ชีอะฮฺเชื่อว่าอัล-กุรอานถูกเปลี่ยนแปลงหรือ

ดังนั้นแม้ว่าประชากรของชีอะฮฺจะมีจำนวนน้อยกว่าอหฺลิซซุนนะฮฺ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า แนวทางของชีอะฮฺไม่ถูกต้องเพราะได้ชี้แจงไปแล้วว่าสิ่งถูกผิดนั้นไม่ได้จำแนกด้วยจำนวนแต่ขึ้นอยู่กับหลักฐาน เหตุผล และสติปัญญา และถ้าทำการสำรวจประชากรชีอะฮฺ ท่านก็จะพบว่า ๑/๔ ของประชากรมุสลิมนั้นเป็นชีอะฮฺซึ่งอาศัยอยู่ทุกส่วนของโลก ในหมู่ของชีอะฮฺมีอุละมาอ์ นักวิชาการชั้นแนวหน้าทุกสาขาวิชาการ ซึ่งตลอดหน้าประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าชีอะฮฺไม่ได้มีสิ่งใดน้อยหน้าไปกว่าอหฺลิซซุนนะฮฺแม้แต่นิดเดียว มูลฐานหลักของความรู้ต่างๆ นั้นนักวิชาการของชีอะฮฺเป็นผู้ก่อตั้งทั้งสิ้นอาทิเช่น ท่านอบุลอัสวัด ดะอิลีย์ ผู้สถาปนาอิลมฺ นะห์วุ (กฎไวยากรณ์ภาษาอาหรับหรือโครงสร้างประโยคที่ถูกต้อง) ท่านค่อลีล บิน อหฺมัด เป็นผู้สถาปนาวิชาฉันทลักษณ์ ท่านมะอาซ บิน มุสลิม บิน อบีซาเราะฮฺ กูฟีย์เป็นผู้สถาปนาวิชาไวยากรณ์และโครงสร้างที่ถูกต้องของคำและวะลี ท่านอบู อับดิลลาฮฺ มุฮัมมัด บินอิมรอน เป็นผู้สถาปนาวิชาวาทศิลป์
เพื่อการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมถึงสถานภาพทางวิชาการของอุละมาอ์ฝ่ายชีอะฮฺ สามารถศึกษาได้จากหนังสือที่ทรงคุณค่าทางวิชาการ อัซซะรีอะฮฺ อิลา ตะซอนีฟิชชีอะฮฺ ,อะอฺยานุชชีอะฮฺ และถ้าต้องการศึกษาประวัติความเป็นมาของชีอะฮฺ ศึกษาได้จากหนังสือ ตารีคุชชีอะฮฺ
ดังนั้นแม้ว่าประชากรของชีอะฮฺจะมีจำนวนน้อยกว่าอหฺลิซซุนนะฮฺ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า แนวทางของชีอะฮฺไม่ถูกต้องเพราะได้ชี้แจงไปแล้วว่าสิ่งถูกผิดนั้นไม่ได้จำแนกด้วยจำนวนแต่ขึ้นอยู่กับหลักฐาน เหตุผล และสติปัญญา และถ้าทำการสำรวจประชากรชีอะฮฺ ท่านก็จะพบว่า ๑/๔ ของประชากรมุสลิมนั้นเป็นชีอะฮฺซึ่งอาศัยอยู่ทุกส่วนของโลก ในหมู่ของชีอะฮฺมีอุละมาอ์ นักวิชาการชั้นแนวหน้าทุกสาขาวิชาการ ซึ่งตลอดหน้าประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าชีอะฮฺไม่ได้มีสิ่งใดน้อยหน้าไปกว่าอหฺลิซซุนนะฮฺแม้แต่นิดเดียว มูลฐานหลักของความรู้ต่างๆ นั้นนักวิชาการของชีอะฮฺเป็นผู้ก่อตั้งทั้งสิ้นอาทิเช่น ท่านอบุลอัสวัด ดะอิลีย์ ผู้สถาปนาอิลมฺ นะห์วุ (กฎไวยากรณ์ภาษาอาหรับหรือโครงสร้างประโยคที่ถูกต้อง) ท่านค่อลีล บิน อหฺมัด เป็นผู้สถาปนาวิชาฉันทลักษณ์ ท่านมะอาซ บิน มุสลิม บิน อบีซาเราะฮฺ กูฟีย์เป็นผู้สถาปนาวิชาไวยากรณ์และโครงสร้างที่ถูกต้องของคำและวะลี ท่านอบู อับดิลลาฮฺ มุฮัมมัด บินอิมรอน เป็นผู้สถาปนาวิชาวาทศิลป์
เพื่อการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมถึงสถานภาพทางวิชาการของอุละมาอ์ฝ่ายชีอะฮฺ สามารถศึกษาได้จากหนังสือที่ทรงคุณค่าทางวิชาการ อัซซะรีอะฮฺ อิลา ตะซอนีฟิชชีอะฮฺ ,อะอฺยานุชชีอะฮฺ และถ้าต้องการศึกษาประวัติความเป็นมาของชีอะฮฺ ศึกษาได้จากหนังสือ ตารีคุชชีอะฮฺ
คำถามที่ ๑๐ :รัจอะฮฺคืออะไร และทำไมต้องเชื่อด้วย
คำตอบ :
รัจอะฮฺ ในภาษาอาหรับหมายถึง การกลับ ส่วนในความหมายของนักปราชญ์หมายถึง การกลับของคนกลุ่มหนึ่งภายหลังจากความตายและก่อนการเกิดอวสานของโลก (กิยามะฮฺ) พร้อมกับการปรากฏกายของท่านอิมามามะฮฺดี (อ.) และแก่นแท้ของเรื่องนี้ไม่ได้ขัดแย้งกับเหตุผลทางสติปัญญาและอัล-กุรอานแต่อย่างไร
ในทรรศนะของอิสลาม และศาสนาอื่นๆ ที่มีความเชื่อต่อพระผู้เป็นเจ้านั้นเชื่อว่ามนุษย์ แก่นแท้ของความเป็นมนุษย์คือ วิญญาณที่เป็นมุญัรฺรัด (หมายถึงไม่มีการดับสลายด้วยอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า) หรือในบางครั้งเรียกว่า นัฟซ์ เหมือนกัน ซึ่งวิญญาณนั้นภายหลังจากร่างกายได้ดับสลายแล้วมันยังคงดำรงอยู่ตลอดไปอย่างเป็นอมตะ
อีกด้านหนึ่งพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้ทรงเกรียงไกรนั้นอัล-กุรอานได้กล่าวว่าเป็นผู้ทรงเดชานุภาพแต่เพียงผู้เดียว และอำนาจของพระองค์ทรงครอบคลุมอยู่เหนือสรรสิ่งทั้งหลาย ไม่มีสิ่งใดสามารถขัดขวาง หรือกำหนดให้อำนาจของพระองค์อยู่ในขอบเขตจำกัดได้
ด้วยกับสองบทนำที่กล่าวมาทำให้รู้ได้ว่าเรื่อง รัจอะฮฺ จากมุมมองของสติปัญญานั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เพราะว่าการกลับมาอีกครั้งของบุคคลกลุ่มดังกล่าว เป็นเรืองที่ง่ายดายกว่าการสร้างให้เกิดขึ้นมาในครั้งแรก
พระผู้อภิบาลผู้ทรงสร้างพวกเขาให้เกิดขึ้นมาในครั้งแรกจากสิ่งที่ไม่มี ฉะนั้นการนำพวกเขากลับมาอีกครั้งย่อมเป็นเรื่องที่ง่ายดายกว่าและเป็นไปได้สำหรับพระองค์
บนพื้นฐานความเชื่อดังกล่าวอัล-กุรอานได้กล่าวถึงการกลับมาของคนบางกลุ่มในอดีตไว้ดังนี้
وَإِذْ قُلْتُمْ يَا مُوسَى لَن نُّؤْمِنَ لَكَ حَتَّى نَرَى اللَّهَ جَهْرَةً فَأَخَذَتْكُمُ الصَّاعِقَةُ وَأَنتُمْ تَنظُرُونَثُمَّ بَعَثْنَاكُم مِّن بَعْدِ مَوْتِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَشْكُرُونَ
และ(จงรำลึก) เมื่อพวกเจ้ากล่าวว่า โอ้มูซา ! เราจะไม่ศรัทธาต่อท่านเด็ดขาด จนกว่าเราจะได้เห็นอัลลอฮฺอย่างแจ้งชัด ฉะนั้นสายฟ้าได้คร่าชีวิตพวกเจ้า ขณะที่พวกเจ้ามองดูอยู่ แล้วเราได้ให้พวกเจ้าฟื้นขึ้นมา หลังความตายของพวกเจ้า โดยหวังว่าพวกเจ้าจะสำนึกในพระคุณ
อีกโองการหนึ่งอัล-กุรอานได้กล่าวถึงคำพูดของท่านศาสดาอีซา (อ.) ว่า وَأُحْيِي الْمَوْتَى بِإِذْنِ اللّهِ
และฉันจะให้ผู้ที่ตายแล้วมีชีวิตขึ้นมาด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ
อัล-กุรอานไม่ได้กล่าวว่าเรื่องรัจอะฮฺจะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังได้สนับสนุนการกลับมาของกลุ่มชนบางกลุ่มอีกต่างหาก ดังบางโองการได้กล่าวถึงการกลับมาของคนกลุ่มหนึ่งภายหลังจากได้ตายไปแล้วและก่อนการเกิดกิยามะฮฺว่า
وَإِذَا وَقَعَ الْقَوْلُ عَلَيْهِمْ أَخْرَجْنَا لَهُمْ دَابَّةً مِّنَ الْأَرْضِتُكَلِّمُهُمْ أَنَّ النَّاسَ كَانُوا بِآيَاتِنَا لَا يُوقِنُونَوَيَوْمَ نَحْشُرُ مِن كُلِّ أُمَّةٍ فَوْجًا مِّمَّن يُكَذِّبُ بِآيَاتِنَا فَهُمْ يُوزَعُونَ
และเมื่อพระดำรัสเกิดขึ้นแก่พวกเขาเราได้ให้สัตว์ออกมาจากแผ่นดินแก่พวกเขา เพื่อกล่าวแก่พวกเขาว่า แท้จริงปวงมนุษย์นั้นไม่ยอมเชื่อมั่นต่อโองการทั้งหลายของเรา และ (จงรำลึกถึง) วันที่เราจะเรียกจากทุก ๆ ชาติ มาชุมนุมกันเป็นหมู่คณะ จากผู้ที่ปฏิเสธโองการทั้งหลายของเราโดยที่พวกเขาจะถูกจัดเป็นกลุ่ม ๆ
ก่อนที่จะพิสูจน์ว่าเรื่องรัจอะฮฺ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้จำเป็นต้องกล่าวถึงประเด็นสำคัญบางอย่างดังต่อไปนี้
๑. บรรดานักอธิบายอัล-กุรอานส่วนมากได้กล่าวว่าสองโองการข้างต้นได้พูดถึงเรื่องวันกิยามะฮฺ ขณะที่โองการแรกนั้นมีสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดก่อนกิยามะฮฺ ดังเช่นที่ท่านญะลาลุดดีน ซุยูฏีย์ ได้กล่าวไว้ในตับซีรฺอัดดุรุลมันษูรฺ โดยรายงานมาจากท่าน อิบนิอบีชัยบะฮฺ จากท่าน หุดัยฟะฮฺว่า การออกมาชุมนุมของปศุสัตย์ทั้งหลายได้เกิดก่อน กิยามะฮฺ
๒.ไม่เป็นที่สงสัยว่าในวันกิยามะฮฺนั้นมนุษย์ทั้งหมดจะถูกนำมารวมกัน ไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจากประชาชาติที่เฉพาะเจาะจง อัล-กุรอานกล่าวถึงการเรียกให้มนุษย์มารวมกันว่า
ذَلِكَ يَوْمٌ مَّجْمُوعٌ لَّهُ النَّاسُ وَذَلِكَ يَوْمٌ مَّشْهُودٌ
วันแห่งการรวบรวมปวงมนุษย์สำหรับพระองค์ และนั่นคือวันแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างพร้อมเพรียง ในวันนั้นตับซีรฺอัดดุรุลมันษูรฺได้อธิบายว่าเป็นวันกิยามะฮฺ
وَيَوْمَ نُسَيِّرُ الْجِبَالَ وَتَرَى الْأَرْضَ بَارِزَةً وَحَشَرْنَاهُمْ فَلَمْ نُغَادِرْ مِنْهُمْ أَحَدًا
และ(จงรำลึก) วันที่เราให้เทือกเขาเคลื่อนย้ายไป และเจ้าจะเห็นแผ่นดินราบเรียบ และเราจะชุมนุมพวกเขา ดังนั้น เราจะไม่ให้ผู้ใดออกไปจากพวกเขาเลย
ด้วยการยืนยันของอัล-กุรอานจะพบว่าในวันกิยามะฮฺนั้นมนุษย์ทุกคนจะถูกนำมารวมกัน ซึ่งคำสั่งนี้ไม่ได้เฉพาะเจาะจงมนุษย์กลุ่มใดเป็นพิเศษ
๓. โองการที่สอง (๘๓/นัมลิ) ได้กล่าวถึงการกลับมาของคนบางกลุ่มที่เฉพาะเจาะจงจากมวลประชาชาติ ไม่ได้หมายถึงมนุษย์ทุกคนเพราะโองการกล่าวว่า และ (จงรำลึกถึง) วันที่เราจะเรียกจากทุก ๆ ชาติ มาชุมนุมกันเป็นหมู่คณะ จากผู้ที่ปฏิเสธโองการทั้งหลายของเราโดยที่พวกเขาจะถูกจัดเป็นกลุ่ม ๆ
ดำรัสของอัล-กุรอานได้กล่าวยืนยันอย่างชัดเจนว่า ไม่ได้หมายถึงชนทุกหมู่เหล่า เฉพาะบางกลุ่มเท่านั่นเอง
บทสรุปที่ได้ จากบทนำทั้งสามที่ได้กล่าวมาทำให้ทราบว่า การกลับมาของกลุ่มชนที่ปฏิเสธโองการต่างๆ ของอัลลอฮฺซึ่งโองการที่ ๘๓/นัมลิได้กล่าวถึงแสดงให้เห็นว่า เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นได้เกิดก่อนวันกิยามะฮฺอย่างแน่นอน (เพราะโองการได้กล่าวว่ามีเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้กลับมา)
ด้วยเหตุนี้ คำกล่าวอ้างของชีอะฮฺที่ว่าจะมีกลุ่มชนกลับมาหลังจากความตาย และก่อนวันกิยามะฮฺนั้นจึงเป็นที่ชัดเจนด้วยการสนับสนุนของโองการดังกล่าว ซึ่งการกลับมานั้นเรียกว่า รัจอะฮฺ นั้นเอง
บรรดาอะอิมมะฮฺ (อ.) ในฐานะของผู้ที่ถูกเทียบเคียงและอธิบายอัล-กุรอานได้กล่าวถึงสิ่งนี้ไว้อาทิเช่น
ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า
ايام الله ثلاثة يوم القائم و يوم الكرة ويوم الفيامة
วันแห่งอัลลอฮฺนั้นมีสามวัน ได้แก่วันแห่งการปรากฏกายของมะฮฺดี วันแห่งการกลับ (รัจอะฮฺ) และวันกิยามะฮฺ
ท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวอีกว่า ليس منا من لم يؤمن بكرتنا ผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องวันย้อนกลับถือว่าไม่ใช่พวกของเรา
เป็นการดีหากจะกล่าวถึงสองประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
๑. ปรัชญาของการรัจอะฮฺ
แนวคิดในเรื่องรัจอะฮฺนั้นมีเป็นเป้าหมายที่สูงส่งอยู่สองประการกล่าวคือ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และการเจริญเติบโตของอิสลาม และเป็นการทำลายความเชื่อที่ตรงกันข้ามกับอิสลาม อีกประการหนึ่งคือ เป็นการมอบรางวัลแก่ผู้ที่มีความเชื่อศรัทธาที่ประพฤติตนดี และเป็นการลงโทษผู้ปฏิเสธและผู้กดขี่ทั้งหลาย
๒.ความแตกต่างระหว่าง รัจอะฮฺกับตะนาซุค (การเวียนว่ายตายเกิด)
สิ่งจำเป็นที่ต้องกล่าว ณ ตรงนี้คือความเชื่อเรื่องรัจอะฮฺที่ชีอะฮฺเชื่อนั้นแตกต่างเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดอย่างแท้จริง เพราะแนวคิดในเรื่องดังกล่าวนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปฏิเสธเรื่องวันสิ้นโลก และวันแห่งการตอบแทนผลรางวัล เชื่อว่าโลกนี้มีการเวียนว่ายตลอดไป และแต่ละครั้งนั้นคือการทำซ้ำครั้งก่อนเสมอ
บนพื้นฐานความเชื่อดังกล่าวนี้ วิญญาณของมนุษย์ทุกคนหลังจากที่ได้ตายแล้วจะกลับคืนสู่โลกอีกครั้ง ในร่างอื่น ฉะนั้นถ้าเขาเป็นผู้มีความประพฤติปฏิบัติดี วิญญาณของเขาก็จะกลับมาสู่ร่างที่จะพาเขาไปพบกับความสุข แต่ถ้าเขาประพฤติตัวไม่ดี วิญญาณของเขาจะกลับมาสู่ร่างที่จะพาเขาไปพบกับความทุกข์ระทม ซึ่งการเวียนว่ายเช่นนี้ตามความเชื่อของเขาถือว่าเป็นการตอบแทน ขณะที่ผู้ที่ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องรัจอะฮฺนั้น เป็นผู้ที่ปฏิบัติตามหลักคำสอนของอิสลาม มีความเชื่อต่อวันกิยามะฮฺ มะอาดและการตอบแทนการกระทำ และไม่เชื่อเรื่องการโยกย้ายวิญญาณจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง ปฏิเสธว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพียงแค่เชื่อว่าจะมีชนกลุ่มหนึ่งได้กลับมาก่อนวันกิยามะฮฺ และหลังจากการจัดตั้งรัฐบาลโลกซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้เสร็จสิ้นลงพวกเขาก็จะต้องตายไปเหมือนคนอื่น และในวันกิยามะฮฺจะฟื้นคืนชีพขึ้นมาเพื่อรอรับการตัดสินเหมือคนอื่นเช่นกันแต่ไม่เชื่อว่าวิญญาณหนึ่งจะเปลี่ยนไปอยู่อีกร่างหนึ่ง
อย่างไรก็ตามๆ แนวคิดของชีอะฮฺ รัจอะฮฺเป็นความเชื่อที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอัล-กุรอาน เหมือนกับความเชื่อในเรื่องอื่นที่บรรดามุสลิมทั้งหลายมีความเชื่อกันอยู่ ซึ่งเรื่องรัจอะฮฺนั้นไม่ใช่ความเชื่อของชีอะฮฺฝ่ายเดียว แต่เป็นความเชื่อที่มุสลิมทุกคนต้องเชื่อเพราะเป็นหลักการที่ปรากฏอยู่ในอัล-กุรอาน
คำถามที่ ๑๑ :ชะฟาอะฮฺที่ชีอะฮฺมีความเชื่อนั้นหมายถึงอะไร
คำตอบ :
ชะฟาอะฮฺเป็นอุศูล (หลักการ) ที่ชัดเจนของอิสลาม ทุกกลุ่มและทุกนิกายในอิสลามต่างยอมรับหลักการนี้บนพื้นฐานของอัล-กุรอานและฮะดีซของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของผลลัพธ์ก็ตาม แก่นแท้ของชะฟาอะฮฺหมายถึงมนุษย์ที่มีเกียรติยิ่ง ณ อัลลอฮฺมีความใกล้ชิดและมีตำแหน่งอันทรงเกียรติ พวกเขาได้วอนของต่อพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ให้พระองค์ทรงอภัยในความผิดบาป หรือทรงเลื่อนชั้นตำแหน่งให้คนอื่นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า
أَعطيتُ خمسا..وأُعطيتُ الشَّفاعة فادّخرتها لامّتي
พระองค์อัลลอฮฺ ทรงประทานให้กับฉัน ๕ อย่าง.....ทรงประทานชะฟาอะฮฺให้กับฉัน เพื่อฉันจะได้มอบสิ่งนี้แก่อุมมัตของฉัน
ขอบข่ายของชะฟาอะฮฺ
จากทัศนะของอัล-กุอานชะฟาอะฮฺเป็นหลักการหนึ่งที่ไม่มีเงื่อนไข (กัยด์) ชะฟาอะฮฺจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ให้ชะฟาอะฮฺได้รับอนุญาตจากพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) เสียก่อน กลุ่มชนที่สามารถให้ชะฟาอะฮฺได้นอกจากต้องมีพลังจิตที่สูงส่ง เป็นผู้นอบน้อมและมีความใกล้ชิดเป็นพิเศษต่อพระองค์ อัล-กุรอานกล่าว
لَا يَمْلِكُونَ الشَّفَاعَةَ إِلَّا مَنِ اتَّخَذَ عِندَ الرَّحْمَنِ عَهْدًا
พวกเขาไม่มีอำนาจในการชะฟาอะฮฺ นอกจากผู้ที่ได้ทำสัญญาไว้กับพระผู้ทรงกรุณาปรานี
อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า
يَوْمَئِذٍ لَّا تَنفَعُ الشَّفَاعَةُ إِلَّا مَنْ أَذِنَ لَهُ الرَّحْمَنُوَرَضِيَ لَهُ قَوْلًا
วันนั้น การชะฟาอะฮฺ จะไม่เกิดประโยชน์อันใด นอกจากผู้ที่พระผู้ทรงกรุณาปรานีทรงอนุญาตแก่เขา และพระองค์ทรงพอพระทัยในคำพูดของเขาเท่านั้น
๒.บุคคลทีจะได้นับชะฟาอะฮ ต้องมีคุณสมบัติเพียงพอในการรับชะฟาอะฮฺด้วย หมายถึงมีความความสัมพันธ์ทางอีมานดีกับอัลลอฮฺมีจิตวิญญาณที่แนบแน่นกับผู้ประทานชะฟาอะฮฺด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าบรรดากาเฟรทั้งหลายที่ไม่มีอีมานกับอัลลอฮฺ หรือมุสลิมบางคนที่กระทำความผิดบาปต่อพระองค์ เช่นมุสลิมที่ไม่ดำรงนมาซ ไม่ปฏิบัติตามกฎชัรอีย์ของพระองค์ จิตวิญญาณของเขามิได้แนบแน่นต่อผู้ประทานชะฟาอะฮฺ
อัล-กุรอานได้กล่าวถึงผู้ที่ไม่ปฏิบัตินามซ และไม่เชื่อในวันตอบแทนดังนี้ว่า
فَمَا تَنفَعُهُمْ شَفَاعَةُ الشَّافِعِينَ
ดังนั้นการชะฟาอะฮฺของบรรดาผู้มีชะฟาอะฮฺจะไม่เกิดประโยชน์อันใดแก่พวกเขา อัล-กุรอานกล่าถึงพวกกดขี่ว่า
مَا لِلظَّالِمِينَ مِنْ حَمِيمٍ وَلَا شَفِيعٍ يُطَاعُ
ไม่มีมิตรที่สนิทสนมสำหรับบรรดาผู้อธรรม และไม่มีผู้อนุเคราะห์คนใดที่จะถูกเชื่อฟัง
ปรัชญาของชะะฟาอะฮฺ
การชะฟาอะฮฺเหมือนกับการเตาบะฮฺ เป็นหวังแห่งการมีความหวังสำหรับผู้ที่หลงทางและได้กระทำบาป และเขาได้ละทิ้งสิ่งเหล่านั้น ช่วงชีวิตที่เหลือเขาได้กลับตัวกลับใจเป็นบ่าวที่ดี เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์เพราะผู้ที่ได้กระทำความผิดบาปเมื่อเขามีความรู้สึกว่าเขาตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่จำกัด(ไม่ใช่ทุกเงื่อนไข)เขาสามารถขอชะฟาอะฮฺแก่ผู้ทีสามารถให้ชะฟาอะฮฺแก่เขาได้ แต่ต้องพยายามรักษาพรมแดนนี้เอาไว้ให้มั่นคงและทำในสิ่งที่ดีกว่า
ผลลัพธ์ของชะฟาอะฮฺ
บรรดานักตับซีรฺ (ผู้อธิบายอัล-กุรอาน) มีควมเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องที่ว่า ชะฟาอะฮฺนั้นคือการอภัยในความผิดบาป หรือว่าการยกระดับฐานันดรของบุคคลนั้น แต่เมื่อพิจารณาที่พระวัจนะของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่กล่าวว่า ชะฟาอะฮฺของฉันสำหรับคนที่กระทำความผิดบาปใหญ่ ถือว่าทัศนะแรกถูกต้อง
انّ شفاعتي يوم القيامة لأهل الكبائر من أمتي
ชะฟาอะฮฺของฉันในวันกิยามะฮฺนั้ สำหรับประชาชาติของฉันผู้ที่ทำความผิดบาปใหญ่
คำถามที่ ๑๒ : การขอชะฟาอะฮฺจากผู้ที่มีสิทธิ์ให้ชะฟาอะฮฺเป็นชะรีกหรือ
คำตอบ :
คำถามที่ได้ถามมานั้น ทำให้รุ้ว่าการชะฟาอะฮฺเป็นสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) แต่เพียงผู้เดียว อั-กุรอานกล่าวว่า
قُل لِّلَّهِ الشَّفَاعَةُ جَمِيعًا
จงประกาศเถิดว่า อัลลอฮฺผู้ทรงสิทธิ์ในการชะฟาอะฮฺทั้งหมด
ด้วยเหตุนี้การขอชะฟาอะฮฺจากผู้อื่นที่นอกจากอัลลอฮฺ หรือการขออำนาจเด็ดขาดของพระองค์จากผู้บ่าว และในความเป็นจริงการขอเช่นนี้เท่ากับเป็นการภักดีต่อสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ ซึ่งมันไม่เหมาะสมกับเตาฮีดอิบาดะฮฺ ?
จุดประสงค์ของ ชรีก ตรงนี้ไม่ได้เป็นการทำชรีกในซาต (อาตมันสากล) หรือการสร้าง (คอลิกียะฮฺ) หรือการบริบาลของพระองค์ แต่เป็นชรีกในอิบาดะฮฺ
แน่นอนการอธิบายประเด็นดังกล่าวต้องอาศัยความละเอียดอ่อนในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการภักดีและการอิบาดะฮฺ ซึ่งทุกคนทราบดีว่า การอธิบายความหมายของอิบาดะฮฺไม่ได้อยู่ในอำนาจของเราเพื่อว่าจะได้สามารถมอบความนอบน้อมทั้งหลายแก่สรรพสิ่งถูกสร้าง หรือเรียกขอทุกความต้องการจากปวงบ่าว อัล-กุรอานได้กล่าวถึงเรื่องของมะลาอิกะฮฺที่สัจดะฮฺท่านศาสดาอาดัม (อ.) ว่า
فَأِذَا سَوَّيتُهُ وَنَفَخْتُ فِيْهِ مِنْ رُوْحِى فَقَعُوا لَهُ سَاجِدِيْن فَسَجَدَ الْمَلاَئِكَة كُلّهُمْ أجْمَعِيْنَ
ต่อมาเมื่อฉันได้บันดาลเขาครบสมบูรณ์ ฉันได้เป่าวิญญาณของฉันลงไปบนเขาพวก แล้วทั้งหมดก็ก้มลงกราบคารวะแก่เขา ดังนั้นมะลาอิกะฮฺทั้งหมดก็ก้มคารวะโดยดี
แม้ว่าการกราบนั้นพระองค์อัลลอฮฺจะเป็นผู้สั่งก็ตามแต่เมื่อพิจารณาจากกระทำจะเห็นว่าบรรดามลาอิกะฮฺไม่ได้ทำอิบาดะฮฺต่อท่านอาดัม เพราะมิเช่นนั้นพระองค์จะไม่สั่งเช่นนั้นเด็ดขาด
เช่นกันเรื่องราวของบุตรท่านศาสดายะอฺกูบและแม้ตัวของท่านก็มิได้สัจดะฮฺท่านศาสดายูสุฟ(อ.)อัล-กุรอานกล่าวว่า
وَرَفَعَ أَبَوَيْهِ عَلَى الْعَرْشِ وَخَرُّواْ لَهُ سُجَّدًا
และเขาได้เชิญบิดามารดาขึ้นบนบังลังก์ และทั้งหมดได้ทรุดกายลงคารวะท่านศาสดายูสุฟ
ถ้าการนอบน้อมดังกล่าวเป็นการอิบาดะฮฺต่อท่านศาสดายูสุฟละก็เราคงจะไม่เห็นท่านยะอฺกูบในฐานะของศาสดาท่านหนึ่งที่บริสุทธิ์กระทำเช่นนั้น และท่านก็คงจะไม่พอใจการกระทำของบุตรของท่านอย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตามไม่มีการนอบน้อมใดที่จะสูงส่งเกินไปกว่าการสสัจดะฮฺ
ด้วยเหตุนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องแยกความเข้าใจเกี่ยวกับการนอบน้อมหรือการวอนขอจากผู้อื่นที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ออกจากอิบาดะฮฺ แก่นแท้ของอิบาดะฮฺหมายถึง การที่มนุษย์ได้คำนึงถึงการมีอยู่ของอัลลอฮฺ และได้ทำการเคารพภักดีต่อพระองค์ สิ่งอื่นที่นอกเหนือจากนี้ล้วนเป็นมัคลูกของพระองค์ทั้งสิ้น (สิ่งที่พระองค์ได้อุบัติขึ้นมา) คำนึงถึงภารกิจของพระองค์อย่างเช่น การบริบาล การสร้าง และการอภัยในความผิดบาปของปวงบ่าวเป็นวาญิบสำหรับพระองค์แต่ถ้าการเคารพของเราที่มีต่อบุคคลหรือสิ่งอื่นโดยที่ไม่ได้คิดว่าเขาเป็นพระเจ้า หรือไม่ได้คิดถึงภารกิจต่างๆ ของเขาว่าเป็นภารกิจของพระผู้อภิบาลการนอบน้อม และแสดงความเคารพเช่นนี้ ก็เหมือนและไม่มีอะไรเกินเลยไปกว่าการคารวะนอบน้อมของมวลมลาอิกะฮฺที่มีต่อท่านศาสดาอาดัม (อ.) การคารวะของบุตรแห่งยะอฺกูบที่มีต่อท่านศาสดายูสุฟ
เกี่ยวกับคำถามที่ถามนั้นถ้าเมื่อใดก็ตามผู้ขอคิดว่าสิทธิในการให้ชะฟาอะฮฺเป็นของผู้ให้ชะฟาอะฮฺแต่เพียงอย่างเดียว และผู้ให้สามารถให้ได้โดยไม่มีเงื่อนไขอีกทั้งยังสามารถอภัยในความผิดบาปได้อีกต่างหาก การเชื่อเช่นนี้ถือว่าเป็นชรีกอย่างแน่นอน เพราะผู้นั้นได้วอนขอภารกิจของพระองค์จากคนอื่น แต่ถ้าพบว่ามีชนกลุ่มหนึ่งที่เป็นบ่าวที่บริสุทธิ์ของพระองค์มิใช่เจ้าของการชะฟาอะฮฺ แต่ได้รับอนุญาตในขอบเขตจำกัดจากพระองค์อัลลอฮฺให้ทำการชะฟาอะฮฺในบาปความผิดของคนอื่น ซึ่งสิ่งสำคัญของเงื่อนไขคือการได้รับอนุญาต และความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺ (ซบ.) ฉะนั้นการชะฟาอะฮฺเช่นนี้จากบ่าวที่บริสุทธิ์ของอัลลอฮฺ ย่อมไม่ได้หมายความเขาเป็นพระเจ้า หรือการมอบหมายภารกิจของพระองค์ให้กับเขา แต่เป็นขอในภารกิจที่เป็นสิทธิและอยู่ในความสามารถของเขา
ในสมัยที่ท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ยังมีชีวิตอยู่คนที่ทำความผิดบาปได้ไปหาท่านศาสดาเพื่อขออภัยในความผิดบาป ซึ่งท่านศาสดาก็ไม่ได้แสดงการเป็นชรีกแต่อย่างไรในหนังสือสุนันอิบนิมาญะฮฺได้รายงานริวายะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ไว้ว่า
أتدرون ما خيرنى ربّى الليلة ؟ قلنا الله ورسوله أعلم. قال فأنه خيرنى بين أن يدخل نصف امتى الجنة و بين الشفاعة فاخترت الشفاعة قلنا يا رسول الله ادع الله ان يجعلنا من اهلها قال هى لكل مسلم.
ท่านรู้ไหมว่า คืนนี้พระผู้อภิบาลของฉันได้ให้ฉันเลือกระหว่างอะไร ? พวกเราพูดว่า อัลลอฮฺและร่อซูลเท่านั้นเป็นผู้รู้ดีที่สุด ท่านกล่าวว่า อัลลอฮฺได้ให้ฉันเลือกระหว่างการให้ประชาชาติของฉันครึ่งหนึ่งเข้าสวรรค์กับการให้ชะฟาอะฮฺ ซึ่งฉันได้เลือกการให้ชะฟาอะฮฺ พวกเราพูดว่า โอ้ยาร่อซูลโปรดขอต่ออัลลอฮฺ ได้โปรดชะฟาอะฮฺให้พวกเราเป็นคนดี ท่านได้กล่าวว่า การชะฟาอะฮฺเป็นของมุสลิมทุกคน
ฮะดีซดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ว่าเหล่าบรรดาสาวกของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ได้ขอการชะฟาอะฮฺจากท่านศาสดา โดยกล่าวว่า ได้โปรดขอต่ออัลลอฮฺว่า...
อัล-กุรอานกล่าวว่า
وَلَوْ أَنَّهُمْ إِذ ظَّلَمُواْ أَنفُسَهُمْ جَآؤُوكَ فَاسْتَغْفَرُواْ اللّهَ وَاسْتَغْفَرَ لَهُمُ الرَّسُولُ لَوَجَدُواْ اللّهَ تَوَّابًا رَّحِيمًا
และมาตรว่าพวกเขาได้อธรรมแก่ตัวเอง พวกเขาได้มาหาเจ้า แล้วขออภัยโทษต่ออัลออฮฺ และร่อซูลก็ได้ขออภัยโทษให้แก่พวกเขา พวกเขาได้พบว่าอัลลอฮฺนั้น คือผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ
อีกโองการหนึ่งพระองค์กล่าวว่า
قَالُواْ يَا أَبَانَا اسْتَغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا إِنَّا كُنَّا خَاطِئِينَ
พวกเขาพูดว่า โอ้บิดาของเราโปรดอภัยโทษในความผิดของพวกเรา แท้จริงพวกเราเป็นผู้ผิดพลาด
ท่านศาสดายะอฺกูบได้ให้สัญญาการอภัยโทษแก่พวกเขา ซึ่งจะเห็นว่าท่านศาสดาไม่ได้ทำให้พวกเขาเป็นชะรีกแต่อย่างไรอัล-กุรอานกล่าวว่า
قَالَ سَوفَ أسْتغْفَر لَكُمْ رَبّى اِنَّهُ هُوَ الْغَفُور الرَّحِيمُ
กล่าวว่า ฉันจะขออภัยต่อพระผู้อภิบาลของฉันแก่พวกเจ้า แท้จริงพระองค์ทรงอภัย อีกทั้งทรงเมตตายิ่ง
คำถามที่ ๑๓ : การขอความช่วยเหลือจากคนอื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮฺเป็นชรีกหรือ
คำตอบ :
หากพิจารณาด้วยสติปัญญา ในมุมมองของอัล-กุรอานจะพบว่ามนุษย์ทุกคน ตลอดจนสรรพสิ่งหลายบนโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม ในการกำเนิดล้วนต้องพึ่งพิงพระองค์อัลลอฮฺทั้งสิ้น และในการดำรงอยู่ก็ต้องอาศัยพระองค์อีกเช่นกัน อัล-กุรอานได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
يَا أيُّهَا النَّاسُ أنْتُمُ الفُقُرَاءُ اِلَى الله والله هُوَ الغَنِىُّ الْحَمِيْد
โอ้มนุษย์เอ๋ย พวกเจ้าเป็นผู้ขัดสนต้องพึ่งพิงอัลลอฮฺ แต่อัลลอฮฺนั้นทรงมั่งมีอย่างล้นเหลือ ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ
وَمَا النَّصْرُ إِلاَّ مِنْ عِندِ اللّهِ الْعَزِيزِ الْحَكِيمِ
และการช่วยนั้น เฉพาะจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณเท่านั้น[
إيَّاكَ نَعْبُدُ وإِيَّاكَ نَسْتَعِينُ
เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกเราเคารพภักดี และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกเราขอความช่วยเหลือ
ดังนั้นเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้นสำหรับคำตอบข้างบนเราพูดว่า
๑. แนวทางแรก มนุษย์ได้ขอความช่วยเหลือจากมนุษย์ด้วยกันหรือจากสรรพสิ่งอื่น โดยถือว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มี หรือมีการกระทำที่เป็นเอกเทศน์ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงพระผู้เป็นเจ้า
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการขอความช่วยเหลือจากคนอื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮฺ (ซบ.) ในทำนองนี้เป็นชรีกอย่างแน่นอน อัล-กุรอานกล่าวว่า
قُلْ مَن ذَا الَّذِي يَعْصِمُكُم مِّنَ اللَّهِ إِنْ أَرَادَ بِكُمْ سُوءًا أَوْأَرَادَ بِكُمْ رَحْمَةً وَلَا يَجِدُونَ لَهُم مِّن دُونِ اللَّهِ وَلِيًّا وَلَا نَصِيرًا
จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด ถ้าอัลลอฮฺประสงค์จะทรงลงโทษพวกท่าน ใครเล่าจะปกป้องพวกท่านให้หลอดพ้นไปจากอัลลอฮฺ หรือทรงประสงค์จะให้ความเมตตาแก่พวกท่าน และพวกเขาจะไม่พบใครอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ที่จะเป็นผู้คุ้มครองและช่วยเหลือพวกเขา
๒. แนวทางที่สองขณะที่เขาขอความช่วยเหลือจากมนุษย์ด้วยกันนั้น เขาได้คำนึงเสมอว่าผู้นั้นเป็นสิ่งถูกสร้างหนึ่งและต้องอิงอาศัยอัลลอฮฺ (ซบ.) ตลอดเวลา เขาไม่ได้เป็นอิสระไปจากพระองค์ การดำรงอยู่และการมีของเขาล้วนได้รับการสนับสนุนมาจากพระองค์ผู้ทรงเกรียงไกรทั้งสิ้นในความหมายการแก้ไขปัญหาบางอย่างของมนุษย์ อัลลอฮฺทรงประทานการแก้ไขโดยผ่านเขา
บนพื้นฐานความคิดดังกล่าวหากต้องการให้เขาเป็นผู้ช่วยเหลือถือว่าเขาเป็นเพียงสื่อที่พระผู้อภิบาลได้มอบหมายให้เขาเป็นสื่อกลางในการแก้ไขปัญหาหรือสนองตอบความต้องการบางประการแก่มนุษย์ ฉะนั้นการขอความช่วยเหลือทำนองเช่นนี้ในความเป็นจริงเท่ากับเขาได้ขอความช่วยเหลือจากพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) เพราะพระองค์คือผู้ประทานให้เขาเป็นสื่อในการขจัดปัญหาความต้องการแก่คนอื่น ทรงทำให้เขามีความสามารถ ซึ่งพระองค์คือสาเหตุที่แท้จริง และหากพิจารณาตามความเป็นจริงแล้วจะพบว่าการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ได้วางอยู่บนความช่วยเหลือที่เป็นสาเหตุและมูลเหตุของมัน หมายถึงถ้าหากมนุษย์ไม่ขอความช่วยเหลือจากเขา ชีวิตมนุษย์ก็จะมีแต่ความรันทด ดังนั้นถ้ามนุษย์ได้สัมพันธ์กับพวกเขาบนพื้นฐานของแนวคิดดังกล่าวนั้น ซึ่งในความเป็นจริงพวกเขาคือสาเหตุที่ทำให้เกิดการช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ และการมีอยู่ของพวกเขาก็มาจากพระองค์ การช่วยเหลือและการสนับสนุนทั้งหลายของพวกเขามาจากพระองค์ ดังนั้นการขอความช่วยเหลือในทำนองนี้ไม่ได้ขัดแย้งกับความเป็นเอกะของพระองค์ หรือการเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียวแต่อย่างไร
ถ้าเกษตรกรคนหนึ่งที่ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า และยอมรับความเป็นเอกะของพระองค์ และเขาต้องอิงอาศัยการช่วยเหลือจากตัวการอื่นๆ ด้วยอย่างเช่น พื้นดิน น้ำ อากาศหรือแม้แต่แสงแดดเพื่อเพราะปลูกเมล็ดพันธ์ของเขา ในความเป็นจริงเท่ากับเขาได้ขอความช่วยเหลือจากพระองค์อัลลอฮฺ เพราะพระองค์คือผู้ประทานให้สิ่งเหล่านั้นมีกำลังและความสามารถเป็นไป ประกอบกับเกษตรกรคนนั้นมีความเลื่อมใสศรัทธาต่ออำนาจและเดชานุภาพของพระองค์อยู่ก่อนแล้ว
เป็นที่ชัดเจนว่าการขอความช่วยเหลือดังกล่าวนั้น เข้ากันได้อย่างดีกับความเป็นเอกะและการเคารพภักดีกับพระเจ้าองค์เดียว ทว่าอัล-กุรอานเองได้เชิญชวนและสอนเราให้ทำการขอความช่วยเหลือ และอิงอาศัยกับสรรพสิ่งอื่น อาทิเช่น นมาซ และความอดทน อัล-กุรอานกล่าวว่า
وَاسْتَعِينُواْ بِالصَّبْرِ وَالصَّلوةِ
และจงแสวงหาความช่วยเหลือ ด้วยความอดทน และการนมาซ
แน่นอนความอดทนอดกลั้นนั้นเป็นภารกิจของมนุษย์ และเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องขอความช่วยเหลือจากพวกเขา อย่างไรก็ตามการขอความช่วยเหลือลักษณะอย่างนี้ไม่ขัดกับความเป็นเอกะของพระองค์แน่นอน


คำถามที่ ๑๔ :การอ่านหรือการเรียกคนอื่น เป็นสาเหตุของการเคารพบูชาพวกเขา และเป็นชรีกหรือ
คำตอบ :
สาเหตุที่ทำให้เกิดคำถามดังกล่าวเนื่องจากมีบางโองการที่ได้ห้ามมิให้มีการเรียกหาคนอื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮฺ (ซบ.) อัล-กุรอานกล่าวว่า
وَاَنَّ المسَا جِدَ لله فَلاَ تَدْعُوا مَعَ اللهِ أَحَدًا
และแท้จริงบรรดามัสยิดนั้นเป็นของอัลลอฮฺ ดังนั้น พวกเจ้าอย่าวิงวอนขอผู้ใดเคียงคู่กับอัลลอฮฺ
وَلاَ تَدْعُ مِن دُونِ اللّهِ مَا لاَ يَنفَعُكَ وَلاَ يَضُرُّكَ
และเจ้าอย่าวิงวอนสิ่งใดอื่นนอกจากอัลลอฮฺที่ไม่อำนวยประโยชน์ และไม่ให้โทษแก่เจ้า
มีมุสลิมกลุ่มหนึ่งที่มีความเชื่อว่าโองการเหล่านี้เป็นหลักฐานยืนยันไม่ให้ทำการวิงวอน เรียกร้องต่อบรรดาเอาลิยาอฺ และผู้เป็นกัลญาณชนของพระองค์ ภายหลังจากที่พวกเขาได้สิ้นชีวิตไปแล้วซึ่งถือว่าเป็นชรีก
สำหรับความกระจ่างในเรื่องนี้สิ่งจำเป็นที่ต้องทำความเข้าใจก่อนคือ คำว่าดุอาอฺ และอิบาดะฮฺ หมายถึงอะไร ?
ไม่ต้องสงสัยว่า คำว่าดุอาอฺในภาษาอาหรับหมายถึง การวิงวอน เรียกร้อง ส่วนคำว่า อิบาดะฮฺ หมายถึง การเคารพภักดี ดังนั้นไม่สามารถกล่าวได้ว่าคำสองคำมีความหมายเหมือนกัน หรือความหมายเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถกล่าวได้ว่า ทุกๆ การเรียกร้อง และความต้องการเป็นอิบาดะฮฺหรือการเคารพภักดี เพราะว่า
๑. คำว่าดุอาอฺได้ถูกใช้ในอัล-กุรอานมากมายหลายครั้ง แต่ไม่สามารถกล่าวได้ว่าจุดประสงค์ของดุอาอฺหมายถึง การอิบาดะฮฺ เช่นกล่าวว่า
قَالَ رَبِّ إِنِّي دَعَوْتُ قَوْمِي لَيْلًا وَنَهَارًا
ท่านศาสดานูห์กล่าวว่า พระผู้อภิบาลของฉัน ฉันได้เชิญชวนประชาชาติของฉัน (ไปสู่การภักดีกับพระองค์) ทั้งกลางวันและกลางคืน
เป็นไปได้ไหมที่จุดประสงค์ของท่านศาสดานูห์ (อ.) คือต้องการบอกว่าฉันได้ทำอิบาดะฮฺกับประชาชาติของฉันทั้งกลางวันและกลางคืน
ด้วยเหตุนี้ไม่สามารถพูดได้ว่า ดุอาอฺ กับ อิบาดะฮฺนั้นให้ความหมายเดียวกัน และถ้าเพื่อว่ามีใครได้ของความช่วยเหลือจากท่านศาสดา หรือจากบ่าวที่บริสุทธิ์คนหนึ่งถือว่าได้ทำอิบาดะฮฺกับเขาอย่างนั้นหรือ ? เพราะให้ความหมายดุอาอฺ ครอบคลุมไปถึงการอิบาดะฮฺด้วย
๒ . จุดประสงค์ของดุอาอฺที่ได้กล่าวไว้ในโองการที่นำเสนอมานั้น ไม่ได้หมายถึงการเรียกร้องทั้งหมด แต่ให้ความหมายว่าเป็นการเรียกร้องที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งอาจให้ความหมายว่าเป็นการอิบาดะฮฺก็ได้ เพราะโองการเหล่านี้ได้ลงเกี่ยวกับเรื่องการเคารพบูชารูปปั้น ซึ่งพวกเขาถือว่าเทวรูปเหล่านั้นเป็นเทพเจ้าน้อยสำหรับพวกเขา
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการให้ความเคารพต่อเทวรูป และการร้องขอความช่วยเหลือในฐานะที่เป็นผู้มีสิทธิ์ในการให้ชะฟาอะฮฺ และอภัยในความผิดบาป และอื่นๆ ตลอดจนเชื่อว่าสิ่งเหล่านั้นมีความอิสระในการตอบสนองทั้งโลกนี้และโลกหน้าตามที่ได้มีผู้ร้องขอมา การกระทำด้วยเงื่อนไขเช่นนี้ ทุกๆ การร้องขอจากสิ่งที่มีอยู่จึงถือว่าเป็นอิบาดะฮฺ ดังที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการร้องขอของพวกเขา บนความเชื่อที่ว่าสิ่งเหล่านั้นมีเหมาะสมต่อการอิบาดะฮฺ อัล-กุรอานกล่าวว่า
فَمَا أَغْنَتْ عَنْهُمْ آلِهَتُهُمُ الَّتِي يَدْعُونَ مِن دُونِ اللّهِ مِنشَيْءٍ
และบรรดาพระเจ้าที่พวกเขาวิงวอนขอนอกเหนือไปจากอัลลอฮฺนั้น จะไม่อำนวยประโยชน์อันใดให้แก่พวกเขาเลย
ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าโองการที่กำลังกล่าวถึง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังพูดถึงอยู่แต่อย่างไร เรื่องที่กำลังกล่าวถึงคือ การร้องขอของบ่าวคนหนึ่งจากบ่าวอีกคนหนึ่ง โดยที่ไม่ได้เชื่อว่าเขาเป็นพระเจ้าผู้อภิบาล หรือเป็นผู้มีสิทธิ์สมบูรณ์ในภารกิจที่เกี่ยวข้องนั้นทั้งโลกนี้และโลกหน้า ทว่ายอมรับว่าเขาเป็นเพียงบ่าวที่มีเกียรติ ณ พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) และเขาได้ถูกเลือกให้เป็นศาสดาหรืออิมาม และถูกให้สัญญาว่าดุอาอฺของเขาที่ขอให้มวลประชาชาติทั้งหลายเป็นที่ยอมรับ อัล-กุรอานกล่าวว่า
وَلَوْ أَنَّهُمْ إِذ ظَّلَمُواْ أَنفُسَهُمْ جَآؤُوكَ فَاسْتَغْفَرُواْ اللّهَ وَاسْتَغْفَرَ لَهُمُ الرَّسُولُ لَوَجَدُواْ اللّهَ تَوَّابًا رَّحِيمًا
แม้ว่าพวกเขาได้เขาอธรรมแก่ตัวเองได้มาหาเจ้า แล้วขออภัยโทษต่ออัลออฮฺ และร่อซูลก็ได้ขออภัยโทษให้แก่พวกเขา แน่นอนพวกเขาย่อมพบว่าอัลลอฮฺนั้นคือผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ
๓. โองการที่ได้กล่าวมาจะเห็นว่า จุดประสงค์ของดุอาอฺ ไม่ได้หมายถึงการร้องขอเพียงอย่างเดียว ทว่าเป็นการร้องขอในเชิงของอิบาดะฮฺ ด้วยเหตุนี้จะพบว่าอีกโองการหนึ่งหลังจากคำว่า ดุอาอฺ แล้วในความหมายของดุอาอฺนั้นเองจะเปลี่ยนเป็นคำว่า อิบาดะฮฺทันที่อย่างเช่นโองการที่ว่า
وَقَالَ رَبُّكُمُ ادْعُونِي أَسْتَجِبْ لَكُمْ إِنَّ الَّذِينَ يَسْتَكْبِرُونَعَنْ عِبَادَتِي سَيَدْخُلُونَ جَهَنَّمَ دَاخِرِينَ
และพระผู้อภิบาลของพวกเจ้าตรัสว่า จงวิงวอนขอต่อฉัน ฉันจะตอบรับสำหรับพวกเจ้า แท้จริงบรรดาผู้โอหังต่อการเคารพภักดีฉันนั้น พวกเขาจะเข้าไปอยู่ในนรกอย่างต่ำต้อย
หากพิจารณาจะพบว่าในตอนแรกของโองการจะใช้คำว่า อัดอูนี แต่หลังจากนั้นโองการได้ใช้คำว่า อิบาดะตี ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันได้อย่างดีว่าจุดประสงค์ของการ ดุอาอฺ หรือการขอความช่วยเหลือต่อสิ่งที่อยู่ต่อหน้า ซึ่งพวกเขาได้ยอมรับว่านั้นเป็นพระเจ้าของพวกเขา
สรุป จากบทนำทั้งสามที่ได้กล่าวมานั้นสามารถสรุปได้ดังนี้ว่า จุดประสงค์หลักของอัล-กุรอานจากโองการเหล่านี้ คือการปฏิเสธ การเชิญชวนของกลุ่มที่เคารพบูชาเทวรูปทั้งหลาย โดยถือว่าเทวรูปเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นหุ้นส่วนของพระเจ้า หรือเป็นผู้บริบาล หรือ เป็นเจ้าของชะฟาอะฮฺ การนอบน้อมทุกประเภท การขอความช่วยเหลือ การขอชะฟาอะฮฺ และการขอในสิ่งที่ตนปรารถนาจากสิ่งนั้นโดยถือว่านั่นคือพระเจ้าองค์น้อยสำหรับตน ที่มีหน้าที่รับผิดชอบภารกิจของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งพวกบูชาเทวรูปเชื่อว่าส่วนหนึ่งของภารกิจที่เกี่ยวข้องกับโลกนี้และโลกหน้าพระองค์ทรงมอบหมายในพระเจ้าองค์น้อยเหล่านั้นเป็นผู้จัดการ โองการดังกล่าวนี้มีความสัมพันธ์กับการขอความอนุเคราะห์จากจิตวิญญาณที่บริสุทธิ์ในทัศนะของผู้ให้การเชิญชวนถือว่าพวกเขาประสบความสำเร็จกว่าคนอื่นทว่าเขาคือบุคคลที่พระองค์ทรงให้ความรักเป็นพิเศษกระนั้นหรือ?
อัล-กุรอานกล่าวว่า
وأنَّ المسا جِدَ لله فلا تد عوا مع الله احداً
มัสญิดนั้นสำหรับอัลลอฮฺ ดังนั้นจงอย่าเรียกร้องผู้ใดร่วมกับพระองค์
จุดประสงค์ คือการเรียกร้อง หรือวอนขอในลักษณะของการอิบาดะฮฺ เพราะพวกอาหรับในสมัยญาฮิลียะฮฺนั้น จะทำการวอนขอต่อเทวรูปต่างๆ ตลอดจนจากมลาอิกะฮฺ และญินทั้งหลาย ดังนั้นจุดประสงค์ของโองการจึงหมายถึง การวอนขอจากตัวบุคคลหรือสรรพสิ่งอื่นซึ่งถือว่าสิ่งนั้นคู่ควรกับการเคารพภักดี และไม่ต้องสงสัยเลยว่าการวอนขอจากสิ่งเหล่านี้ และด้วยกับความเชื่อดังกล่าวเท่ากับเป็นการสักการะสิ่งนั้นแน่นอน
แต่สิ่งที่สงสัยคือ โองการดังกล่าวเกี่ยวข้องอันใดกับการดุอาอฺกับบุคคล ซึ่งผู้ขอไม่ได้คิดว่าเขาผู้นั้นเป็นเทพเจ้า หรือผู้บริหาร หรือเป็นพระผู้อภิบาลแต่อย่างไร เพียงแค่ยอมรับว่าเขาคือบ่าวที่ดีที่สุดของพระองค์เท่านั้น
บางคนอาจคิดว่าการวอนขอจากเอาลิยาอฺที่ดีและประเสริฐของอัลลอฮฺ (ซบ.) สามารถทำได้เฉพาะในช่วงที่เขามีชีวิตอยู่เท่านั้น การวอนขอภายหลังจากที่เขาตายไปแล้วถือว่าเป็นชิกร์
สามารถอธิบายได้ดังนี้
๑. เราได้ขอจากวิญญาณอันบริสุทธิ์ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) ซึ่งอัล-กุรอานได้กล่าวว่าพวกเขายังไม่ตาย และมีความสูงส่งกว่าบรรดาชุฮะดาทั้งหลาย พวกเขายังดำเนินชีวิตอยู่ ณ อาลัมบัรฺซัค พวกเราไม่ได้ขอจากเรือนร่างที่ฝังอยู่ในดิน และแม้ว่าในบางครั้งท่านอาจเห็นว่ามีชีอะฮฺยืนขอดุอาอฺที่ข้างหลุมฝังศพของบรรดาท่านเหล่านั้น เนื่องจากว่าสภาพดังกล่าวจะทำให้การติดต่อด้วยจิตด้านในของเรามีความกระตือรือร้นมากกว่า ประกอบกับริวายะฮฺได้กล่าวว่า การขอดุอาอฺ ณ สถานที่ดังกล่าวจะทำให้ดุอาอฺถูกตอบรับเร็วขึ้น
๒. การมีชีวิตอยู่ หรือความตายของพวกเขาไม่สามารถนำมาเป็นเงื่อนไขของการเป็นชิกร์ หรือเตาฮีดได้ ขณะที่สิ่งที่เรากำลังพูดถึงคือ รูปแบบของการเป็นชิกร์ และเตาฮีด ไม่ใช่เรื่องที่ว่าดุอาอฺจะมีประโยชน์หรือไม่มี
แน่นอนเรื่องเกี่ยวกับการวิงวอนในทำนองนี้จะมีประโยชน์หรือไม่มี จะทำการอธิบายในที่ของมัน อินชาอัลลอฮฺ
คำถามที่ ๑๕ : บะดาอ์หมายถึงอะไร และทำไมต้องเชื่อด้วย
คำตอบ :
คำว่า บะดาอ์ ในปทานุกรมอาหรับหมายถึง การปรากฏ การเปิดเผย
ในความหมายของนักปราชญ์ชีอะฮฺหมายถึง การเปลี่ยนแปลงชะตากรรมมนุษย์ด้วยกับการกระทำคุณงามความดี (อะมัลซอลิห์)
บะดาห์ เป็นความเชื่ออย่างหนึ่งในนิกายชีอะฮฺวางอยู่บนพื้นฐานอัล-กุรอาน ตรรก และสติปัญญา
ทัศนะของอัล-กุรอานกล่าวว่า มนุษย์ไม่มีสิทธิ์เลือกสรรชะตากรรมของตนเอง แต่ว่าวิถีทางที่นำไปสู่ความเจริญผาสุกนั้นเปิดสำหรับเขาตลอดเวลา เขาสามารถเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของตนเองได้ด้วยกลับการไปสู่แนวทางสัจธรรม และการประพฤติคุณงามความดี ด้วยเหตุนี้เองจะเห็นว่าบะดาห์เป็นความเชื่อที่เป็นแก่นประการหนึ่งของอิสลาม อัล-กุรอานกล่าวว่า
إِنَّ اللّهَ لاَ يُغَيِّرُ مَا بِقَوْمٍ حَتَّى يُغَيِّرُواْ مَا بِأَنْفُسِهِمْ
แท้จริงอัลลอฮฺจะมิทรงเปลี่ยนแปลงประชาชาติใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงตนเอง
อัล-กุรอานกล่าวว่า
وَلَوْ أَنَّ أَهْلَ الْقُرَى آمَنُواْ وَاتَّقَواْ لَفَتَحْنَا عَلَيْهِمبَرَكَاتٍ مِّنَ السَّمَاءِِ وَالأَرْضِ
และหากว่าชาวเมืองนั้นได้ศรัทธาและมีความยำเกรง แน่นอนเราจะเปิดประตูความจำเริญแห่งฟากฟ้าและแผ่นดินให้แก่พวกเขา
อัล-กุรอานกล่าวว่า
فَلَوْلَا أَنَّهُ كَانَ مِنْ الْمُسَبِّحِينَلَلَبِثَ فِي بَطْنِهِ إِلَى يَوْمِ يُبْعَثُونَ
หากเขามิได้เป็นคนหนึ่งในหมู่ผู้แซ่ซ้องสดุดีแล้ว แน่นอน เขาจะอยู่ในท้องปลาจวบจนกระทั่งวันฟื้นคืนชีพ
จากโองการสามารถเข้าใจได้ว่า ท่านศาสดายูนุส (อ.) นั้นต้องอยู่ในท้องปลา (อันเป็นที่คุมขังพิเศษ) สำหรับท่านตลอดไปจนถึงวันกิยามะฮฺ แต่เป็นเพราะว่าความประพฤติที่ดี (ท่านทำการแซ่ซ้องสดุดี) ชะตากรรมของท่านศาสดา (อ.) จึงเปลี่ยนแปลงไปและได้รับการช่วยเหลือในที่สุด
ความจริงดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของอิสลาม ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า
ان الرجل ليحرم الرزق بالذنب يصيبه ولا يرد القدر الا الدعاء و لا يزيد فى العمر الا البر
คนๆ หนึ่งริสกี (ปัจจัยยังชีพ) จะถูกห้ามสำหรับเขา เนื่องจากการกระทำความผิดบาป และไม่มีสิ่งใดสามารถเปลี่ยนแปลงชะตากรรมนี้ได้ นอกจากดุอาอ์ และอายุของเขาจะไม่ยืนนอกจากการปฏิบัติความดี
จากริวายะฮฺดังกล่าวและริวายะฮฺอื่นๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกันนี้สรุปได้ว่า มนุษย์เราจะถูกห้ามจากริสกีต่างๆ เนื่องจากการกระทำความผิดบาป แต่ทว่าด้วยกับการประพฤติคุณงามความดีอย่างเช่น การขอดุอาอ์ การบริจาคทาน และการทะนุบำรุงศาสนาของพระองค์ให้มีชีวิตเสมอ สามารถเปลี่ยนชะตาชีวิตและทำให้มีอายุยืน
สรุป
ทั้งโองการและริวายะฮฺ สรุปได้ว่ามาตรว่ามนุษย์นั้นได้ประพฤติตนตามใจปรารถนา (หากพิจารณาที่สาเหตุ และตัวการที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์)ความประพฤติของเขานั่นเองที่เป็นตัวการสำคัญทำให้ชะตากรรมเปลี่ยนแปลงไป หรือในบางครั้งอาจมีบรรดาเอาลิยาอ์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) อย่างเช่น ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) หรือบรรดาอิมาม (อ.) ได้แจ้งข่าวให้เขาทราบล่วงหน้าหมายถึงว่า ถ้าเขายังประพฤติเช่นนั้นต่อไป เขาต้องพบกับชะตากรรมที่รออยู่อย่างแน่นอน แต่ผลจากการเปลี่ยนแปลงการกระทำอย่างฉับพลันจะทำให้ชะตากรรมของเขาเปลี่ยนทันที ดังนั้นจะเห็นว่าแก่นแท้ของเรื่องดังกล่าว ที่วางอยู่บนพื้นฐานของอัล-กุรอาน ซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และสติปัญญาที่สมบูรณ์ ชีอะฮฺเรียกว่า การบะดาห์
หากพิจารณาไปตามความเป็นจริงจะพบว่า บะดาห์ ไม่ใช่สิ่งที่มีจากชีอะฮฺฝ่ายเดียว หรือเป็นการตีความของผู้รู้ชีอะฮฺเท่านั้น ทว่าเรื่องนี้ได้มีบันทึกอยู่ในตำราของอหฺลิซซุนนะฮฺ และท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวไว้เช่นกันอาทิเช่นคำพูดที่กล่าวว่า
بَدَ ا للهُ عزّ و جَلّ ان يبتليهم
อัลลอฮฺทรงยกเลิกการทดสอบสำหรับพวกเขา
สิ่งจำเป็นที่ต้องกล่าวถึงคือ การบะดาห์ ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้ความรู้ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากพระองค์ทรงทราบตั้งแต่แรกแล้วถึง ความประพฤติที่เป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ และตัวการที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อันเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การบะดาห์ อัล-กุรอานกล่าวว่า
يَمْحُو اللّهُ مَا يَشَاءُ وَيُثْبِتُ وَعِندَهُ أُمُّ الْكِتَابِ
อัลลอฮทรงยกเลิกสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงยืนหยัดให้มั่น (สิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์) และแม่บทแห่งคัมภีร์อยู่ ณ พระองค์
ด้วยเหตุนี้พระองค์อัลลอฮฺ ผู้ทรงปรีชาญาณและทรงพลานุภาพ เมื่อพระองค์ทรงบะดาห์นั้น แก่นแท้ของสิ่งดังกล่าวเป็นที่ล่วงรู้ตั้งแต่แรก ณ พระองค์ แค่ทรงเปิดเผยสิ่งนั้นให้มนุษย์ได้รับรู้ ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า
ما بد الله فى شيء الا كان فى علمه قبل ان يبدوله
ไม่มีสิ่งใดปิดบังสำหรับอัลลอฮฺ นอกจากว่าพระองค์ได้ล่วงรู้สิ่งนั้นตั้งแต่แรกแล้วปรัชญาของการบะดาห์
ไม่เป็นที่สงสัยหากมนุษย์สามารถเปลี่ยนชะตาชีวิตของตนเองได้ แน่นอนเขาต้องทำให้อนาคตของเขาสูงส่งและดี ความพากเพียรและการขวนขวายของเขาต้องมีมากและเป็นประโยชน์กว่าที่เป็นอยู่
อีกนัยหนึ่งดังที่กล่าวไปแล้วว่า การชะฟาอะฮฺ และการเตาบะฮฺเป็นความหวังในการช่วยเหลือมนุษย์ ซึ่งแก่นแท้ของการบะดาห์ก็เช่นกันเป็นสาเหตุในการสร้างความสุข และความปิติยินดีแก่มนุษย์ทำให้มีความหวังต่ออนาคตของตนเอง เพราะว่ามนุษย์ทราบดีว่าเขาสามารถเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้กำหนดไว้แล้วแก่เขาได้ และยังสามารถกระทำในสิ่งที่ดีกว่าแก่ตนเองได้อีกต่างหาก
คำถามที่ ๑๖ :ชีอะฮฺเชื่อว่าอัล-กุรอานถูกเปลี่ยนแปลงหรือ
คำตอบ :
บรรดานักปราชญ์ทั้งหมดของชีอะฮฺเชื่อว่า อัล-กุรอานซึ่งถือว่าเป็นพระมหาคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น อัล-กุรอานที่อยู่ในมือของเราปัจจุบันคืออัล-กุรอานที่ได้ถูกประทานแก่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เมื่ออดีตที่ผ่านมา ไม่มีสิ่งใดเพิ่มเติมลงไปหรือถูกตัดออก ดังเหตุผลที่จะกล่าวต่อไปนี้
๑. พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) พระผู้อภิบาลผู้ทรงสูงส่งได้รับประกันว่าพระองค์จะเป็นผู้ปกป้องคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์แห่งฟากฟ้าด้วยพระองค์เอง อัล-กุรอานกล่าวว่า
إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّكْرَ وَإِنَّا لَهُ لَحَافِظُونَ
แท้จริงเราเป็นผู้ประทานอัล-กุรอานลงมา และเราจะเป็นผู้พิทักษ์มันอย่างแน่นอนเป็นที่ชัดเจนว่าบรรดาชีอะฮฺทั้งหลายนับตั้งแต่ได้ยึดถือว่า อัล-กุรอานคือรัฐธรรมนูญสูงสุดในการดำเนินชีวิตและจากโองการดังกล่าว ชีอะฮฺมีความเชื่อว่า อัล-กุรอานได้รับการปกป้องให้บริสุทธิ์จากการเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย
๒. ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของชีอะฮฺท่านอิมามอะลี (อ.) ผู้อยู่ร่วมกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ขณะที่วะฮีย์ได้ถูกประทานลงมา และเป็นผู้จดบันทึกวะฮีย์ ท่านได้กล่าวเชิญชวนให้บรรดามุสลิมทั้งหลายไปสู่อัล-กุรอานฉบับปัจจุบันในวาระโอกาสต่างๆ ดังคำพุดต่อไปนี้ของท่าน
واعلموا انّ هذا القرآن هو الناصح الذى لايغشّ الهادى الذى لا يضلّ
จงรู้ไว้ว่า แท้จริงอัล-กุรอานเล่มปัจจุบันคือคำตักเตือนที่ไม่มีการบิดเบือน และเป็นคำชี้นำที่ไม่มีการหลงทาง
انّ الله سبحانه لم يعظ أحداُ بمثل هذا القرآن فانّه حبل الله المتين و سببه المبين
แท้จริงแล้วอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่เคยแนะนำผู้ใดเหมือนกับอัล-กุรอาน อัล-กุรอานนั้นเป็นสายเชือกที่มั่นคงของอัลลอฮฺ และเป็นสื่อที่ชัดแจ้งของพระองค์
ثمّ أنزل عليه الكتاب نورا لا تطفا مصابيحه و سراجا لا يخبوا توقده و منهاجا لا يضلّ نهجه..وفرقانا لا يخمد بر هانه
หลังจากนั้นอัลลอฮฺทรงประทานแก่เขา คัมภีร์ที่เป็นนูรฺรัศมีที่ไม่มีวันสิ้นแสง เป็นประทีปที่ไม่มีวันมืดมิด เป็นแนวทางที่ไม่นำไปสู่การหลงทาง และเป็นสิ่งจำแนกความถูกผิดที่ไม่มีวันสิ้นด้วยเหตุผล
จากคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของชีอะฮฺ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าอัล-กุรอานนั้นคือ ประทีปที่ทอแสงไม่มีวันดับจนกว่าจะถึงวันกิยามะฮฺ เป็นแสงสว่างแก่ผู้ที่ปฏิบัติตาม และเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ จะไม่พบว่าอัล-กุรอานเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ปฎิบัติตามหลงทางหรือทำให้พวกเขาต้องสิ้นหวังในชีวิต
๓. บรรดานักปราชญ์ของชีอะฮฺ เห็นพร้องต้องกันว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า ฉันได้ฝากสิ่งหนักสองสิ่งที่มีค่ายิ่งไว้ในหมู่ของพวกท่าน สิ่งหนึ่งคือคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และอีกสิ่งได้แก่อิตระตีทายาทของฉัน หากพวกท่านได้ยึดมั่นกับทั้งสองพวกท่านจะไม่หลงทางตลอดไป
ฮะดีซษะก่อลัยนฺ เป็นฮะดีซมุตะวาติรของอิสลาม (ไม่อาจคาดถึงการโกหก) ทั้งซุนนะฮฺ และชีอะฮฺได้รายงานฮะดีซดังกล่าวไว้ จากคำพูดดังกล่าวเป็นที่ชัดเจนว่าในทัศนะของชีอะฮฺนั้น เชื่อว่าอัล-กุรอานฉบับปัจจุบันมีความสมบูรณ์ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากว่าถ้าหากอัล-กุรอานมีการเปลี่ยนแปลงการยึดมั่นกับอัล-กุรอานไม่สามารถนำทางและขจัดข้อสงสัยต่างๆ ได้ ทว่ายังเป็นสาเหตุนำไปสู่การหลงทางอีกต่างหาก ซึ่งบทสรุปดังกล่าวนี้มีความขัดแย้งอย่างรุนแรงกับฮะดีซษะก่อลัยนฺ
๔. ริวายะฮฺของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ฝ่ายชีอะฮฺ ที่บรรดาผู้รู้และนักปราชญ์ได้รายงานริวายะฮฺเหล่านั้นเอาไว้นั้น ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่าอัล-กุรอานคือมาตรฐานของการจำแนกสิ่งถูกผิด สัจธรรมและความเท็จทั้งหลาย หมายความว่าแม้แต่ริวายะฮฺต่างๆ ที่ได้มาถึงเราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตรวจสอบความถูกต้องด้วยกับอับ-กุรอาน ถ้าริวายะฮฺนั้นเข้ากับอัล-กุรอานได้ถือว่าถูกต้อง ถ้าไม่เช่นนั้นถือว่าไม่ถูกต้องและใช้ไม่ได้
ริวายะฮฺที่กล่าวถึงเรื่องนี้มีอยู่มากมาย ทั้งที่บันทึกอยู่ในตำราฟิกฮฺ และตำราเล่มอื่นๆ ซึ่งจะขอหยิบยกบางริวายะฮฺเท่านั้น ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า
قال الصادق (ع) : مَالَمْ يُوافِقَ مِنَ الْحَدِيْثِ الْقُرآنَ فَهُوَ زُخْرُفُ
ถ้าหากคำพูดใดไม่เข้ากับอัล-กุรอานถือว่าคำพูดนั้นไร้ประโยชน์และไม่ถูกต้อง


ริวายะฮฺดังกล่าวเป็นที่กระจ่างว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้นเกิดกับอัล-กุรอาน ด้วยเหตุนี้อัล-กุรอานคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ จึงสามารถเป็นมาตรฐานในการวัดความถูกผิด และจำแนกสัจธรรมกับความเท็จได้ตลอดไปจนถึงวันแห่งการอวสานของโลก
๕.นักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของชีอะฮฺ ผู้อยู่ร่วมกับความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรมและการเติบโตของชีอะฮฺ ต่างยอมรับว่าอัล-กุรอานนั้นบริสุทธิ์จากการเปลี่ยนแปลง แน่นอนการนับจำนวนนักปราชญ์ทั้งหมดเหล่านั้นเป็นเรื่องยากลำบาก ฉะนั้นจะขอหยิบยกบางท่านที่เป็นที่มักคุ้นของสังคมอาทิเช่น
๕.๑ อบูญะอฺฟัรฺ มุฮัมมัด บิน อะลี บิน ฮุเซน บาบูยะฮฺ กุมมีย์ มีฉายานามว่า เชคศุดูก เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ ๓๘๑ พูดว่า ความเชื่อของเราที่มีต่ออัล-กุรอานอันเป็นพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้า เป็นคัมภีร์ที่ความเท็จไม่อาจย่างกายเข้าไปสู่ และเป็นคัมภีร์ที่ได้รับการประทานลงมาจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งพระองค์คือผู้พิทักษ์รักษาคัมภีร์
๕.๒ ซัยยิด มุรฺตะฏอ อะลี บิน ฮุเซน มูซาวี อะละวี มีฉายานามว่า อะละมุลฮุดา เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ ๔๓๖ พูดว่า มีศ่อฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่งอาทิเช่น อับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด , อุบัย บินกะอฺบ์ และคนอื่นๆ ได้อ่านกุรอานทั้งเล่มต่อหน้าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) สิ่งนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าอัล-กุรอานได้ถูกรวบรวมไว้แล้วในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) โดยไม่มีการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง
๕.๓ อบูญะอฺฟัรฺ มุฮัมมัด บิน ฮะซัน ฎูซีย์ มีฉายานามว่า เชคฏออิฟะฮฺ เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ ๔๖๐ พูดว่า คำพูดที่กล่าวว่า การเพิ่มเติม หรือการแต่งขึ้น ไม่ใช่ถ้อยคำที่มีในอัล-กุรอาน เนื่องจากบรรดามุสลิมทั้งหลายเห็นพร้องตรงกันว่า อัล-กุรอานนั้นบริสุทธิ์จากการเพิ่มเติมและการเปลี่ยนแปลง ส่วนเรื่องการเพิ่มเติม นิกายส่วนใหญ่ของอิสลามต่างไม่ยอมรับ คำพูดที่ว่าไม่มีการเพิ่มเติมนั้นเหมาะสมกับนิกายของเรา ซึ่งท่านซัยยิดมุรฺตะฎอ ยอมรับและสนับสนุนคำพูดนี้ ประกอบกับควมหมายทั่วไปของริวายะฮฺก็กล่าวเช่นนี้เหมือนกัน จะมีบางคนทั้งซุนนีและชีอะฮฺเท่านั้นที่พูดถึงริวายะฮฺ ที่กล่าวว่าอัล-กุรอานไม่สมบูรณ์ หรือพูดว่า โองการอัล-กุรอานได้สลับเปลี่ยนที่กัน ซึ่งริวายะฮฺเหล่านั้นเป็นริวายะฮฺประเภท คะบัรฺวาฮิด หมายถึงไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานทางวิชาการและการปฏิบัติได้ ดีกว่าให้ละทิ้งริวายะฮฺประเภทนี้
๕.๔ อบูอะลี ฏ่อบัรฺ ร่อซี เจ้าของตับซีรฺ มัจมะอุลบะยาน พูดว่า เรื่องการเพิ่มเติมความหมายของอัล-กุรอาน มุสลิมส่วนใหญ่มีทัศนะตรงกันว่าเป็นไปได้ ส่วนการเพิ่มโองการของอัล-กุรอานมีสาวกบางคนของชีอะฮฺ และนิกายหัชวียะฮฺจากอหฺลิซซุนนะฮฺได้กล่าวอ้างถึงริวายะฮฺเหล่านั้น ซึ่งสิ่งที่นิกายชีอะฮฺยอมรับและถือว่าเป็นสิ่งถูกต้องขัดแย้งกับความคิดเหล่านี้ๅ
๕.๕ อะลี บิน ฏอวูซ ฮิลลี มีฉายานามว่า ซัยยิดิบนิฏอวูซ เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ.ที่ ๖๖๔ พูดว่า ทัศนะของชีอะฮฺไม่ยอมรับว่าอัล-กุรอานได้ถูกเปลี่ยนแปลง
๕.๖ เชคซัยนุดดีน อามิลี เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ ๘๗๗ ได้อธิบายโองการ
إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّكْرَ وَإِنَّا لَهُ لَحَافِظُونَ
แท้จริงเราเป็นผู้ประทานอัล-กุรอานลงมา และเราจะเป็นผู้พิทักษ์มันอย่างแน่นอน
หมายถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นผู้ปกป้องรักษาอัล-กุรอานจากการเปลี่ยนแปลง การเพิ่มเติม และการตัดทอนด้วยพระองค์เอง
๕.๗ กอฎี ซัยยิด นูรุดดีน ตุสตะรีย์ เจ้าของตำรา อิห์กอกุลฮัก เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ ๑๐๑๙ พูดว่า คำพูดที่ใส่ร้ายชีอะฮฺอิมามียะฮฺว่า ชีอะฮฺมีความเชื่อว่าอัล-กุรอานถูกเปลี่ยนแปลงไม่เป็นที่ยอมรับของชีอะฮฺทั้งหลายเนื่องจากว่ามีชีอะฮฺบางคนเท่านั้นที่มีความเชื่อทำนองนี้ ชีอะฮฺส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับความคิดเหล่านี้ และไม่เคยสนใจกับคำพูดของเขา
๕.๘ มุฮัมมัด บิน ฮุเซน มีฉายานามว่า บะฮาอุดดีน อามีลี เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ ๑๐๓๐ พูดว่า สิ่งที่ถูกต้องคืออัล-กุรอานบริสุทธิ์จากการเปลี่ยนแปลงทั้งปวง และการที่มีบางคนพูดว่า นามของท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ถูกตัดออกจากอัล-กุรอานนั้นไม่เป็นที่ยอมรับของนักปราชญ์และผู้รู้ทั้งหลาย และบุคคลใดก็ตามที่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ และริวายะฮฺจะพบว่าอัล-กุรอานมีความมั่นคงในความถูกต้องด้วยกับการยืนยันของริวายะฮฺมุตะวาติรฺ และเหล่าบรรดาศ่อฮาบะฮฺอีกเป็นพันท่าน ซึ่งอัล-กุรอานนั้นได้ถูกรวบรวมตั้งแต่สมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)
๕.๙ เฟฎกาชานี เจ้าของตำรา อัล-วาฟีย์ เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ ๑๐๙๑ หลังจากได้อธิบายถึงโองการที่ว่า
إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّكْرَ وَإِنَّا لَهُ لَحَافِظُونَ
แท้จริงเราเป็นผู้ประทานอัล-กุรอานลงมา และเราจะเป็นผู้พิทักษ์มันอย่างแน่นอน พูดว่า ในสภาพเช่นนี้ เป็นไปได้อย่างไรที่อัล-กุรอานจะถูกเปลี่ยนแปลง หรื่อได้รับการเพิ่มเพติม หรือถูกตัดทอน ประกอบกับริวายะฮฺที่กล่าวว่าอัล-กุรอานถูกเปลี่ยนแปลงนั้นขัดแย้งกับอัล-กุรอาน ดังนั้นต้องถือว่าริวายะฮฺเหล่านั้นไม่ถูกต้อง อ่อนแอและไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานทางวิชาการหรือการปฏิบัติได้
๕.๑๐ เชคหูรฺ อามีลี เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ที่ ๑๑๐๔ พูดว่า ประวัติศาสตร์ และริวายะฮฺกล่าวว่า อัล-กุรอานมีความมั่นคงในความถูกต้องด้วยกับการยืนยันของริวายะฮฺมุตะวาติรฺ และเหล่าบรรดาศ่อฮาบะฮฺอีกเป็นพันท่าน ซึ่งอัล-กุรอานนั้นได้ถูกรวบรวมตั้งแต่สมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)
๕.๑๑ มุฮักกิก กาชิฟุลฆิฏออ์ ได้กล่าวไว้ในตำราที่มีชื่อเสียงของท่าน กัชฟุลฆิฏออ์ ว่า ไม่ต้องสงสัยอัล-กุรอานได้ถูกปกป้องรักษาให้บริสุทธิ์จากการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายโดยพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งอัล-กุรอานและนักปราชญ์ในทุกยุคทุกสมัยได้กล่าวยืนยันเอาไว้ และมีความคิดขัดแย้งกับกลุ่มชนที่เชื่อว่าอัล-กุรอานไม่สมบูรณ์ อีกทั้งไม่สนใจในคำพูดเหล่านั้น
๕.๑๒ ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ผู้นำการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านเกี่ยวกับเรื่องนี้ท่านได้พูดว่า บุคคลใดก็ตามที่รู้และเข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับการรวบรวมอัล-กุรอาน การปกป้องรักษา การบันทึก และการอ่าน แน่นอนเท่ากับเขาได้ยืนยันถึงความถูกต้องและเป็นการปฏิเสธการถูกเปลี่ยนแปลงของอัล-กุรอาน ส่วนริวายะฮฺที่ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของอัล-กุรอาน ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงได้ ประกอบกับเป็นริวายะฮฺที่ไม่เป็นที่รู้จักและบ่งชี้ถึงการถูกอุปโลกน์ขึ้นมา หรือความหมายโดยรวมของริวายะฮฺเหล่านั้น มีความหมายในเชิงของการตะอ์วีล และตับซีรฺอัล-กุรอานหรือความหมายอื่นๆ ฉะนั้นหากศึกษาประวัติศาสตร์ของอัล-กุรอานตลอดทุกศตวรรษที่ผ่านมาจะพบว่า อัล-กุรอานที่ถูกต้องคือฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วนที่มีการอ่านแตกต่างกันนั้น เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสมัยใหม่ไม่เกี่ยวข้องกับอัล-กุรอานที่ท่านญิบรออีลได้นำลงมาให้ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แม้แต่นิดเดียว
บทสรุป มุสลิมโดยทั่วไปทั้งซุนนี และชีอะฮฺมีความเชื่อว่าอัล-กุรอานที่อยู่ในมือของมุสลิมปัจจุบัน คือคัมภีร์ที่ถูกประทานลงมาที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ปราศจากการเปลี่ยนแปลงการเพิ่มเติม และการตัดทอน
จากคำอธิบายข้างต้นเป็นที่ชัดเจนว่า คำใส่ร้ายที่มีต่อชีอะฮฺ สามารถยุติได้และเป็นคำพูดที่ไม่มีมูลความจริง แต่ถ้าจะพูดว่าการอ้างถึงริวายะฮฺที่อ่อนแอเหล่านั้นมาจากชีอะฮฺโดยเฉพาะ เราขอปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริงเพราะมันไม่ได้มีขอบเขตจำกัดอยู่แค่ชีอะฮฺกลุ่มน้อย หากแต่ว่ามีนักตับซีรฺอัล-กุรอานฝ่ายอหฺลิซซุนนะฮฺบางท่านได้อ้างอิงถึงริวายะฮฺที่อ่อนแอเหล่านั้นอาทิเช่น
๑. อบูอับดุลลาฮฺ มุฮัมมัด บิน อหฺมัด อันศอรี กุรฺฎุบี ได้กล่าวถึงริวายะฮฺไว้ในตับซีรฺของตน โดยรายงานมาจาก อบูบักร์ อันบาซีย์ จาก อุบัย บินกะอฺบ์ว่า ซูเราะฮฺอะห์ซาบในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มีมากกว่าที่มีอยู่ ๗๓ โองการเท่ากับจำนวนโองการในซูเราะฮฺบะก่อเราะฮฺ (๒๘๖ โองการ) และโองการรัจม์ ก็อยู่ในซูเราะฮฺนี้ด้วย แต่ตอนนี้ไม่เห็นร่องรอยของโองการเหล่านั้นในซูเราะฮฺนี้อีกต่อไป
และในหนังสือเล่มดังกล่าวยังมีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺว่าซูเราะฮฺอหฺซาบในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มีจำนวน ๒๐๐ โองการแต่หลังจากได้รวบรวมเป็นเล่มแล้ว ฉันไม่เห็นโองการที่มีมากไปกว่านี้
๒. เจ้าของตำรา อัลอิตติกอน พูดว่า จำนวนซูเราะฮฺต่างๆ ในมุศฮับของอุบัยมีถึง ๑๑๖ ซูเราะฮฺซึ่งสองซูเราะฮฺที่ไม่ได้มีอยู่ในอัล-กุรอานปัจจุบันคือ ซูเราะฮฺหะฟะดะ และค่อละอะ
ขณะที่มุสลิมทุกคนทราบดีว่าอัล-กุรอานมีทั้งสิ้น ๑๑๔ ซูเราะฮฺ นามของซูเราะฮฺที่กล่าวไว้ในมุศฮับของท่านอุบัยนั้นไม่ได้ปรากฏในอัล-กุรอานฉบับปัจจุบัน
๓. ฮับตุลลอฮฺ บิน สลามะฮฺ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ นาซิควัลมันซูค โดยรายงานมาจากท่านอนัส บินมาลิก ซึ่งพูดว่า ในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ฉันได้อ่านอัล-กุรอานซูเราะฮฺหนึ่งที่มีความยาวเท่ากับซูเราะฮฺ อัต-เตาบะฮฺ และฉันได้ท่องจำโองการของซูเราะฮฺนั้นไว้เพียงโองการเดียวเท่านั้น ซึ่งโองการนั้นได้แก่
لَو اَنُّ لاِبًنِ آدُمُ وُا دِيَانِ مِنُ الذَّهُبِ لاَ تَبًغَي اِلَيًهِمُا ثًالِثًا وُلُوً اَنُّ لَه ثَالِثَا لاَ تَبًغَي اِلَيًهُا رُابِعَا وُلاَ يُمًلأ جُوًفُ اِبًنِ آدُمُ اِلاّ التُرُاب وُيُتُوب اللّه عُلَي مُنً تَابُ
ขณะที่มุสลิมทั้งหมดทราบดีว่าโองการดังกล่าวไม่มีอยู่ในอัล-กุรอาน และหากพิจารณาด้านวาทศิลป์ด้วยแล้วไม่เข้ากับวาทศิลป์ของอัล-กุรอานแม้แต่นิดเดียว
๔. ญะลาลุดดีน ซุยูฏีย์ ได้บันทึกไว้ในตับซีรฺ อัดดุรุลมันษูรฺ โดยรายงานมาจากท่าน อุมัรฺ บิน คัฏฏอบว่า ซูเราะฮฺอะห์ซาบมีความยาวเท่ากับซูเราะฮฺบะก่อเราะฮฺ และในนั้นมีโองการ รัจม์ อยู่ด้วย
ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่ามีผู้รู้ส่วนน้อยทั้งซุนนีและชีอะฮฺได้รายงานริวายะฮฺที่อ่อนที่กล่าวว่าอัล-กุรอานถูกเปลี่ยนแปลง ซึ่งริวายะฮฺเหล่านี้มีผู้รู้และนักปราชญ์ทั้งซุนนีและชีอะฮฺส่วนมากไม่ยอมรับ ทว่าโองการ และริวายะฮฺที่ถูกต้อง และมุตะวาติรฺของอิสลาม ประกอบกับบรรดาศ่อฮาบะฮฺจำนวนเป็นพันท่าน และนักปราชญ์ของอิสลามส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า อัล-กุรอานฉบับปัจจุบันไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลง ไม่ได้มีการเพิ่ม หรือลดจำนวนโองการแต่อย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้สนับสนุน