ความยิ่งใหญ่ของอัลกุรอาน 1

لَواَنزَلنا هذا القُرآنَ علی جَبَلٍ لَرَاَيتَهُ خَاشِعاً مُتَصَدِّعاً مِن خَشيَةِ اللهِ وَ تِلکَ الاَمثالَ نَضرِبُها لِلناَسِ لَعَلَّهُم يَتَفَکَّرُونَ

มาตรแม้นเราได้ลงอัลกุรอานนี้มายังภูเขา แน่นอนเจ้าก็จะเห็นมันนอบน้อม และแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ เพราะความยำเกรงอัลลอฮ และอุทาหรณ์เหล่านั้น เรายกมาแสดงแก่มนุษย์เพื่อพวกเขาจักได้ตริตรอง (ซูเราะห์ฮัชร์ อายะห์ที่ 21)
ความยิ่งใหญ่นี้เป็นความยิ่งใหญ่ในเรื่องของการทำความรู้จักอัลกุรอาน ด้านความสำคัญและความยิ่งใหญ่ และในเรื่องของความยิ่งใหญ่นั้นก็คือ ทุก ๆ คำของอัลกุรอานนั้นแสดงถึงความยิ่งใหญ่และความเกรียงไกรของผู้ที่ตรัสมัน ดังจะเห็นได้จากอายะห์ข้างต้นที่ได้กล่าวในเรื่องนี้ไว้อย่างงดงาม และยังมีอีก 3 อายะห์ที่จะกล่าวต่อไปที่ได้อรรถาธิบายไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้

ความหมายของคำว่าแตกเป็นเสี่ยง ๆ ของภูเขา
ความหมายของอายะห์ข้างต้น คือ ถ้าอัลกุรอานถูกประทานลงมาบนภูเขา เราจะเห็นได้ว่าภูเขานั้นจะต้องแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ คำว่า متلاشی ไม่ได้มาจากรากศัพท์ของคำว่า شيئ ای ซึ่งก็คือคำว่า لاشيئ นั่นเอง เนื่องจากคำดังกล่าวมิได้มาจากรากศัพท์ของกริยา تفاعل เนื่องจากต้องเป็นรากศัพท์มาจากพยัญชนะสามตัว ซึ่งก็ไม่ใช่จาก تلاشی، يتلاشی ดังนั้นรากศัพท์ของคำดังกล่าว ก็คือ لايشيئ และคำว่า لايشيئ นี้ก็มาจากรากศัพท์ของกริยา تفاعل ซึ่งก็คือ متلاشی และนั่นก็คือคำว่า لاشيئ และจากประโยคที่ว่า لرايته خاشعا متصدعا หมายถึง متلاشی แล้วทำไมต้อง متلاشی (แตกเป็นเสี่ยง ๆ) ด้วย ? ทำไมพระองค์อัลลอฮไม่ใช้คำว่า من خشيتنا แต่ดำรัสว่า من خشيه الله จากการเลือกคำที่เอ่ยถึงบุรุษที่สามมาใช้นั้น เพื่อที่จะเน้นย้ำถึงเหตุผลของฮุก่มนี้ ดังนั้นที่มาของกฎดังกล่าวคือ อายะห์ที่ว่า لو انزلنا هذا القرآن علی جبال خاشعا متصدعا ทำไมพระองค์อัลลอฮ (ซบ.)ไม่ใช้คำว่า من خشتنا แต่ใช้คำว่า من خشيه الله เนื่องจาก الله เป็นผู้ดำรัส ซึ่งสรรพสิ่งใด ๆ ก็ไม่สามารถที่จะต้านทานคำดำรัสของพระองค์ไว้ได้ ดังจะเห็นได้จาก 3 อายะห์ดังที่จะกล่าวต่อไป ซึ่งเป็นอายะห์ที่กล่าวเกี่ยวกับพระนามของพระองค์ ดังนี้คือ
- พระองค์คืออัลลอฮ พระผู้ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ (ซูเราะห์ฮัชร์ อายะห์ที่ 22)
- พระองค์คืออัลลอฮ ทรงเป็นพระเจ้า ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ (ซูเราะห์ฮัชร์ อายะห์ที่ 23)
- พระองค์อัลลอฮทรงบันดาล ทรงประดิษฐ์ (ซูเราะห์ฮัชร์ อายะห์ที่ 24)
จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 อายะห์ข้างต้นถูกประทานลงมาอย่างต่อเนื่องกัน และเป็นโองการที่กล่าวถึงพระนามอันเจิดจรัสขององค์ผู้ดำรัส ดังนั้นถ้าหากผู้ดำรัสเป็นผู้ยิ่งใหญ่แล้วไซร้ คำดำรัสของพระองค์ก็ต้องยิ่งใหญ่เช่นกัน และคำดำรัสของพระองค์ยิ่งใหญ่เสียจนกระทั่งภูเขาก็ไม่อาจต้านทานไว้ได้

ในที่นี้ คำว่า خشيت มิได้หมายถึง خوف (ความกลัว) และระหว่างคำว่า خشيت กับคำว่า خوف มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ خشيت เป็นความเกรงกลัวที่มีผลต่อจิตใจ แต่คำว่า خوف มิได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากบรรดาผู้ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าจะยำเกรง (خشيت)ต่อพระองค์เท่านั้น พวกเขาจะไม่ยำเกรงสิ่งอื่นใดที่นอกเหนือจากพระองค์ แต่บรรดาผู้ศรัทธาในพระเจ้าก็จะเหมือนกับบุคคลอื่นทั่วไปที่มีความกลัว (خوف)ต่อพยันอันตรายต่าง ๆ อาทิ งู แมงป่อง แมลงสัตว์กัดต่อยต่าง ๆ และสัตว์ที่ล่าเหยื่อเป็นอาหาร ตลอดจนอันตรายที่เกิดจากยวดยานพาหนะ แต่ทว่าพวกเขาไม่ยำเกรง (خشيت) สิ่งอื่นใดนอกจากพระองค์ กล่าวคือ خوف เป็นความกลัวที่มีผลมาจากการกระทำ แต่ทว่า خشيت เป็นความเกรงกลัวที่มีผลมาจากการที่มนุษย์รู้ถึงต้นตอของสิ่งนั้นจึงเกิดความยำเกรงสิ่งนั้นขึ้น ซึ่งในที่นี้คือความยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ (ซบ.) และอาจเป็นความเกรงกลัว خشيت ที่ควบคู่กับจิตใต้สำนึก ดังนั้นแสดงให้เห็นแล้วว่าภูเขาก็มีจิตใต้สำนึกเช่นกัน เพื่อเป็นการพิสูจน์จิตใต้สำนึกของภูเขาสามารถนำเหตุผลมาอ้างอิงได้ดังนี้คือ
เหตุผลแรกคือ จิตใต้สำนึกทั่ว ๆ ไป ซึ่งพระองค์อัลลอฮ (ซบ.)ทรงพิสูจน์ให้ทุก ๆ สรรพสิ่งได้เห็น คือ และเฉพาะต่อพระองค์เท่านั้นได้ยอมสวามิภักดิ์โดยผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้า (ซูเราะห์อาลิอิมรอน อายะห์ที่ 83) และอายะห์กุรอานซูเราะห์นะฮ์ล อายะห์ที่ 49 ความว่า และสรรพสิ่งในฟากฟ้าต่างกราบกรานต่ออัลลอฮ และในซูเราะห์ฮัชร์ อายะห์ที่ 24 ความว่า สรรพสิ่งในฟากฟ้าต่างกล่าวสดุดีแด่พระองค์ และในซูเราะห์ฟุซซิลัต อายะห์ที่ 11 ความว่า แล้วพระองค์ก็ทรงตรัสแก่มันและแก่แผ่นดินว่า “เจ้าทั้งสองจงดำเนิน (ตามบัญชาของข้า) เถิด ! ทั้งโดยสมัครใจหรือโดยฝ่าฝืนก็ตาม อายะห์กุรอานข้างต้นแสดงให้เห็นถึงเรื่องของจิตใต้สำนึกโดยทั่วไป
สำหรับเรื่องเกี่ยวกับภูเขาที่มีในซูเราะห์ซอดและซูเราะห์อื่น ๆ เป็นคำบัญชาของพระองค์อัลลอฮที่มีต่อภูเขาเพื่อให้พวกมันทำตามนบีดาวูด ซึ่งพวกมันก็เข้าใจและกล่าวสดุดีดังคำบัญชาของพระองค์ ดังในอายะห์ที่ 16 ซูเราะห์ซอด ความว่า แท้จริงเราได้อำนวยภูเขาต่าง ๆ พร้อมกับเขาให้ทำการกล่าวสดุดีพระบริสุทธิคุณทั้งในยามเย็นและยามเช้า และในซูเราะห์สะบะอ์ อายะห์ที่ 10 ความว่า โอ้ภูเขา เจ้าจงกล่าวตัสบีห์พร้อมกับเขา การที่พระองค์อัลลอฮตรัสว่า แท้จริงเราได้ให้ความโปรดปรานแก่ดาวูดโดยบัญชาให้ภูเขากล่าวตัสบีห์พร้อมกับเขาทั้งในยามเช้าและยามเย็น เหมือนดังเช่นการละหมาดญะมาอัตของบรรดามะอ์มูมที่ปฏิบัติตามอิมามของพวกเขา

มนุษย์เป็นผู้มีเกียรติกว่าหรือสรรพสิ่งอื่นมีเกียรติกว่า ?
อัลกุรอานมีคำอรรถาธิบายหนึ่งในเรื่องความยิ่งใหญ่ของมนุษย์ที่เหนือกว่าสรรพสิ่งถูกสร้างอื่น ๆ อาทิ ฟากฟ้า แผ่นดิน และภูเขา เช่นเดียวกันอัลกุรอานก็มีคำอธิบายอื่น ๆ ที่ตรงกันข้ามกับคำอรรถาธิบายข้างต้นด้วย และในบางครั้งอัลกุรอานได้กล่าวถึงบุคคลกลุ่มหนึ่งว่า พวกท่านหรือที่เป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าหรือฟากฟ้ากันเล่าที่ยิ่งใหญ่กว่า ? แท้จริงแล้ว ฟากฟ้าต่างหากเล่าที่ยิ่งใหญ่กว่าพวกท่าน ดังอายะห์กุรอานซูเราะห์อันนาซิอาต อายะห์ที่ 27 ความว่า พวกเจ้ามีกำเนิด (ทางกายภาพ) ที่แข็งแรงกว่า หรือว่าฟากฟ้า (แข็งแรงกว่า) พระองค์ได้สร้างสิ่งนั้นขึ้นมา (ทั้ง ๆ ที่แข็งแรงกว่าพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าที่อ่อนแอกว่า ก็ยิ่งไม่มีข้อน่าสงสัยใด ๆ) ซึ่งอายะห์กุรอานทั้งสองกลุ่มที่กล่าวมาข้างต้นนี้ มีความหมายตรงข้ามกัน หรือกล่าวได้อีกแง่มุมหนึ่งคือ มีอายะห์กุรอานกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า มนุษย์สามารถทำในสิ่งที่ฟากฟ้าทำไม่ได้ ดังนั้นแผ่นดินและภูเขาก็ทำไม่ได้เช่นกัน
ดังในซูเราะห์อะห์ซาบ อายะห์ที่ 72 ความว่า แท้จริงเราได้เสนอ (คุณลักษณะแห่ง) ความซื่อสัตย์ให้แก่ฟากฟ้า แผ่นดิน และภูเขา (ให้รับผิดชอบ) แต่พวกมันขัดขืนที่จะรับผิดชอบสิ่งนั้น และพวกมันมีความหวั่นกลัวสิ่งนั้น (เหลือเกิน) แต่มนุษย์กลับรับมันไว้ แท้จริงเขาเป็นผู้อธรรมยิ่ง อีกทั้งโฉดเขลานัก (จึงไม่สามารถรับผิดชอบความซื่อสัตย์ไว้ได้อย่างแท้จริง) และยังมีอีกหลายอายะห์ที่คล้ายกันนี้ ดังนั้นอายะห์ดังกล่าวเป็นอายะห์ที่กล่าวถึงความสามารถของมนุษย์ในการทำสิ่งต่าง ๆ ที่ฟากฟ้าและแผ่นดิน ตลอดจนภูเขาทำไม่ได้ ซึ่งก็หมายความถึงว่ามนุษย์นั้นยิ่งใหญ่กว่าฟากฟ้าและแผ่นดิน
นอกจากนี้ยังมีอายะห์อื่น ๆ ที่กล่าวถึงฟากฟ้า แผ่นดิน และภูเขาในอีกแง่มุมหนึ่งที่ว่า ฟากฟ้า แผ่นดินและภูเขาต่างหากเล่าที่แข็งแรงกว่ามนุษย์ ซึ่งอายะห์กุรอานทั้งสองกลุ่มนี้มีความเกี่ยวข้องกัน ดังจะเห็นได้จากคำชี้แนะของลุกมานที่มีต่อบุตรของเขา ในซูเราะห์บะนีอิสรออีล อายะห์ที่ 37 ความว่า เจ้าไม่อาจแยกแผ่นดินออกได้ และเจ้าไม่อาจทำตัวให้สูงเท่าเทียมกับภูเขาได้หรอก และในซูเราะห์มุอ์มิน อายะห์ที่ 57 ความว่า แท้จริงการบันดาลฟากฟ้าและแผ่นดินนั้น ย่อมยิ่งใหญ่กว่าการบันดาลมนุษย์ (มากมายนัก) แต่ทว่ามนุษย์ส่วนมากไม่รู้ ดังนั้นหากฟากฟ้าและแผ่นดินยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์ และถ้ามนุษย์ต่ำต้อยกว่าฟากฟ้า และแผ่นดินแล้วไซร้ ทำไมฟากฟ้าจึงไม่สามารถรับผิดชอบสิ่งนั้นไว้ได้ ?
เช่นเดียวกันในซูเราะห์อัลนาซิอาต อายะห์ที่ 27-29 ความว่า พวกเจ้ามีกำเนิดที่แข็งแรงกว่า หรือว่าฟากฟ้า (แข็งแรงกว่า) พระเจ้าได้สร้างสิ่งนั้นมา (ทั้ง ๆ ที่แข็งแรงกว่าพวกเจ้า) / การสร้าง (ฟากฟ้า) นั้น พระองค์ได้ทรงยกส่วนหนา (อันประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ นับแต่ชื่อบรรยากาศ จนถึงขั้นสุญญากาศ และสูงขึ้นไป) ให้สูง แล้วทรงจัดระบบของมันอย่างสมดุล / และทรงให้กลางคืนของมันมืด และให้กลางวันของมันออกมา (ด้วยแสงของดวงอาทิตย์) ดังนั้นอายะห์กุรอานกลุ่มนี้ได้กล่าวไว้ว่า ฟากฟ้าและแผ่นดินสูงส่งกว่ามนุษย์
สำหรับอายะห์กุรอานอีกกลุ่มหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า มนุษย์สามารถทำในทุกสิ่งที่ฟากฟ้าและแผ่นดินไม่สามารถทำได้
หนทางแห่งการรวมอายะห์กุรอานสองกลุ่มนี้เข้าด้วยกัน คือ ถ้าหากว่า มนุษย์ ปราศจากวิญญาณ ศาสนา และสติปัญญาแล้วไซร้ ก็จะหมายถึงร่างกายที่เป็นรูปธรรมตามความเชื่อของบรรดาผู้ปฏิเสธและบรรดาผู้กลับกลอก ดังอายะห์กุรอานที่ว่า : การมีชีวิตจะไม่มี (หลายครั้งเป็นเด็ดขาด) นอกจากชีวิตของเราในโลกนี้เท่านั้น เราตายและเราเป็น (ซูเราะห์มุอ์มินูน อายะห์ที่ 37) และในอีกอายะห์หนึ่งความว่า : ไม่มีชีวิตอื่นใด นอกจากชีวิตของเราที่มีอยู่ในโลกนี้ เราตาย เรามีชีวิต และไม่มีสิ่งใดทำลายเราได้ นอกจากกาลเวลาเท่านั้น (ซูเราะห์ญาซิยะห์ อายะห์ที่ 24) จากทัศนะดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงขีดจำกัดของวัตถุที่มีต่อวะห์ยู ดังนั้นมนุษย์เช่นนี้คือมนุษย์ที่ไร้ซึ่งสติปัญญา และมนุษย์ที่ ไร้สติปัญญานี้ก็คือวัตถุนั่นเอง
สำหรับเรื่องของแผ่นดิน ภูเขา และฟากฟ้าที่ยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์นั้น จากคำชี้แนะของลุกมานที่มีต่อบุตรของเขาในซูเราะห์บะนีอิสรออีล อายะห์ที่ 37 ความว่า : แท้จริงแล้ว เจ้าไม่อาจแยกแผ่นดินออกได้ และเจ้าไม่อาจทำตัวให้สูงเท่าเทียมกับภูเขาได้หรอก เช่นเดียวกันในอายะห์ที่ 57 ซูเราะห์มุอ์มิน ความว่า แท้จริงการบันดาลฟากฟ้าและแผ่นดินนั้น ย่อมยิ่งใหญ่กว่าการบันดาลมนุษย์ (มากมายนัก) และในอายะห์ที่ 27 ซูเราะห์อัลนาซิอาต ความว่า พวกเจ้ามีกำเนิด (ทางกายภาพ) ที่แข็งแรงกว่า หรือฟากฟ้า (แข็งแรงกว่า) พระองค์ได้สร้างสิ่งนั้นมา (ทั้ง ๆ ที่แข็งแรงกว่าพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าที่อ่อนแอกว่า ก็ยังไม่มีข้อน่าสงสัยใด ๆ ) ซึ่งมนุษย์นี้ไม่สามารถรับผิดชอบสิ่งนั้นไว้ได้ ดังอายะห์กุรอานที่ว่า مَثَلُ الَّذِينَ حُمِّلُوا القُرآنَ ثُمَّ لَم يَحمِلُوها และ مَثَلُ الَّذِينَ حُمِّلُوا الانجيل ثُمَّ لَم يَحمِلُوها และ مَثَلُ الَّذِينَ حُمِّلُوا التَّورَاتَ ثُمَّ لَم يَحمِلُوها กล่าวคือ ผู้ใดก็ตามที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติ مثل او کمثل الحمار يحمل اسفارا พวกเขาประดุจเดียวกับลาที่บรรทุกตำราต่าง ๆ ดังนั้นพวกเขาจะไม่สูงส่งไปกว่าภูเขาและแผ่นดินเลย ดังอายะห์ที่ 187 ซูเราะห์อาลิอิมรอน ความว่า แล้วพวกเขากลับขว้างคัมภีร์ไว้เบื้องหลังของพวกเขา นี่คือมนุษย์ที่ปราศจากและไร้ซึ่งสติปัญญา ซึ่งพวกเขาไม่มีวันที่จะสูงส่งไปกว่าฟากฟ้าได้เลย แต่ทว่ามนุษย์ที่ยอมรับและเข้าใจและปฏิบัติตามบทบัญญัติแล้วไซร้ พวกเขาเป็นพวกที่สูงส่งกว่าฟากฟ้าอย่างแน่นอน เนื่องจากฟากฟ้าทั้งมวลจะถูกทำลายในวันแห่งการตอบแทนตัดสิน ดังอัลกุรอานซูเราะห์อัซซุมัร อายะห์ที่ 67 ความว่า อันแผ่นดินทั้งหมดข้าจักกำมันไว้ และฟากฟ้าทั้งมวลข้าจักพับมันไว้โดยอำนาจของข้า ในวันนั้นเองร่างกายของมนุษย์จะตายไป และพระองค์อัลลอฮจะทรงให้ฟื้นคืนชีพขึ้นอีกครั้ง แต่ทว่าวิญญาณเท่านั้นที่ไม่มีวันดับสลาย ส่วนภูเขาและฟากฟ้าจะถูกทำลายราบเรียบเป็นหน้ากลอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้สนับสนุน