การรวมสามวิธีข้างต้นเข้าด้วยกัน
การรวมทั้งสามวิธีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คือ หนทางแห่งปัญญา หนทางแห่งการทำจิตใจให้บริสุทธิ์ และหนทางแห่งการยอมจำนนต่อการเป็นบ่าวด้วยกับความศรัทธา มีทั้งความเป็นไปได้ และเป็นไปแล้ว คือ มนุษย์สามารถเดินไปได้ด้วยกับการนำเอาหลักเหตุผล ซึ่งอัลกุรอานเองได้ยืนยันเรื่องนี้ไว้อย่างแจ้งชัด และการนำเอาความประจักษ์แจ้งแห่งศาสนา และหลักแห่งการทำใจให้บริสุทธิ์ มาใช้ในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จากความเชื่อมั่นหนึ่งซึ่งพระองค์อัลลอฮ (ซบ.) ทรงประทานมาแก่ท่านนบีอิบรอฮีม (อ.) ซึ่งเป็นความเชื่อมั่นที่มิได้มาด้วยกับการเรียนรู้ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ในวัยเยาว์ท่านนบีอิบรอฮีม (อ.) ได้ใช้ชีวิตอยู่เพียงในถ้ำ และเมื่อท่านเติบใหญ่ท่านจึงออกมาสู่โลกภายนอกถ้ำ ดังที่พระองค์อัลลอฮทรงตรัสไว้ในซูเราะห์อันอาม อายะห์ที่ 57 ความว่า และเช่นนั้นเอง เราทำให้อิบรอฮีมมองเห็นอาณาจักรแห่งชั้นฟ้าและแผ่นดิน และเพื่อเขาจะได้เป็นผู้หนึ่งจากบรรดาผู้มีความเชื่อมั่นแท้จริง เช่นเดียวกันพระองค์อัลลอฮ (ซ.บ.) ทรงชี้นำเราด้วยวิธีนี้ดังในซูเราะห์อะรอฟ อายะห์ที่ 185 ความว่า : และพวกเขาไม่พิจารณาดอกหรือในอาณาจักรแห่งชั้นฟ้าและแผ่นดิน จากอายะห์ดังกล่าวจะเห็นว่าพระองค์อัลลอฮ (ซบ.) ไม่เพียงแต่ชี้นำพวกเราเท่านั้น แต่พระองค์ยังทรงตำหนิพวกเราอีกด้วยว่า ทำไมพวกท่านจึงไม่เดินทางและไม่พิจารณา ดังนั้นยังมีอีกหนทางหนึ่งก็คือ การเดินทาง ซึ่งพระองค์ทรงตรัสกับมวลมนุษย์ว่า หากพวกเจ้าเดินไปข้างหน้าอีกนิดก็จะเป็นสถานที่ที่ปัจจุบันเจ้ากำลังนั่งอยู่ นั่นก็คือ นรกญะฮันนัม และเจ้าก็จะได้เห็นผู้ที่พำนักอยู่ในนั้น ดังอายะห์กุรอานที่ว่า หามิได้ หากพวกเจ้ารู้อย่างมั่นใจ แน่นอนพวกเจ้าก็จะได้เห็นไฟนรกอันลุกโชน (ซูเราะห์อัตตะกาซุร อายะห์ที่ 5-6)
ต่อไปนี้เราจะมาพิจารณาว่า พวกเขากล่าวอย่างไรเกี่ยวกับอายะห์นี้ พวกเขากล่าวว่าใน 2 ประโยคดังกล่าว มีสิ่ง ๆ หนึ่งถูกตัดออกไป สิ่งนั้นคือ อามั้ลที่ซอลิฮห์ คือ หามิได้ หากพวกเจ้ารู้อย่างมั่นใจ ดังเช่น อามั้ลที่ซอลิห์ ดังนั้นถ้าพวกเจ้ามีข้อสงสัย พวกเจ้าก็จะได้เห็นไฟนรกอย่างแน่นอน และถ้าหากเกิดความสงสัยขึ้นกับทุก ๆ คน ดังนั้นทุก ๆ คนก็คือชาวนรกอย่างแน่นอน ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นชาวกาเฟรหรือไม่ใช่กาเฟรก็ตาม และไม่จำเป็นที่จะกล่าวอีกแล้วว่า ถ้าพวกเจ้ารู้อย่างมั่นใจ พวกเจ้าก็จะได้เห็นไฟนรกอันลุกโชน ทำไมพวกเขาจึงกล่าวว่าในอายะห์ข้างต้นมีสิ่งหนึ่งถูกตัดออกไป ? เนื่องจากเชื่อกันว่ามีบางสิ่งเป็นตัวเชื่อมท้ายประโยค ((หากพวกเจ้ารู้อย่างมั่นใจ)) ซึ่งเป็นคำที่ไม่คล้องจองกับประโยคต่อไป และมีคำหนึ่งที่เชื่อมหน้าประโยค ((แน่นอนพวกเจ้าก็จะได้เห็นไฟนรกอันลุกโชน)) ซึ่งคำดังกล่าวไม่คล้องจองกับประโยคนี้เช่นกัน ทำไมเราจึงประสบกับอายะห์ดังกล่าวที่ว่า หามิได้ หากพวกเจ้ารู้อย่างมั่นใจ/แน่อนพวกเจ้าก็จะได้เห็นไฟนรกอันลุกโชน/หลังจากนั้น แท้จริงพวกเจ้าจะถูกสอบถามในวันนั้นถึงสุข (ที่เคยได้รับในสากลโลก) เนื่องจากอายะห์ดังกล่าวต้องการแสดงให้เห็นว่า มีบุคคลกลุ่มหนึ่งได้เห็นมันแล้ว และนี่คือผลพวงของวิธีการก้าวไปข้างหน้า
ดังโองการอัลกุรอานที่กล่าวว่า اِنَّ هَذَا القُرآنَ يَهدِی لِلَّتِی هِیَ اَقوَمُ ซึ่งโองการนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของการรวมกันของทั้งสามวิธี ทำให้ไม่มีบุคคลใดหาข้ออ้างขึ้นมาได้ กลุ่มชนบางกลุ่มมิได้เป็นบุคคลในกลุ่มทำจิตใจให้บริสุทธิ์ สำหรับพวกเขาจึงเป็นเรื่องยาก ดังเช่นพวกเขาต้องรับประทานอาหารค่ำทุกวัน และต้องหลับนอนอย่างสม่ำเสมอ และต่างก็ละหมาดซุบฮิด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งสำหรับพวกเขาอะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด สำหรับกลุ่มบุคคลอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลางคืนรับประทานอาหารน้อย เพื่อให้ตนเองคล่องแคล่ว และทานอาหารเช้าเพียงเล็กน้อยเช่นกัน พวกเขาไม่ใช่บุคคลในกลุ่มที่ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ แต่บุคคลเหล่านี้ต่างเป็นผู้ที่เข้าใจทั้งสิ้น ซึ่งถ้าหากพวกเขามีความเข้าใจและรู้จักใช้สติปัญญาแล้วไซร้ พวกเขาก็คือผู้ที่ใช้หลักแห่งเหตุผล และมีบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่เป็นทั้งผู้อยู่ในกลุ่มผู้ใช้หลักแห่งเหตุผล และไม่อยู่ในกลุ่มผู้ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ แต่พวกเขาจัดอยู่ในกลุ่มของผู้ใช้หลักการแห่งเปลือกนอกแห่งศาสนา ซึ่งอัลกุรอานได้ชี้แนะหลักการดังกล่าวไว้กล่าวคือ ใช้หลักแห่งเปลือกนอกแห่งศาสนา และใช้หลักแห่งสติปัญญาและเหตุผล และใช้หลักแห่งการทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ดังอายะห์ที่ 69 ซูเราะห์อังกะบูต ความว่า และบรรดาผู้ต่อสู้ใน (วิถีทางของ) เรา แน่นอนเราจะชี้นำพวกเขาสู่แนวทางของเรา กล่าวคือ พระองค์ทรงเชื้อเชิญพวกเราโดยตรัสว่า หากพวกเราดำรงอยู่ในหนทางของพระองค์ พระองค์จะทรงชี้นำพวกเราสู่หนทางของพระองค์เช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น