ความยิ่งใหญ่ของกุรอาน 2

ความยิ่งใหญ่ของกุรอานในการนำเสนอเรื่องราวแขนงต่าง ๆ
มีอายะห์กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า : กุรอานคือสิ่งหนึ่งที่ถ้าประทานลงมายังภูเขา ภูเขาก็ไม่สามารถต้านทานไว้ได้ ความเป็นจริงก็คือว่า มนุษย์เวลาที่ประสบพบเจอในบางอายะห์ พวกเขาจะกลัวว่าอายะห์นั้นจะมีความหมายเป็นอย่างไร ? ถึงจะใช้ความพยายามอย่างไรก็ตามก็ไม่สามารถเข้าใจความหมายได้ ดังตัวอย่างที่จะขอยกมาดังนี้คือ : ในอัลกุรอานโองการที่กล่าวเกี่ยวกับเรื่องของภูเขา ความว่า : และพวกเขาจะถามเจ้าถึงเรื่องภูเขา ดังนั้นจงตอบพวกเขาไปเถิดว่า : องค์อภิบาลของฉันจะโปรยมันเป็นผุยผง และพระองค์ทรงปล่อยมันไว้เป็นพื้นที่อันเตียนโล่ง อีกทั้งราบเรียบ เจ้าไม่เห็นในนั้น (ภูเขา) ความลาดและความชัน (ซูเราะห์ตอฮา อายะห์ที่ 105) จากอายะห์ดังกล่าวทำให้เราทราบว่าพระองค์อัลลอฮทรงกล่าวกับท่านศาสดาว่าถ้าพวกเขาถามท่านศาสดาถึงเหตุการณ์ของวันกิยามัตว่าในวันนั้นภูเขาจะมีสภาพเป็นอย่างไร ก็ให้ท่านศาสดากล่าวตอบพวกเขาว่า : พระองค์อัลลอฮจะทรงทำให้ภูเขาแตกออกเป็นผุยผง และหน้าผาที่สูงชันจะราบเรียบเพราะการพังทลายของภูเขา และจะไม่มีความลาดเอียง ความสูงชันของแผ่นดินในวันนั้นเลย
ในโลกดุนยา มนุษย์อาจจะสามารถปิดบังความผิดบาปของตนไว้ได้ และสามารถเดินทางจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่งได้ หรือเดินทางจากหลาย ๆ เมืองไปยังอีกหลาย ๆ เมือง แต่ทว่าในวันกิยามัตจะไม่มีสถานที่ใดสำหรับเป็นที่กำบังและหลบซ่อน และไม่มีเนินเขา ภูเขา หรือชายเขา รวมทั้งไม่มีแม้กระทั่งกำแพงใด ๆ เลย : เจ้าไม่เห็นในนั้น (ภูเขา) ความลาด และความชัน (ของมันอีกต่อไป) หรือในอีกอายะห์หนึ่งคือ : ในวันที่บรรดาภูเขาจะมีสภาพประดุจดังขนสัตว์ที่ปลิวว่อน (ซูเราะห์อัลกอริอะห์ อายะห์ที่ 5) บรรดาภูเขาเหล่านี้มีความหนักหน่วงยิ่ง แต่เราได้ทำให้น้ำหนักของมันเบาประหนึ่งดังปุยนุ่น หรือดังอายะห์กุรอานที่ว่า : ในวันที่แผ่นดินและขุนเขาสั่นสะเทือนรุนแรง และภูเขาได้กลายมาเป็นกองทรายที่ไหลร่วน (ซูเราะห์มุซัมมิล อายะห์ที่ 14) ภูเขาเหล่านี้ล้วนมีน้ำหนักมากแต่จะกลายเป็นกองทรายซึ่งเมื่อพวกเราหยิบมันขึ้นมาแล้วมันจะไหลร่วงลงเป็นผุยผง ซึ่งเราจะทราบได้จากคำว่า کثيباَ مهيلاَ ซึ่งอายะห์ดังกล่าวเราสามารถเข้าใจได้อย่างชัดแจ้ง แต่ทว่าเมื่อมาถึงอายะห์ดังต่อไปนี้คือ และภูเขาทั้งหลายถูกเคลื่อนไป ดังนั้นมันจึงปรากฏเป็นภาพเงาลวงตา ภูเขาเหล่านั้นจะค่อย ๆ ถูกเคลื่อนไปจนกระทั่งกลายเป็นภาพเงาลวงตา จากประโยคดังกล่าวไม่มีใครสามารถเข้าใจได้ว่าความหมายของภูเขากลายเป็นภาพเงาลวงตานั้นคืออะไร ? คำว่า سراباَ มีความหมายว่า ไม่มีสิ่งใดเลย กล่าวคือ มนุษย์เมื่อมองจากระยะไกลจะเห็นว่ามีภูเขาอยู่เบื้องหน้า แต่เมื่อเข้าไปใกล้ ๆ แล้วปรากฏว่าภูเขามิได้มีอยู่ ณ ที่นั้นเลย

ความชัดแจ้งและความเป็นนัยยะของอัลกุรอาน
อัลกุรอานมี 2 ด้านด้วยกัน ด้านหนึ่งคือความเป็นภายนอก และอีกด้านหนึ่งคือความเป็นนัยยะ จากวจนะของท่านศาสดาที่ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ อัลกุรอานโดยรูปธรรมแล้วมีความงดงามอย่างถ่องแท้ และมีนามธรรมที่ลึกซึ้ง ดังจะเห็นได้จากคุตบะห์ที่ 17 ในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะห์ ความว่า จุดเด่นของคัมภีร์เล่มนี้คือ ความสวยงามด้านรูปธรรม และมีนามธรรมที่ล้ำลึก และถูกประทานมายังเราทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม เพื่อให้พวกเรารู้จักคิดพิจารณาไตร่ตรอง และแม้ระยะเวลาจะผ่านไปยาวนานสักเพียงใดก็ตาม หรือแม้กระทั่งนักตัฟซีรจะใช้ความคิดลึกซึ้งเพียงใดก็ตาม อัลกุรอานก็ไม่มีวันเสื่อมสลายหรือหมดสิ้นไปได้ ความลึกซึ้งภายในของอัลกุรอานเป็นตัวบังคับให้เราคิดอย่างลึกซึ้งถ่องแท้ แต่ไม่ใช้ความคิดที่มาจากพื้นฐานของการไม่ศรัทธา ซึ่งในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะห์ ในส่วนของ کلمات قصار ที่ 31 บันทึกไว้ว่า มีบุคคลหนึ่งถามท่านอิมามในเรื่องของการศรัทธา ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวตอบว่า รากฐานของอีหม่านมี 4 ประการด้วยกัน และท่านได้กล่าวถึงเรื่องการปฏิเสธไว้เช่นกันว่า والکفر علی اربع دعائم علی التعمق و التنازع و الزيغ و الشقاق ทำให้ประจักษ์ชัดว่า การใช้ความคิดที่ลึกซึ้งในสิ่งที่โง่เขลา เป็นความลึกซึ้งที่น่าประณาม แต่การใช้ ความคิดพิจารณาไตร่ตรองอัลกุรอานอย่างลึกซึ้งถือเป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญ


วิถีแห่งการชี้นำ (ฮิดายะห์) ของอัลกุรอาน
อัลกุรอานที่รูปภายนอกมีความสวยงาม และรูปภายในที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความลึกซึ้งจะนำทางมนุษย์ด้วยวิธีใดกันเล่า ? อัลกุรอานได้กล่าวถึงเรื่องการมิได้ถูกประทานลงมาเพื่อนำทางมนุษย์เพียงอย่างเดียว ดังอายะห์กุรอานที่ว่า : เดือนรอมฎอนซึ่งอัลกุรอานถูกประทานลงมาเพื่อเป็นสิ่งชี้นำแก่มวลมนุษยชาติ แต่ทว่าวิธีที่ดีที่สุดของการนำทางมนุษย์ที่อัลกุรอานมีอยู่นั้น คัมภีร์อื่นใดก็มิอาจเทียบเคียงอัลกุรอานได้ ดังอายะห์กุรอานที่ 9 ของซูเราะห์บะนีอิสรออีล ความว่า : แท้จริงอัลกุรอานนี้ ชี้นำทางอันเที่ยงตรงที่สุด ดังนั้นไม่มีคัมภีร์เล่มใดที่จะนำทางมนุษย์ได้ดีเท่าคัมภีร์อัลกุรอาน
อัลกุรอานได้กล่าวถึงวิธีการนำทางไว้อย่างมากมายดังนี้คือ
1. หลักแห่งเหตุผล : อัลกุรอานได้กล่าวถึงการใช้สติปัญญาในการไตร่ตรองไว้หลายต่อหลายหนด้วยกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอัลกุรอานสนับสนุนและให้ความสำคัญกับการใช้เหตุผลเป็นอย่างยิ่ง หรือแม้แต่อัลกุรอานเองได้ใช้หลักเหตุผลในการกล่าวกับมนุษย์ดังอายะห์ต่อไปนี้ ความว่า มาตรแม้นมีบรรดาพระเจ้านอกจากอัลลอฮร่วมใน (การบันดาล) ทั้งสอง (คือ ฟ้าและแผ่นดิน) แน่นอน มันทั้งสองต้องพินาศ (ซูเราะห์อัมบิยา อายะห์ที่ 22) และในอายะห์ที่ว่า : หรือว่าพวกเขาถูกบันดาลขึ้นมาโดยไม่มีผู้ใด (บันดาล) หรือว่าพวกท่านเป็นผู้บันดาลเสียเอง ? (ซูเราะห์อัตฎูร อายะห์ที่ 35)
วิธีหลักที่บรรดาศาสดานำมาใช้กับพวกดื้อรั้นในการพิสูจน์ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า คือ วิธีการใช้หลักเหตุและผล ซึ่งในอัลกุรอานได้บันทึกถึงหลักการทางเหตุและผลของบรรดาศาสดาในอดีตไว้ไม่น้อยเลย
2. การปฏิบัติตามหลักแห่งการศรัทธา เป็นอีกวิธีหนึ่งของการชี้นำทางของอัลกุรอาน มีบุคคลหลายท่านมาเข้าพบอิมามมะอ์ซูม (อ.) และซักถามถึงเรื่องราวของเอกองค์อัลลอฮ วันกิยามัติ และบรรดามลาอิกะห์ ซึ่งหลังจากการพิสูจน์และการแสดงปาฏิหาริย์ต่าง ๆ แล้ว พวกเขาต่างศรัทธาและยอมรับการเผยแพร่ศาสนาทั้งสิ้น
วิธีที่สองนี้เหมือนกับวิธีแรก กล่าวคือ ในเรื่องของศาสนาเมื่อใช้หลักความคิดทางปัญญาเป็นเครื่องพิสูจน์ถือว่าเพียงพอแล้ว และบรรดาผู้รู้ได้กล่าวไว้ตรงกันว่า คำสอนของบรรดามะอ์ซูม (อ.) สามารถวางไว้เป็นตัวกลางในการหาเหตุผลได้ เช่นเดียวกันกับที่นักวิชาการได้กล่าวว่า ((โลกเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้)) และ ((ทุก ๆ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่)) หรือในอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ((คำสอนนี้คือคำสอนของบรรดามะอ์ซูม (อ.)) และ ((ทุก ๆ สิ่งที่มะอ์ซูมได้สอนคือสัจธรรม)) คำสอนของบรรดามะอ์ซูมจึงสามารถนำมาเป็นตัวกลางในการหาเหตุผลได้ แต่ทว่าถ้าบุคคลใดก็ตามที่ได้ยินคำกล่าวจากมะอ์ซูมด้วยตนเองด้วยความมั่นใจว่าท่านคือ มะอ์ซูม จริง ๆ และคำพูดนี้คือคำพูดของท่าน และในการอรรถาธิบายตัวบทบัญญัติ ท่านก็ได้กล่าวถึงข้อตัดสินใจไว้อย่างชัดเจน เหตุผลของการตัดสินอย่างแน่ชัด ตลอดจนบ่งบอกอย่างชัดเจน คำพูดของบรรดามะอ์ซูมนี้สามารถกำหนดให้เป็นตัวกลางได้ แต่ทว่าบุคคลใดก็ตามที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในสมัยของบรรดามะอ์ซูม (อ.) และไม่มีสายรายงานที่เป็นมุตะวาติร และไม่มีสายรายงานที่ไม่ขาดตอน หรือมีข้อขัดแย้งกัน หากบุคคลดังกล่าวต้องการพิสูจน์เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยการอ้างอิงสายรายงาน และเขาไม่เป็นผู้เชี่ยวชาญประวัติผู้รายงานฮะดิษ เขาจะต้องรวบรวมทัศนะของอุละมาอ์กว่าร้อยท่านและค้นหาบทสรุปที่ถูกต้องจนกระทั่งสามารถเข้าใจถึงเรื่องดังกล่าวได้ ถ้าหากว่าริวายัตหนึ่งมี 5 ประโยคด้วยกัน และริวายัตนี้มาจากอิมามที่หก (อ.) จนกระทั่งมาถึงเราด้วยกับสายรายงานถึง 10 หรือ 20 สายรายงานด้วยกัน เราจะต้องพิสูจน์ถึงประโยคและสายรายงานอย่างถี่ถ้วนว่าปราศจากซึ่งข้อหลงลืมหรือตกหล่นใด ๆ และจะต้องไม่มีข้อผิดพลาด และสายรายงานจะต้องไม่เป็นผู้ที่หลงลืม ไม่เช่นนั้นแล้วริวายัตดังกล่าวจะถือเป็นข้อสงสัย และจัดอยู่ในระดับอันตราย แต่ถ้าริวายัตดังกล่าวเป็นไปในเชิงวิชาการถือว่าเป็นฮุจยัต และจะต้องปฏิบัติตาม แต่ถ้าหากว่าริวายัตดังกล่าวเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักการศรัทธาแล้วไซร้จะต้องปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ซึ่งทุก ๆ สิ่งที่ถูกสร้างไว้ในฮะดิษซะกอลัย คือ ลูกหลานต่างหากที่อยู่เคียงข้างอัลกุรอาน ไม่ใช่ริวายัต กล่าวคือ ในฮะดิษซะกอลัยมิได้กล่าวว่า ริวายัตเคียงข้างอัลกุรอาน แต่ทว่าฮะดิษซะกอลัยได้กล่าวว่า ลูกหลานและอัลกุรอาน และริวายัตแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ริวายัตที่ถูกกุขึ้น และริวายัตที่ถูกต้อง แต่ทว่าลูกหลาน (อะห์ลิลบัยต์) ล้วนเป็นแสงสว่างทั้งสิ้น ดังคำกล่าวที่ว่าสุนทโรวาทของท่านคือรัศมี เนื่องจากริวายัตมีการปลอมขึ้นได้ แต่อัลกุรอานปราศจากการปลอมแปลงใด ๆ ดังนั้นริวายัตไม่สามารถอยู่เคียงข้างอัลกุรอานได้ ลูกหลานต่างหาเล่าที่อยู่เคียงข้างอัลกุรอาน
สรุปได้ว่า เรากล่าวถึงวิธีการนำทางมาแล้วถึง 2 วิธีด้วยกันคือ 1. วีการใช้หลักเหตุผล 2. วิธีการใช้หลักแห่งการศรัทธา
3. การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ : ถ้าบุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่ต้องการศึกษาหาความรู้ หรือไม่มีโอกาสที่จะศึกษาหาความรู้ ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วจะมีทางใดหรือไม่ที่จะรู้จักความเป็นสัจธรรม ? อัลกุรอานได้กล่าวถึงหนทางแห่งการฮิดายัตด้วยวิธีของการทำจิตใจให้บริสุทธิ์ แต่ทว่าการทำจิตใจให้บริสุทธิ์ พระองค์อัลลอฮ (ซบ.) จะเป็นผู้กำหนดวิธีการดังกล่าว ดังอายะห์กุรอานที่ว่า : และเจ้าจงนมัสการองค์อภิบาลของเจ้าจนกว่าความมั่นใจจะมาประสบแก่ตัวเจ้า (ซูเราะห์ฮิจร์ อายะห์ที่ 99) เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า หลักแห่งเหตุผลสามารถสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกันหลักแห่งการปฏิบัติก็สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดได้เช่นกัน เวลาที่คนเราทำการอิบาดะห์นั้นก็เพราะว่าเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และให้พ้นจากการเผาไหม้ของไฟนรกก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ในบางครั้งการปฏิบัติอิบาดะห์ก็เพื่อที่จะให้ได้รับสวงสวรรค์ เพราะว่าเวลาที่คนเราจะอ่านดุอาอ์ต่างก็จะเปิดดูผลบุญของมันว่าดุอาใดมีผลบุญมากที่สุดในด้านการประทานสวงสวรรค์ และเราก็จะเลือกอ่านดุอานั้นกัน หรือในบางครั้งการปฏิบัติอิบาดะห์ไม่ใช่เพื่อให้รอดพ้นจากไฟนรก และไม่ได้ปฏิบัติเพื่อแสวงหาสวงสรรค์ แต่ทว่าการปฏิบัติอิบาดะห์เพื่อขจัดม่านกำบังต่าง ๆ เพื่อให้เห็นถึงผู้ที่เราให้ความเคารพศักดิ์การะ และเพื่อให้พบสัจธรรมแห่งพระองค์ อย่างเช่น ท่านฮาริษ บิน มาลิก
สำหรับอายะห์ที่ว่า และเจ้าจงนมัสการองค์อภิบาลของเจ้า จนกระทั่งความมั่นใจจะมาประสบแก่ตัวเจ้า ในอายะห์นี้มีการกำหนดหนทางของการทำใจให้บริสุทธิ์ และกำหนดผลลัพธ์ของมันไว้อย่างชัดเจน คำว่า حتی ในอายะห์นี้เป็น حتی ที่ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ ไม่ใช่ حتی تحديد ซึ่งมิได้หมายความว่า จงทำอิบาดะห์เถิด จนกระทั่งความมั่นใจมาประสบยังเจ้า และถ้าความมั่นใจมาประสบแล้วก็จงออกห่างจากมันเถิด เนื่องจากถ้าออกห่างจากการทำอิบาดะห์แล้วก็จะทำให้ท่านนั้นตกต่ำลง ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการให้มือของเราเอื้อมถึงสวิตช์ไฟฟ้า เราก็จะต้องปีนบันไดขึ้นไปข้างบน จนกระทั่งมือของเราแตะถึงสวิตช์ไฟฟ้าได้ หากบุคคลใดก็ตามที่ไต่บันไดขึ้นไปข้างบนแล้วพูดขึ้นว่า บันไดนี้คืออะไร การกล่าวหรือการไม่กล่าวอะไรก็ไม่ต่างอะไรกัน ถ้ามีคนหนึ่งคนใดบอกให้เราขึ้นบันไดไปข้างบนจนกว่ามือจะไปแตะกับเพดาน และเมื่อมือแตะถึงเพดานแล้วก็ให้ปล่อยมือจากบันได ไม่เช่นนั้นเขาจะตกลง
ดังนั้นคำว่า حتی ไม่ใช่เป็น حتی แสดงปริมาณและขอบเขต แต่ทว่าเป็น حتی ที่แสดงประโยชน์ที่จะได้รับ กล่าวคือ ประโยชน์ที่ได้รับจากลำดับขั้นของการทำอิบาดะห์ คือการค้นพบความมั่นใจ ดังอายะห์กุรอานที่ว่า فاذا اتاک اليقين فاقم العباده و حسنها و اتمها اکملها ถ้าเจ้าประสบกับความมั่นใจแล้วให้เจ้าปฏิบัติอามั้ลอิบาดะห์ให้ดียิ่งขึ้น การปฏิบัติอามั้ลอิบาดะห์นี้ คือ แนวทางของท่านฮาริษ บิน มาลิก ซึ่งไม่ควรกล่าวว่า แนวทางของการปฏิบัติอามั้ลอิบาดะห์เป็นแนวทางที่มาจากบรรดามะอ์ซูม (อ.) เท่านั้น เนื่องจากท่านฮาริษ บิน มาลิก เป็นมนุษย์ธรรมดาที่เรียนรู้และนำเอาแนวทางของบรรดามะอ์ซูม (อ.) มาปฏิบัติ ดังมีสายรายงานว่า قلب المومن عرش الرحمن โดยมีเงื่อนไขมาประกอบคือ หัวใจจะต้องไม่มีความอาฆาตแค้นใด ๆ อยู่เลย และหัวใจนี้จะต้องไม่เป็นหัวใจที่เปี่ยมล้นไปด้วยความลุ่มหลงในโลกดุนยา ท่านอิมามอะลี (อ.) มีความอับอายต่อบุคคลที่มีหัวใจยึดติดกับดุนยามากมายสักเพียงใด และไม่มีใครในบรรดาประชาชาติอิสลามที่จะเทียบเท่าท่าน ที่ทำให้โลกดุนยาไร้ซึ่งความสำคัญใด ๆ และท่านยังกล่าวตักเตือนบรรดาผู้ลุ่มหลงในดุนยาโดยทางอ้อมว่า ไม่ควรให้ความสำคัญกับโลกดุนยามากนัก
ถ้าทำการศึกษานะฮ์ญุลบะลาเฆาะสักหนึ่งจบ และสังเกตการณ์เปรียบเทียบของท่านอิมามอะลี (อ.) ในเรื่องของดุนยา จะพบว่า บางครั้งท่านอิมามได้เปรียบเทียบโลกดุนยากับกระดูกหมูที่อยู่ในมือของผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อน และในบางครั้งท่านเปรียบโลกดุนยาดังการจามทางจมูก หรือเปรียบดุนยาดังกระดาษที่อยู่ในปากของตั๊กแตน ท่านอิมามทำให้โลกดุนยานั้นต่ำค่าดังคำกล่าวตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งไม่มีประชาชาติอิสลามใดในโลกที่ทำได้อย่างท่าน
จากนะฮ์ญุลบะลาเฆาะห์ ส่วนของ کلمات قصار ที่ 367 ความว่า يا ايهاالناس متاع الدنيا حطام موبيئ เมื่อฤดูใบไม้ร่วงมาเยือน บรรดากิ่งก้านและใบของต้นไม้ต่างเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วงหล่น หลังจากนั้นก็จะแห้งและสูญสลายไป นี่คือความหมายของคำว่า حطام ซึ่งเมื่อมีคำว่า موبی อยู่ในประโยคก็จะหมายถึง
หนึ่ง : حطام คือดุนยาสำหรับบุคคลที่ยังไม่ได้รับการเบ่งบาน เปรียบเสมือนฤดูใบไม้ร่วงตลอดกาล และกิ่งก้านสาขาของเขาคือ حطام เช่นกัน เมื่อนำมือมาเขย่าที่ลำต้น ใบก็จะร่วงหล่นลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้สนับสนุน