و يعملون الولائم و يتصدقون فى لياليه بأنواع الصدقات و يظهرون السرو ويزيدون فى المبرات و يعتنون بقرائته مولده الكريم و يطهر عليهم من بركاته كل فصل عميم
บรรดามุสลิมได้จัพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในเดือนประสูติของท่านศาสดา ได้มีการเลี้ยงฉลอง มีการบริจาคทานในคืนนั้น สร้างความสนุกสนานรื่นเริง ได้ปกคลุมบรรยากาศด้วยการทำคุณงามความดีต่าง ๆ ได้ให้ความสำคัญต่อการอ่านสาส์นรำลึกถึงวันประสูติของท่าน ความเมตตาและความจำเริญต่าง ๆ ของเขาเป็นที่ประจักรแก่ชนทั้งหลาย
จากคำพูดข้างต้นทำให้ได้รับกฏทั่ว ๆ ไปว่าการจัดพิธีเฉลิมฉลองเพื่อรำลึกถึงท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในทรรศนะของอัล-กุรอานและแบบฉบับของบรรดามุสลิมถือว่าอนุญาต ดังนั้น เป็นที่แน่ชัดว่าคำพูดที่กล่าวหาว่าการกระทำดังกล่าวผิด เป็นชิกร์ และบิดอะฮฺจึงเป็นคำพูดที่ไม่มีรากที่มา เนื่องจากว่า บิดอะฮฺ นั้นหมายถึงการอนุญาตให้กระทำบางส่วนหรือทั้งหมดของภารกิจนั้น โดยที่ไม่ได้อิงอาศัยอัล-กุรอานแม้แต่นิดเดียว ขณะที่กฎเกณฑ์ของเรื่องที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้ได้อิงอาศัยอยู่กับอัล-กุรอานและแบบฉบับดั้งเดิมของบรรดามุสลิมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
การจัดงานเฉลิมฉลองลักษณะเช่นนี้เพียงเพื่อแสดงความเคารพ และยกย่องเกียรติคุณของบ่าวผู้มีความบริสุทธิ์ของอัลลอฮฺ และด้วยความเชื่อที่ว่าพวกเขาก็ต้องแสดงความเคารพภักดีและพึ่งพิงอัลลอฮฺด้วยเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้ การกระทำที่กล่าวมาถือว่าเข้ากันกับรากของความเป็นเอกภาพแห่งพระผู้เป็นเจ้า และทำให้รู้ว่าคำกล่าวอ้างของบางคนที่ว่า การจัดพิธีเฉลิมฉาลองรื่นเริงเนื่องในวันประสูติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นชิกร์และบิดอะฮฺนั้น ไม่ถูกต้องและไม่มีรากที่มาของคำพูดเว้นเสียแต่ว่าอคติที่ฝังแน่นอยู่ภายในจิตใจ

คำถามที่ ๒๗ : ทำไมชีอะฮฺลดถึงนมาซห้าเวลาเหลือเพียงสามเวลา
คำตอบ : สิ่งจำเป็นที่ต้องกล่าวถึงก่อนลำดับแรกคือ การนำเสนอทรรศนะของบรรดานักปราชญ์ที่กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้
๑. ทุกกลุ่มและทุกนิกายต่างมีความเห็นพร้องตรงกันว่า ในอาร่อฟะฮฺ นั้นสามารถนมาซซุฮรฺและอัสร์รวมกันโดยไม่ต้องทิ้งช่วงเวลาให้ห่างออกไป และเช่นกันในมุซดะละฟะฮฺ สามารถนมาซมัฆริบและอิชาอ์อ์รวมกันในช่วงเวลาของนมาซอิชาอ์อ์ได้
๒. หะนะฟีย์ กล่าวว่า การนมาซซุฮรฺกับอัศรฺ และมัฆริบกับอิชาอ์อ์รวมในเวลาเดียวกัน อนุญาตให้ทำได้เฉพาะอยู่ในอาร่อฟะฮฺและมุซดะละฟะฮฺเท่านั้น ส่วนในสถานภาพอื่นไม่อนุญาต
๓. ฮันบะลีย์ มาลิกีย์ และชาฟิอีย์กล่าวว่า การรวมนมาซระหว่างซุฮรฺกับอัศรฺ และมัฆริบกับอิชาอ์อ์เข้าด้วยกัน มิได้อนุญาตเฉพาะอยู่ในอาร่อฟะฮฺและมุซดะละฟะฮฺเท่านั้น ทว่าในช่วงเดินทางไกลก็อนุญาตด้วยเช่นกัน และบางคนจากนิกายเหล่านี้ยังได้อนุญาตให้ทำนมาซสองเวลาเหลือเพียงเวลาเดียว ในช่วงที่มีความจำเป็น อาทิเช่น ช่วงที่มีฝนตก ผู้ทำนมาซไม่สบาย หรือหลบหนีศัตรู1(อัลฟิกฮฺ อะลัลมะซอฮิบิลอัรฺบะอะฮฺ กิตาบุศศ่อลาฮฺ อัลญัมอุบัยนัศศ่อลาตัยนฺ ตักดีมัน วะตะอ์คีรัน)
๔. ชีอะฮฺ กล่าวว่านมาซทุกเวลาไม่ว่าจะเป็นนมาซซุฮรฺ อัศรฺ มัฆริบ และอีชามีช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจงและช่วงเวลาร่วม
๔.๑. ช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนมาซซุฮรฺ นับตั้งแต่เริ่มเข้าเวลาซุฮรฺชัรอีย์ ( บ่ายลงไป) ไปจนถึงช่วงเวลาที่ได้ทำนมาซสี่ร่อกะอัตเสร็จ ช่วงเวลานี้ได้ถูกจำกัดไว้ เฉพาะนมาซซุฮรฺเท่านั้นที่สามารถทำได้
๔.๒. ช่วงเวลเฉพาะสำหรับนมาซอัศรฺ นับตั้งแต่ช่วงเวลาหนึ่งจนถึงพระอาทิตย์ตกดิน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สามารถทำได้เฉพาะนมาซอัศรฺเท่านั้น
๔.๓. ช่วงเวลาร่วมระหว่างนมาซซุฮฺรฺกับนมาซอัศรฺ นับตั้งแต่ช่วงสิ้นสุดเวลาเฉพาะสำหรับนมาซซุฮรฺเป็นต้นไปจนถึงช่วงเริ่มต้นเวลาเฉพาะสำหรับนมาซอัศรฺ
คำกล่าวของชีอะฮฺคือ ในช่วงเวลาร่วมระหว่างนมาซซุฮรฺกับอัศรฺนั้น สามารถทำนมาซติดต่อกันได้โดยไม่จำเป็นต้องทิ้งช่วงเวลาให้ห่างออกไป แต่อหฺลิซซุนนะฮฺเชื่อว่า นับตั้งแต่เริ่มเวลาซุฮรฺชัรอีย์ (บ่ายลงไป) จนกระทั่งเงาของทุกสิ่งได้ทอดเท่ากับตัวจริงของมัน ช่วงเวลาดังกล่าวได้ถูกจำกัดไว้เฉพาะสำหรับนมาซซุฮรฺเพียงอย่างเดียว จึงไม่อนุญาตให้ทำนมาซอัศรฺในเวลานั้น และนับตั้งแต่ช่วงดังกล่าวไปจนถึงเวลามัฆริบเป็นช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนมาซอัศรฺ ดังนั้นไม่สามารถทำนมาซซุฮรฺได้
๔.๔. ช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนมาซมัฆริบ นับตั้งแต่เริ่มเข้าเวลามัฆริบชัรอีย์จนกระทั่งทำนมาซสามร่อกะอัตเสร็จ ช่วงเวลาดังกล่าวได้ถูกจำกัดไว้สำหรับนทำมาซมัฆริบเท่านั้น
๔.๕. ช่วงเวลเฉพาะสำหรับนมาซอิชาอ์ นับตั้งแต่ช่วงเวลาหนึ่งจนถึงครึ่งคืนชัรฺอีย์ ซึ่งช่วงนั้นมีเวลาพอแค่ทำนมาซอิชาอ์เพียงอย่างเดียว ในเวลาเพียงเล็กน้อยนั้นสามารถทำได้เฉพาะนมาซอิชาอ์ไม่อนุญาตให้ทำนมาซอื่น
๔.๖. ช่วงเวลาร่วมระหว่างนมาซมัฆริบกับนมาซอิชาอ์ นับตั้งแต่ช่วงสิ้นสุดเวลาเฉพาะสำหรับนมาซมัฆริบไปจนถึงช่วงเริ่มต้นเวลาเฉพาะสำหรับนมาซอิชาอ์
ชีอะฮฺเชื่อว่า ในช่วงเวลาร่วมระหว่างนมาซมัฆริบกับนมาซอิชาอ์นั้น สามารถทำนมาซติดต่อกันได้โดยไม่ต้องทิ้งช่วงเวลาให้ห่างออกไป แต่อหฺลิซซุนนะฮฺเชื่อว่า นับตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดินไปจนถึงช่วงแสงอรุโณทัยทางทิศตะวันตกได้หมดลงเป็นช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนมาซมัฆริบ จึงไม่อนุญาตให้ทำนมาซอิชาอ์ในช่วงเวลาดังกล่าว และตั้งแต่ช่วงแสงอรุโณทัยทางทิศตะวันตกหมดลงไปจนถึงครึ่งคืนชัรฺอีย์เป็นช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนมาซอิชาอ์ ไม่สามารถทำนมาซมัฆริบได้
สรุป ตามทรรศนะของชีอะฮฺหลังจากเข้าสู่เวลาซุฮรฺชัรฺอีย์แล้ว เมื่อทำนมาซซุฮรฺเสร็จสามารถทำนมาซอัศรฺต่อได้ทันทีโดยไม่ต้องทิ้งช่วงเวลาให้ล่าช้าออกไป หรือสามารถปล่อยเวลานมาซซุฮรฺให้ล่าช้าออกไปจนถึงช่วงเริ่มต้นเวลาเฉพาะสำหรับนมาซอัศรฺ หมายถึงนมาซซุฮรฺได้เสร็จก่อนที่จะเข้าเวลาดังกล่าว หลังจากนั้นจึงทำนมาซอัศรฺ การทำเช่นนี้เท่ากับเป็นการรวมนมาซเข้าดัวยกัน ถึงแม้ว่าเป็นมุสตะฮับให้ทำมาซซุฮรฺหลังจากเวลาบ่ายลงไป และทำนมาซอัศรฺเมื่อเงาของทุกสิ่งได้ทอดเท่ากับตัวจริงของมันก็ตาม
ทำนองเดียวกันเมื่อเข้าเวลามัฆริบชัรฺอีย์ ได้เริ่มนมาซเมื่อเสร็จแล้วสามารถทำนมาซอิชาอ์ต่อได้ทันดีโดยไม่ต้องทิ้งช่วงเวลาออกไป หรื่อปล่อยเวลานมาซมัฆริบให้ล่าช้าออกไปจนถึงช่วงเริ่มต้นเวลาเฉพาะสำหรับนมาซอิชาอ์ หมายถึงนมาซมัฆริบได้เสร็จก่อนที่จะเข้าเวลาดังกล่าวหลังจากนั้นจึงได้ทำนมาซอิชาอ์ ซึ่งเป็นการรวมกันระหว่างนมาซมัฆริบกับนมาซอิชาอ์ ถึงแม้ว่าเป็นมุสตะฮับให้ทำนมาซมัฆริบหลังเวลามัฆริบชัรฺอีย์และทำนมาซอิชาอ์หลังจากแสงอรุโณทัยทางทิศตะวันตกได้หมดลงก็ตาม
สิ่งเหล่านี้เป็นทรรศนะของชีอะฮฺ ขณะที่อหฺลิซซุนนะฮฺไม่อนุญาตให้รวมนมาซสองเวลาเข้าด้วยกันในทุก ๆ ที่และทุกเวลา ด้วยเหตุนี้ ประเด็นที่พิพาทกันคือ การรวมนมาซสองเวลาไว้ในเวลาเดียวในทุกที่และทุกเวลา โดยที่นมาซทั้งสองได้ปฏิบัติตรงเวลาในเวลาเดียวกัน อาทิเช่น ในอาร่อฟะฮฺหรือมุซดะละฟะฮฺ
๕. มุสลิมทั้งหลายเห็นพร้องตรงกันว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้รวมนมาซสองเวลาไว้ในเวลาเดียวกัน เพียงแต่ว่าการอธิบายริวายะฮฺนั้นได้แบ่งเป็นมีสองทรรศนะดังนี้
๕.๑. ชีอะฮฺ กล่าวว่าจุดประสงค์ของริวายะฮฺ นมาซเวลาแรกคือนมาซซุฮรฺ หลังจากเสร็จนมาซซุฮรฺแล้วให้ทำนมาซอัศรฺ ในทำนองเดียวกันนมาซเวลาแรกคือนมาซมัฆริบ หลังจากนมาซมัฆริบเสร็จให้ทำนมาซอิชาอ์ และการทำนมาซรวมไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาหรือสถานที่หรือมีเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจงแต่อย่างไร ทว่าอนุญาตให้ทำได้ทุกที่และทุกเวลา
๕.๒. มุสลิมอีกกลุ่มกล่าวว่า จุดประสงค์ของริวายะฮฺคือ นมาซซุฮรฺทำใกล้จะหมดเวลา ส่วนนมาซอัศรฺเริ่มต้นเวลา ทำนองเดียวกันนมาซมัฆริบทำใกล้จะหมดเวลา ส่วนนมาซอิชาอ์เริ่มต้นเวลา
ลำดับต่อไปจะทำการวิเคระห์ริวายะฮฺและพิสูจน์ให้เห็นว่าจุดประสงค์ของริวายะฮฺเป็นดังเช่นที่ชีอะฮฺเข้าใจ และกล่าวถึงคือ นมาซสองเวลาได้รวมทำในเวลาเดียวกัน ไม่ใช่ว่านมาซหนึ่งทำในช่วงใกล้จะหมดเวลาและอีกนมาซหนึ่งทำตอนเริ่มต้นเวลา
และนี่คือริวายะฮฺ
๑. อหฺมัด บิน ฮันบัล ผู้นำนิกายฮันบะลีย์ได้บันทึกไว้ในหนังสือมุสนัดของตน โดยรายงานมาจากท่านญิบีรฺ บิน ซัยด์ว่า..
أخبرنى جابر بن زيد انه سمع ابن عباس يقول : صليت مع رسول الله صل الله عليه[وآله] وسلم ثمانيا جميعا و سبعا جميعا قال قلت له يا أبا الشعثاء اظنه أخر الظهر و عجل العصر و أخر المعرب و عجل العشاء قال و أ نا اظنذلك
ญาบีรฺ บิน ซัยด์ กล่าวว่า ฉันได้ยินอิบนุอับบาสกล่าวว่า ฉันได้ทำนมาซพร้อมกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แปดร่อกะอัต (ซุฮรฺกับอัศรฺ) และเจ็ดร่อกะอัต (มัฆริบและอิชาอ์) พูดว่าฉันได้บอกกับ ท่านอบูชุอ์บาว่า ฉันคิดว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) คงจะปล่อยเวลานมาซซุฮรฺให้ล่าช้าออกไป และทำนมาซอัศรฺเร็วขึ้น อบูชุอ์บา กล่าวว่า ฉันคิดเช่นนั้นเหมือนกัน
จากริวายะฮฺดังกล่าวเข้าใจได้ว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺ และนมาซมัฆริบกับอิชาอ์รวมกันโดยไม่ได้ทิ้งช่วงเวลาให้ห่างออกไป
๒. อหฺมัด บิน ฮันบัล ได้รายงานจากท่าน อับดุลลอฮฺ บิน ชะกีกว่า
خطبنا ان عباس يوما بعد العصر حتى غربت الشمس و بدت النجوم و علق الناس ينادونه الصلاة و فى القوم رجل من نبى تميم فجعل يقول : الصلاة الصلاة : قال فغضب قال أتعلمنى با لسنة ؟ شهدت رسول الله صل الله عليه [وآله] وسلم جمع بين الظهر و العصر والمغرب و العشاء . قال عبدالله فوجدت فى نفسى من ذلك شيئا فلقيت أبا هريرة فسألته فوافقه
หลังจากนมาซอัศรฺ อิบนุอับบาส ได้กล่าวปราศรัยแก่พวกเราจนกระทั่งพระอาทิตย์อัสดง ทำให้มองเห็นดวงดาวระยิบระยับ ประชาชนได้ส่งเสียงว่านมาซ และในหมู่ของพวกเขาได้มีชายคนหนึ่งจากเผ่าบนีตะมีมตะโกนซ้ำว่า นมาซ ท่านอิบนุอับบาสโกรธมากและได้กล่าวว่า เจ้าต้องการจะสอนซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แก่ฉันหรือ ? ฉันได้เห็นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺ มัฆริบและอิชาอ์รวมกัน
ท่านอับดุลลอฮฺ กล่าวว่า สำหรับฉันเรื่องนี้ยังมีความคลางแคลงใจอยู่ ด้วยเหตุนี้ ฉันจึงไปพบกับท่านอบูฮุรัยเราะฮฺ เพื่อถามความจริง ท่านได้ยืนยันคำพูดของท่านอิบนุอับบาส
ฮะดีซดังกล่าวมีศ่อฮาบะฮฺสองท่านคือ อับดุลลอฮฺบินอับบาส และอบูอุรัยเราะฮฺ เป็นผู้ยืนยันว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺ และมัฆริบกับอิชาอ์รวมกัน และท่านอิบนุอับบาสยังเป็นผู้หนึ่งที่ยืนหยัดในซุนนะฮฺดังกล่าวนั้นของท่านศาสดา
๓. ท่านมาลิก บิน อนัส ผู้นำนิกายมาลิกีย์ บันทึกไว้ในหนังสื่อ อัล-มุวัฏเฏาะฮฺ ของตนดังนี้..
صلى رسول الله (ص) الظهر و العصر جميعا، والمغرب و العشاء جميعا فى غير خوف ولا سفر
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺ และมัฆริบกับอิชาอ์รวมกัน ทั้งที่ไม่ได้หวาดกลัวศัตรูหรือเดินทางไกล
๔. มาลิก บิน อนัส ได้รายงานจากท่าน มะอาซ บิน ญุบัล ดังนี้ว่า ..
فكان رسول الله (ص) يجمع بين الظهر و العصر، والمغرب و العشاء
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺและมัฆริบกับอิชาอ์รวมกัน
๕. มาลิก บิน อนัส ได้รายงานจากท่าน นาฟิอ์ และเขาได้รายงานมาจาก อับดุลลอฮฺ บิน อุมัรฺว่า..
كان رسول الله (ص) إذا عجل به السير يجمع بين المغرب و العشاء
ทุกครั้งที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มีความรีบร้อนท่านจะทำนมาซมัฆริกับอิชาอ์รวมกัน
๖. มาลิก บิน อนัน ได้รายงานจากอบูฮุรัยเราะฮฺดังนี้ว่า..
إن رسول الله-صل الله عليه [وآله] وسلم كان يجمع بين الظهر و العصر فى سفره الى تبوك
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซซุฮรฺกับอศรฺรวมกันขณะเดินทางไปตะบูก
๗. มาลิก ด้าบันทึกไว้หนังสือของตน โดยรายงานมาจากนาฟิอ์ ดังนี้ว่า..
إن عبد الله بن عمر كان إذا جمع الامراء بين المغرب و العشاء فى المطر جمع معهم
ทุกครั้งที่ผู้นำทำนมาซมัฆริบกับอิชาอ์รวมกันท่ามกลางฝนตก อับดุลลอฮฺ บิน อุมัรฺก็ทำนมาซทั้งสองรวมกันด้วยเช่นกัน
๘. มาลิก บิน อนัส ได้รายงานมาจาก อลี บิน ฮุซัยนฺ ดังนี้ว่า..
كان رسول الله صل الله عليه [وآله] و سلم إذا أراد أن يسير يومه جمع بين الظهر و العصر و إذا أراد إن يسير ليله جمع بين المغرب و العشاء
ทุกครั้งหากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ต้องการเดินทางในตอนกลางวัน ท่านจะทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺรวมกัน และถ้าท่านต้องการเดินทางในตอนกลางคืน ท่านจะทำนมาซมัฆริบกับอิชาอ์รวมกัน
๙. มุฮัมมัด ซัรฺกานีย์ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ ชัรฺหุลมุวัฏเฏาะฮฺ โดยรายงานมาจาก อบีชุอ์ษา ดังนี้ว่า
إن ابن عباس صلى بالبصرة الظهر و العصر ليس بيهما شيئ و المغرب و العشاء ليس بيهما شيئ
อัลดุลลอฮฺ บิน อับบาส ได้ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺ และมัฆริบกับอิชาอ์ ที่บะศ่อเราะฮฺรวมกันโดยไม่ได้ปล่อยเวลาให้ห่างออกไป
๑๐. ซัรฺกานีย์ ได้รายงานมาจากฏ็อบรานีย์ และเขาได้รายงานมาจาก อิบนุมัสอูดว่า
جمع النبى صل الله عليه [وآله] و سلم بين الظهر و العصر و بين المغرب و العشاء فقيل له فى ذلك،فقال: صنعت هذا لئلا تحرج أمتى
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺ และมัฆริบกับอิชาอ์รวมกัน ได้มีผู้ถามท่านว่าทำเช่นนี้เพื่ออะไร ? ท่านกล่าวว่า ฉันไม่ต้องการทำให้ประชาชาติของฉันต้องลำบาก
๑๑. มุสลิม บิน หัจญาจ ได้รายงานมาจาก อบู ซะบีรฺ จากสะอีด บิน ญุบีรฺ และจากอิบนุอับบาส ว่า..
صلى رسول الله صل الله عليه [وآله] و سلم الظهر و العصر جميعا بالمدينة فى غير خوف و لا سفر
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺรวมกันที่มะดีนะฮฺ ทั้งที่ไม่ได้มีความหวาดกลัวศัตรูหรือเดินทาง
หลังจากนั้นท่านอิบนุอับบาส ได้กล่าวว่าเป้าหมายของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เกี่ยวกับเรื่องนี้คือ ท่านไม่ต้องการทำให้ประชาชาติของท่านต้องลำบาก
๑๒. มุสลิมได้บันทึกไว้ในหนังสือศ่อฮีย์ของตน โดยรายงานมาจาก สะอีด บิน ญุบีรฺ และเขารายงานมาจาก อิบนุอับบาสว่า
جمع رسول الله صل الله عليه [وآله] و سلم بين الظهر و العصر المغرب و العشاء فى المدينة من غير خوف و لا مطر
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺ และมัฆริบกับอิชาอ์รวมกันที่มะดีนะฮฺ ทั้งที่ไม่ได้มีความหวาดกลัวศัตรูหรือมีฝนตก
ในเวลานั้น สะอีด บิน ญุบีรฺ กล่าวว่า ฉันได้ถามท่านอิบนุอับบาสว่า ทำไมท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จึงปฏิบัติเช่นั้น ? ตอบว่า ท่านไม่ต้องการทำให้ประชาชาติของท่านต้องลำบาก
๑๓. อบูอับดิลลาฮฺ บุคอรีย์ ได้เปิดภาคผนวกพิเศษขึ้นในหนังสือของตนชื่อว่า บาบุ ตะอ์คีริซซุฮรฺ อิลัลอัศรฺ หมวดดังกล่าวได้อธิบายว่า สมารถปล่อยเวลาซุฮรฺให้ล่าช้าออกไปจนถึงเวลาอัศรฺ และให้ทำนมาซทั้งสองรวมกัน หลังจากนั้นท่านได้กล่าวถึงริวายะฮฺดังนี้ว่า.
إن النبى صل الله عليه [وآله] وسلم بالمدينة سبعا و ثمانيا الظهر و العصر، و المغرب و العشاء
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ทำนมาซเจ็ดร่อกะอัต (มัฆริบกับอิชาอ์) และแปดร่อกะอัต (ซุฮรฺกับอัศรฺ) ที่มะดีนะฮฺ
๑๔. ด้วยเหตุนี้ บุคอรีย์ได้กล่าวในอีกที่หนึ่งว่า
قال ابن عمر و أبو أيوب و ابن عباس رضى الله عنهم : صلى النبى صل الله عليه [وآله] و سلم ا لمغرب و العشاء
อับดุลลอฮฺ บิน อุมัรฺ, อัยยูบ อันศอรีย์ และอับดุลลอฮฺ บิน อับบาส กล่าวว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซมัฆริบกับอิชาอ์รวมกัน
จากริวายะฮฺ ท่านบุคอรีย์ต้องการบอกว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซมัฆริบกับอิชาอ์รวมกัน เพราะเป็นที่รู้กันอย่างชัดเจนว่าท่านศาสดาไม่เคยขาดนมาซ
๑๕. มุสลิม บิน หัจญาด ได้บันทึกไว้ในศ่อฮีย์ของตนว่า
قال رجل لابن عباس الصلاة فسكت ثم قال الصلاة فسكت ثم قال الصلاة فسكت،ثم قال: لا ام لك أتعلمنا بالصلاة و كنا نجمع بين الصلاتين على عهد رسول الله صل الله عليه [وآله] و سلم
มีชายคนหนึ่งกล่าวกับท่านอิบนุอับบาสว่า นมาซ อิบนุอับบาสไม่ได้พูดอะไร, เขาได้พูดอีกว่า นมาซ อิบนุอับบาสไม่ได้พูดอะไร และเขาได้พูดอีกว่า นมาซ ท่านอิบนุอับบาสไม่ได้ตอบอะไร จนกระทั่งเขาพูดอีกเป็นครั้งที่สี่ว่า นมาซ ท่านอิบนุอับบาสได้พูดว่า โอ้เจ้าลูกไม่มีแม่เอ๋ย เจ้าต้องการสอนนมาซแก่ฉันหรือ ? ขณะที่เราได้ทำนมาซรวมกันสองนมาซในสมัยท่านศาสดา (ศ็อลฯ)
๑๖. มุสลิมได้รายงานว่า
إن رسول الله صل الله عليه [وآله] وسلم جمع بين الصلاة فى سفرة سافرها فى غزوة تبوك فجمع بين الظهر والعصر، والمغرب و العشاء قال سعيد : فقلت لابن عباس : ما حمله على ذلك ؟ قال : أراد أن لا يحرج امته
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำนมาซสองนมาซรวมกันในระหว่างเดินทางและในสงครามตะบูก ท่านได้ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺ และมัฆมิบกับอิชาอ์รวมกัน ท่านสะอีดบินญุบัยร์พูดว่า ฉันได้ถามท่านอิบนุอับบาสว่าทำไมถึงทำเช่นนี้ ? ตอบว่า เพราะท่านศาสดาไม่ต้องการให้ประชาชาติของท่านลำบาก
๑๗. มุสลิม บิน หัจญาจ ได้รายงานจากท่านมุอาซว่า
جرحنا مع رسول الله صل الله [عليه وآله] و سلم فى غزوة تبوك فكان يصلى الظهر و العصر جميعا والمغرب العشاء جميعا
ฉันได้ออกไปสงครามตะบูกร่วมกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ท่านได้ทำนมาซซุฮรฺกับอัศรฺ และมัฆริบกับอิชาอ์รวมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้สนับสนุน