ชัยตอนคือใคร ?

พวกบูชาไฟมีความเชื่อว่าโลกนี้มีพระเจ้าสององค์ พระเจ้าแห่งความดี และพระเจ้าแห่งความชั่วร้าย อาจจะมีบางคนคิดไปว่าอิสลามก็มีความเชื่อเช่นนั้นเหมือนกันเพราะในอิสลามมีการกล่าวถึง อัลลอฮ์พระผู้เป็นเจ้าแห่งความดีงามและชัยตอนเจ้าแห่งความเลวร้ายด้วย ซึ่งเป็นสองขั้วที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้เองในบทความนี้จะขอกล่าวถึงชัยตอนในทัศนะของอิสลามและกุรอาน

เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องชัยตอนในศาสนาอิสลามมีความแตกต่างกับความเชื่อของพวกบูชาไฟราวฟ้ากับดินเลยทีเดียว ตามความเชื่อของพวกบูชาไฟเชื่อว่าสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่บนโลกนี้มีสองขั้วด้วยกันส่วนหนึ่งเป็นสิ่งถูกสร้างที่มีความดีงามซึ่งถูกสร้างมาจากพระเจ้าแห่งความดีงาม และส่วนหนึ่งเป็นสิ่งที่ถูกสร้างที่มีแต่ความเลวร้ายซึ่งถูกสร้างมาจากพระเจ้าแห่งความชั่วร้าย

แต่ตามคำสอนของอิสลามและกุรอานเชื่อว่าทุกสรรพสิ่งไม่ได้ถูกสร้างมาโดยแบ่งว่าสิ่งนี้ดีหรือสิ่งนี้ไม่ดี ทุกสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหลายล้วนสวยงาม ดีงามและเหมาะสมทั้งสิ้น เพราะสรรพสิ่งทั้งหลายถูกสร้างจากเอกองค์อัลลอฮ์แต่เพียงผู้เดียวไม่มีผู้ใดมีส่วนร่วมและไม่มีผู้ใดช่วยเหลือ รวมทั้งชัยตอนด้วยก็เป็นสิ่งถูกสร้างจากพระผู้เป็นเจ้าเช่นเดียวกัน และชัยตอนก็มีอิทธิพลต่อมนุษย์เท่านั้นไม่ได้มีอิทธิพลต่อสรรพสิ่งอื่นเลย อีกทั้งอิทธิพลของชัยตอนที่มีต่อมนุษย์ก็มีความสามารถเพียงแค่หลอกล่อและเบี่ยงเบนความคิดของมนุษย์เท่านั้นไม่ได้มีความสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านร่างกายของมนุษย์แต่อย่างใด อีกทั้งชัยตอนก็มีความสามารถเพียงหลอกล่อและเบี่ยงเบนความคิดของผู้ที่ยอมจำนนและมอบความไว้วางใจต่อชัยตอนเท่านั้นกุรอานกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ในโองการที่ 99 – 100 ของซูเราะฮ์ อัลนะฮล์ว่า -

“แท้จริง (ชัยตอน) ไม่ได้มีอำนาจเหนือบุคคลที่มีความศรัทธาและมอบหมายตนต่อพระผู้อภิบาลของเขา แต่ชัยตอนจะมีอำนาจเหนือบุคคลที่ยอมรับในอำนาจของชัยตอนเท่านั้น”

กุรอานกล่าวถึงคำพูดของชัยตอนที่มันจะกล่าวกับผู้ที่หลงเชื่อมันในวันแห่งการสอบสวนว่า -

“(ในโลกดุนยา) ฉันไม่ได้มีอำนาจเหนือ (หรือมีความสามารถที่จะบังคับ) พวกท่านแต่อย่างใด ฉันเพียงแค่เรียกร้องพวกท่าน (ไปสู่ความชั่วร้าย) เท่านั้น แล้วท่านก็ตอบรับการเรียกร้องของฉันเอง ดังนั้นพวกท่านจงอย่าได้ตำหนิฉันเลยจงตำหนิตัวของพวกท่านเองเถิด”

ดังนั้นอำนาจของชัยตอนที่จะมีเหนือมนุษย์ได้ขึ้นอยู่กับตัวของมนุษย์เองไม่ได้ขึ้นอยู่กับชัยตอน ในอิสลามเชื่อว่ามนุษย์จะพัฒนาขึ้นไปสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบได้จะต้องมีอิสระภาพในการเลือกไม่ถูกครอบงำจากอำนาจใด ๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งจะต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดเท่านั้น

ชัยตอนในทัศนะของกุรอานคือหนึ่งในสิ่งที่ถูกสร้างจากอัลลอฮ์เท่านั้นไม่ได้มีอำนาจในการสร้างและมีอำนาจในการทำอะไรทั้งสิ้นและความชั่วร้ายของชัยตอนก็เป็นความชั่วร้ายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมัน แต่ตัวตนของชัยตอนไม่ใช่เป็นผู้ชั่วร้ายแต่อย่างใด

และตามคำสอนของกุรอานซัยตอนคือสิ่งที่ถูกสร้างที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮ์ จึงโดนลงโทษจากอัลลอฮ์ แต่ชัยตอนสัญญากับพระองค์ว่าจะคอยหลอกล่อบรรดามนุษย์ให้ตกหลุมพรางโดยคำกล่าวของชัยตอนถูกกล่าวไว้ในกุรอานว่า -



ดังนั้นจงระวังตัวเองและปฏิบัติตัวให้อยู่ในกรอบของศาสนาและจงเชื่อมั่นต่อเอกองค์อัลลอฮ์เถิดแล้วจะไม่มีอำนาจใดมาครอบงำพวกท่านได้เลย

ความเชื่อต้องวางอยู่บนเหตุผล

เหมือนอย่างที่ต้องมีเหตุผลอันถูกต้องแน่นอนในการพิสูจน์สิ่ง ๆ หนึ่ง จะต้องมีเหตุผลที่แน่นอนในการปฏิเสธสิ่ง ๆ หนึ่ง ถ้าท่านไม่มีเหตุผลที่จะสนับสนุนหรือคัดค้านสิ่งเหล่านั้น ก็จงกล่าวเสียเถิดว่า “ฉันไม่รู้” แต่ยังมีคนดื้อด้านบางคนที่ปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่าง ตราบเท่าที่คนเหล่านี้ไม่เข้าใจพวกเขาก็จะประพฤติปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม สิ่งใดก็ตามที่ท่านได้ยินตามธรรมดาแล้วท่านก็จะยอมรับว่า อย่างน้อยที่สุดมีความเป็นไปได้บางอย่างของความถูกต้องของมัน อย่าปฏิเสธสิ่งใด ๆ ทันทีโดยปราศจากเหตุผลใด ๆ เรามิได้เข้าไปสู่เรื่องที่โพ้นโลกนี้ แม้แต่เรื่องราวของโลกนี้ความรู้ของเราก็ยังบกพร่องและถูกจำกัด ในปัจจุบันนี้เรามีเรื่องราวที่แน่นอนเกี่ยวกับความรู้อย่าจำนวนหนึ่ง ในอนาคตเราจะได้รู้มากกว่านี้มาก ฉะนั้นหลายสิ่งหลายอย่างที่เรารู้เดี๋ยวนี้เกี่ยวกับโลกนี้ก็เคยเป็นสิ่งที่ไม่รู้มาทั้งหมดในอดีตนับร้อย ๆ ปีมาแล้ว ในอนาคตก็จะมีการค้นพบใหม่ ๆ อีกมากมาย เมื่อมนุษย์ยังไม่สามารถที่จะรู้และรับรู้โลกนี้ได้อย่างเต็มที่ และมนุษย์จะกล้าปฏิเสธได้อย่างไรในสิ่งที่บรรดานักบุญ (เอาลิยาอ์) ของอัลลอฮ์รู้และประจักษ์แจ้ง มนุษย์ปฏิเสธความจริงต่าง ๆ ทางจิตวิญญาณเพราะหัวใจของเขาขาดแสงแห่งจิตวิญญษณ เขากล่าวว่า ความจริงต่าง ๆ ทางจิตวิญญษณไม่มีอยู่ แต่ไม่ยอมรับว่า เขาไม่รู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น เขายังกล่าวอีกว่า สิ่งที่บรรดาผู้ศรัทธาในความจริงด้านจิตวิญญาณกล่าวนั้นเป็นเรื่องของนิทานทั้งหมด เขากล้าที่จะพูดเช่นนั้น เพราะเขายังโง่เขลา เขาไม่รู้หรอกว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เขาปฏิเสธและถือว่าเป็นนิทานนั้นได้ถูกกล่าวถึงในอัลกุรอานด้วย สิ่งที่บรรดาอาริฟมุสลิมกล่าวก็ได้นำมาจากอัลกุรอาน และซุนนะฮ์ (ฮะดีษต่าง ๆ ) แล้วเขากสามารถปฏิเสธสิ่งที่อัลกุรอานยืนยันได้อย่างไร ?

ปฏิเสธสิ่งที่บุคคลไม่รู้คือความไม่ศรัทธา
หากศรัทธาตามบทบัญญัติอย่างน้อยมันก็เป็นประเภทหนึ่งของความไม่ศรัทธา เหตุรากเหง้าของความโชคร้ายของมนุษย์ก็คือเขาปฏิเสธสัจธรรมต่าง ๆ ที่เขาไม่รู้ เขาปฏิเสธความจริงต่าง ๆ เหล่านี้เพราะว่าเขาไม่ถึงชั้นที่ซึ่งได้ถูกบรรลุถึงโดยบรรดานักบุญของอัลลอฮื (วะลียุ้ลลอฮ์) นี้เป็นประเภทที่เลวร้ายที่สุดของความเป็นผู้ปฏิเสธ สิ่งแรกสุดบุคคลจะต้องปฏิเสธสิ่งที่มีอยู่ในอัลกุรอานและซุนนะฮ์ สิ่งซึ่งเป็นที่รับรู้โดยบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์และสิ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยบรรดานักปรัชญาทั้งหลาย ถ้าบุคคลบางคนยังไม่รู้ความจริงด้วยตัวเขาเอง เขาก็จะต้องยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่าเขาไม่รู้ แต่มันจะเป็นการฉ้อฉลทั้งหมดหากคนปัญญาอ่อนบางคนกล่าวว่าเขาจะไม่เชื่อในอัลลอฮ์ นอกจากเขาจะได้แยกแยะพระองค์ด้วยตัวเขาเองด้วยตัวเขาเองด้วยมีคมของเขา สิ่งสำคัญที่สุดก็คือสิ่งซึ่งเราต้อง ไม่ปฏิเสธในสิ่งที่เราได้รับการบอกกล่าวโดยบรรดาศาสดา และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ นี้คือก้าวแรกเราไม่อาจที่ก้าวต่อไปหากเราปฏิเสธสิ่งต่าง ๆ เสียตั้งแต่ตอนต้น หากบุคคลใดต้องการที่จะไปข้างหน้าเขาก็ควรที่จะยอมรับ

แบบฉบับแห่งความซื่อสัตย์ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)

(มุฮัมหมัด ฮุเซน ฮากีกัต)
เวลารุ่งสางก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นสู่ขอบฟ้า เป็นวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) นั่งอยู่ในกระโจมที่พักโดยมีบรรดาสาวกนั่งล้อมสนทนาอยู่กับท่าน ทันใดนั้นมีเงาดำเด่นชัดมาแต่ไกล ไม่มีใครรู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร แต่เงาดำนั้นได้ใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ จนกระทั่งสาวกของท่านศาสดาจำใบหน้าที่ดำคล้ำของเขาผู้นั้นได้ เขาก็คือชายเลี้ยงแกะที่นำแกะของชาวยิวไปกินหญ้าและจะนำไปคืนเจ้าของก่อนตะวันตกดินทุกวัน การที่เขามาหาท่านศาสดา(ศ็อลฯ)เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจไม่น้อย เพราะเขาไม่ได้นับถืออิสลาม แล้วก็ไม่ใช่ผู้ที่มีบทบาทสำคัญของชาวยิวที่จมาในฐานะเป็นตัวแทนของพวกเขาเหล่านั้น จึงไม่น่าจะมีความจำเป็นที่เขาจะมาหาท่านศาสดา (ศ็อลฯ)
ชายเลี้ยงแกะกำลังครุ่นคิดว่าเขาจะพูดถึงเจตนารมณ์ของเขาต่อท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อย่างไรดี แต่ทว่าก่อนหน้าเขาได้ตัดสินใจอย่างแน่วแน่แล้ว เขาจึงได้เดินเข้าไปหากลุ่มสาวกของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ครั้นเมื่อได้เห็นท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เขาได้มุ่งไปหาท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อย่างไม่ลังเล และได้กล่าวสลามแด่ท่าน ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ตอบรับสลามของเขาอย่างอบอุ่น พร้อมกับหาที่นั่งให้กับเขาโดยนั่งอยู่ใกล้ ๆ กับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เหงื่อได้ไหลท่วมใบหน้าของเขาเนื่องจากความอาย ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ถามทุกข์สุขของเขาอย่างเป็นกันเอง และเขาก็ได้กล่าวตอบแก่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ท่ามกลางบรรยากาศของการสนทนาที่เป็นกันเองทำให้เขาซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่ง เขาจึงกล้าที่จะกล่าวขึ้นว่า : “โอ้ศาสนทูตที่เคารพ ! ฉันอยู่ที่นี่มาระยะหนึ่งแล้ว ฉันสนใจในตัวท่านและศาสนาของท่านเป็นพิเศษ ตอนนี้ฉันได้มาหาท่านเพื่อที่จะเข้ารับอิสลาม หากท่านเห็นว่าฉันมีความคู่ควร...”
ชายเลี้ยงแกะไม่ได้พูดอะไร ได้แต่ก้มหน้า ใบหน้าของท่านนบี (ศ็อลฯ) ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความเบิกบาน ท่านได้ส่งยิ้มให้เขา แล้วได้กล่าวเงื่อนไขในการเข้ารับอิสลามแก่เขาและในที่สุดเขาก็ได้กล่าวปฏิญาณตนเข้ารับอิสลาม...
เขารู้สึกอิ่มเอิบ, มีชีวิตชีวาและอยากจะอยู่เคียงข้างกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ทุก ๆ ชั่วขณะ ทันใดนั้นเขาได้นึกถึงบางสิ่งขึ้นมา เขาได้กล่าวว่า : “โอ้ศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ฝูงแกะที่ท่านเห็นอยู่นี่เป็นของชาวยิว และฉันมีหน้าที่พาพวกมันไปกินหญ้าทุกวัน” ทันใดนั้นเขาได้นึกถึงความอดอยากและความหิวโหยของชาวมุสลิมขึ้นมา เขาจึงกล่าวต่ออีกว่า : “ในเมื่อตอนนี้มุสลิมตกอยู่ในความยากลำบากและต้องการเสบียงอาหารเป็นอย่างมาก ฉันจะขอมอบแกะเหล่านี้ให้พวกเขาได้ใช้ประโยชน์จากมันเพื่อจะได้รับชัยชนะจากสงครามเร็วยิ่งขึ้น” เพราะขณะนั้น กองทัพของมุสลิมได้ปิดล้อมป้อมปราการ “คอยบัร” ของชาวยิวอยู่กดดันให้พวกเขายอมแพ้ ซึ่งทหารของมุสลืมเองก็อ่อนล้าจากสงคราม อีกทั้งยังขาดแคลนเสบียงอาหาร
หลังจากที่เขาได้กล่าวคำพูดนี้ออกไป เขาคิดว่าเขาสามารถที่จะมีส่วนร่วมในชัยชนะของมุสลิมได้ด้วยกับการเสนอแนะในครั้งนี้
แต่ทว่าคำดำรัสของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ทำให้ความคิดของเขาต้องหยุดชงักลง ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวด้วยคำพูดที่นุ่มนวลอย่างช้า ๆ แต่ชัดท้อยชัดคำว่า : “ฝูงแกะนี้ถูกฝากให้เจ้าเลี้ยง แม้ว่ามันจะเป็นของชาวยิวก็ตาม การคดโกงต่อสิ่งที่ถูกฝากไว้นั้น ในศาสนาของเราเป็นสิ่งต้องห้าม ดังนั้นเจ้าจำเป็นที่จะต้องเอาแกะเหล่านี้ไปคืนแก่เจ้าของของมัน”
ชายเลี้ยงแกะไม่อาจจะกล่าวอะไรต่อไปอีก เขาครุ่นคิดด้วยความงุนงง แต่เมื่อเขาได้เห็นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ทำในสิ่งที่ตัวของท่านเองก็ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้ ดวงใจของเขากลับเจิดจ้าด้วยกับรัศมีดั่งกับแสงตะวันที่เจิดจ้าพร้อมกับทำให้เขามีความดื่มดำและเชื่อมั่นต่อศาสนาอิสลามมากขึ้น
เขาได้ขออนุญาตท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เพื่อนำฝูงแกะไปคืนให้กับเจ้าของ แล้วหลังจากนั้นเขาก็ได้กลับมายังกองทัพของอิสลามอีกครั้ง
หลังจากนั้น ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ยินเสียง ๆ หนึ่ง เป็นเสียงที่บ่งบอกว่าเป็นพระวจนะที่ถูกประทานมาจากพระผู้เป็นเจ้าที่กำลังตรัสกับท่านว่า :
“แท้จริงอัลลอฮ์ทรงใช้พวกเจ้าให้มอบคืนบรรดาของฝากแก่เจ้าของของมัน และเมื่อพวกเจ้าตัดสินความระหว่างผู้คน พวกเจ้าก็จะต้องตัดสินด้วยความยุติธรรม แท้จริงอัลลอฮ์ทรงแนะนำพวกเจ้าด้วยสิ่งซึ่งดีจริง ๆ แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงได้ยินและทรงเห็น” (นิซาอ์ / 58)
ชายเลี้ยงแกะรู้สึกสบายใจ และภาคภูมิใจที่ได้เข้ามาอยู่ภายใต้ศาสนาอิสลาม...

ความยิ่งใหญ่ของกุรอาน 3

การรวมสามวิธีข้างต้นเข้าด้วยกัน
การรวมทั้งสามวิธีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คือ หนทางแห่งปัญญา หนทางแห่งการทำจิตใจให้บริสุทธิ์ และหนทางแห่งการยอมจำนนต่อการเป็นบ่าวด้วยกับความศรัทธา มีทั้งความเป็นไปได้ และเป็นไปแล้ว คือ มนุษย์สามารถเดินไปได้ด้วยกับการนำเอาหลักเหตุผล ซึ่งอัลกุรอานเองได้ยืนยันเรื่องนี้ไว้อย่างแจ้งชัด และการนำเอาความประจักษ์แจ้งแห่งศาสนา และหลักแห่งการทำใจให้บริสุทธิ์ มาใช้ในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จากความเชื่อมั่นหนึ่งซึ่งพระองค์อัลลอฮ (ซบ.) ทรงประทานมาแก่ท่านนบีอิบรอฮีม (อ.) ซึ่งเป็นความเชื่อมั่นที่มิได้มาด้วยกับการเรียนรู้ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ในวัยเยาว์ท่านนบีอิบรอฮีม (อ.) ได้ใช้ชีวิตอยู่เพียงในถ้ำ และเมื่อท่านเติบใหญ่ท่านจึงออกมาสู่โลกภายนอกถ้ำ ดังที่พระองค์อัลลอฮทรงตรัสไว้ในซูเราะห์อันอาม อายะห์ที่ 57 ความว่า และเช่นนั้นเอง เราทำให้อิบรอฮีมมองเห็นอาณาจักรแห่งชั้นฟ้าและแผ่นดิน และเพื่อเขาจะได้เป็นผู้หนึ่งจากบรรดาผู้มีความเชื่อมั่นแท้จริง เช่นเดียวกันพระองค์อัลลอฮ (ซ.บ.) ทรงชี้นำเราด้วยวิธีนี้ดังในซูเราะห์อะรอฟ อายะห์ที่ 185 ความว่า : และพวกเขาไม่พิจารณาดอกหรือในอาณาจักรแห่งชั้นฟ้าและแผ่นดิน จากอายะห์ดังกล่าวจะเห็นว่าพระองค์อัลลอฮ (ซบ.) ไม่เพียงแต่ชี้นำพวกเราเท่านั้น แต่พระองค์ยังทรงตำหนิพวกเราอีกด้วยว่า ทำไมพวกท่านจึงไม่เดินทางและไม่พิจารณา ดังนั้นยังมีอีกหนทางหนึ่งก็คือ การเดินทาง ซึ่งพระองค์ทรงตรัสกับมวลมนุษย์ว่า หากพวกเจ้าเดินไปข้างหน้าอีกนิดก็จะเป็นสถานที่ที่ปัจจุบันเจ้ากำลังนั่งอยู่ นั่นก็คือ นรกญะฮันนัม และเจ้าก็จะได้เห็นผู้ที่พำนักอยู่ในนั้น ดังอายะห์กุรอานที่ว่า หามิได้ หากพวกเจ้ารู้อย่างมั่นใจ แน่นอนพวกเจ้าก็จะได้เห็นไฟนรกอันลุกโชน (ซูเราะห์อัตตะกาซุร อายะห์ที่ 5-6)

ต่อไปนี้เราจะมาพิจารณาว่า พวกเขากล่าวอย่างไรเกี่ยวกับอายะห์นี้ พวกเขากล่าวว่าใน 2 ประโยคดังกล่าว มีสิ่ง ๆ หนึ่งถูกตัดออกไป สิ่งนั้นคือ อามั้ลที่ซอลิฮห์ คือ หามิได้ หากพวกเจ้ารู้อย่างมั่นใจ ดังเช่น อามั้ลที่ซอลิห์ ดังนั้นถ้าพวกเจ้ามีข้อสงสัย พวกเจ้าก็จะได้เห็นไฟนรกอย่างแน่นอน และถ้าหากเกิดความสงสัยขึ้นกับทุก ๆ คน ดังนั้นทุก ๆ คนก็คือชาวนรกอย่างแน่นอน ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นชาวกาเฟรหรือไม่ใช่กาเฟรก็ตาม และไม่จำเป็นที่จะกล่าวอีกแล้วว่า ถ้าพวกเจ้ารู้อย่างมั่นใจ พวกเจ้าก็จะได้เห็นไฟนรกอันลุกโชน ทำไมพวกเขาจึงกล่าวว่าในอายะห์ข้างต้นมีสิ่งหนึ่งถูกตัดออกไป ? เนื่องจากเชื่อกันว่ามีบางสิ่งเป็นตัวเชื่อมท้ายประโยค ((หากพวกเจ้ารู้อย่างมั่นใจ)) ซึ่งเป็นคำที่ไม่คล้องจองกับประโยคต่อไป และมีคำหนึ่งที่เชื่อมหน้าประโยค ((แน่นอนพวกเจ้าก็จะได้เห็นไฟนรกอันลุกโชน)) ซึ่งคำดังกล่าวไม่คล้องจองกับประโยคนี้เช่นกัน ทำไมเราจึงประสบกับอายะห์ดังกล่าวที่ว่า หามิได้ หากพวกเจ้ารู้อย่างมั่นใจ/แน่อนพวกเจ้าก็จะได้เห็นไฟนรกอันลุกโชน/หลังจากนั้น แท้จริงพวกเจ้าจะถูกสอบถามในวันนั้นถึงสุข (ที่เคยได้รับในสากลโลก) เนื่องจากอายะห์ดังกล่าวต้องการแสดงให้เห็นว่า มีบุคคลกลุ่มหนึ่งได้เห็นมันแล้ว และนี่คือผลพวงของวิธีการก้าวไปข้างหน้า

ดังโองการอัลกุรอานที่กล่าวว่า اِنَّ هَذَا القُرآنَ يَهدِی لِلَّتِی هِیَ اَقوَمُ ซึ่งโองการนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของการรวมกันของทั้งสามวิธี ทำให้ไม่มีบุคคลใดหาข้ออ้างขึ้นมาได้ กลุ่มชนบางกลุ่มมิได้เป็นบุคคลในกลุ่มทำจิตใจให้บริสุทธิ์ สำหรับพวกเขาจึงเป็นเรื่องยาก ดังเช่นพวกเขาต้องรับประทานอาหารค่ำทุกวัน และต้องหลับนอนอย่างสม่ำเสมอ และต่างก็ละหมาดซุบฮิด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งสำหรับพวกเขาอะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด สำหรับกลุ่มบุคคลอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลางคืนรับประทานอาหารน้อย เพื่อให้ตนเองคล่องแคล่ว และทานอาหารเช้าเพียงเล็กน้อยเช่นกัน พวกเขาไม่ใช่บุคคลในกลุ่มที่ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ แต่บุคคลเหล่านี้ต่างเป็นผู้ที่เข้าใจทั้งสิ้น ซึ่งถ้าหากพวกเขามีความเข้าใจและรู้จักใช้สติปัญญาแล้วไซร้ พวกเขาก็คือผู้ที่ใช้หลักแห่งเหตุผล และมีบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่เป็นทั้งผู้อยู่ในกลุ่มผู้ใช้หลักแห่งเหตุผล และไม่อยู่ในกลุ่มผู้ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ แต่พวกเขาจัดอยู่ในกลุ่มของผู้ใช้หลักการแห่งเปลือกนอกแห่งศาสนา ซึ่งอัลกุรอานได้ชี้แนะหลักการดังกล่าวไว้กล่าวคือ ใช้หลักแห่งเปลือกนอกแห่งศาสนา และใช้หลักแห่งสติปัญญาและเหตุผล และใช้หลักแห่งการทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ดังอายะห์ที่ 69 ซูเราะห์อังกะบูต ความว่า และบรรดาผู้ต่อสู้ใน (วิถีทางของ) เรา แน่นอนเราจะชี้นำพวกเขาสู่แนวทางของเรา กล่าวคือ พระองค์ทรงเชื้อเชิญพวกเราโดยตรัสว่า หากพวกเราดำรงอยู่ในหนทางของพระองค์ พระองค์จะทรงชี้นำพวกเราสู่หนทางของพระองค์เช่นกัน

ความยิ่งใหญ่ของกุรอาน 2

ความยิ่งใหญ่ของกุรอานในการนำเสนอเรื่องราวแขนงต่าง ๆ
มีอายะห์กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า : กุรอานคือสิ่งหนึ่งที่ถ้าประทานลงมายังภูเขา ภูเขาก็ไม่สามารถต้านทานไว้ได้ ความเป็นจริงก็คือว่า มนุษย์เวลาที่ประสบพบเจอในบางอายะห์ พวกเขาจะกลัวว่าอายะห์นั้นจะมีความหมายเป็นอย่างไร ? ถึงจะใช้ความพยายามอย่างไรก็ตามก็ไม่สามารถเข้าใจความหมายได้ ดังตัวอย่างที่จะขอยกมาดังนี้คือ : ในอัลกุรอานโองการที่กล่าวเกี่ยวกับเรื่องของภูเขา ความว่า : และพวกเขาจะถามเจ้าถึงเรื่องภูเขา ดังนั้นจงตอบพวกเขาไปเถิดว่า : องค์อภิบาลของฉันจะโปรยมันเป็นผุยผง และพระองค์ทรงปล่อยมันไว้เป็นพื้นที่อันเตียนโล่ง อีกทั้งราบเรียบ เจ้าไม่เห็นในนั้น (ภูเขา) ความลาดและความชัน (ซูเราะห์ตอฮา อายะห์ที่ 105) จากอายะห์ดังกล่าวทำให้เราทราบว่าพระองค์อัลลอฮทรงกล่าวกับท่านศาสดาว่าถ้าพวกเขาถามท่านศาสดาถึงเหตุการณ์ของวันกิยามัตว่าในวันนั้นภูเขาจะมีสภาพเป็นอย่างไร ก็ให้ท่านศาสดากล่าวตอบพวกเขาว่า : พระองค์อัลลอฮจะทรงทำให้ภูเขาแตกออกเป็นผุยผง และหน้าผาที่สูงชันจะราบเรียบเพราะการพังทลายของภูเขา และจะไม่มีความลาดเอียง ความสูงชันของแผ่นดินในวันนั้นเลย
ในโลกดุนยา มนุษย์อาจจะสามารถปิดบังความผิดบาปของตนไว้ได้ และสามารถเดินทางจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่งได้ หรือเดินทางจากหลาย ๆ เมืองไปยังอีกหลาย ๆ เมือง แต่ทว่าในวันกิยามัตจะไม่มีสถานที่ใดสำหรับเป็นที่กำบังและหลบซ่อน และไม่มีเนินเขา ภูเขา หรือชายเขา รวมทั้งไม่มีแม้กระทั่งกำแพงใด ๆ เลย : เจ้าไม่เห็นในนั้น (ภูเขา) ความลาด และความชัน (ของมันอีกต่อไป) หรือในอีกอายะห์หนึ่งคือ : ในวันที่บรรดาภูเขาจะมีสภาพประดุจดังขนสัตว์ที่ปลิวว่อน (ซูเราะห์อัลกอริอะห์ อายะห์ที่ 5) บรรดาภูเขาเหล่านี้มีความหนักหน่วงยิ่ง แต่เราได้ทำให้น้ำหนักของมันเบาประหนึ่งดังปุยนุ่น หรือดังอายะห์กุรอานที่ว่า : ในวันที่แผ่นดินและขุนเขาสั่นสะเทือนรุนแรง และภูเขาได้กลายมาเป็นกองทรายที่ไหลร่วน (ซูเราะห์มุซัมมิล อายะห์ที่ 14) ภูเขาเหล่านี้ล้วนมีน้ำหนักมากแต่จะกลายเป็นกองทรายซึ่งเมื่อพวกเราหยิบมันขึ้นมาแล้วมันจะไหลร่วงลงเป็นผุยผง ซึ่งเราจะทราบได้จากคำว่า کثيباَ مهيلاَ ซึ่งอายะห์ดังกล่าวเราสามารถเข้าใจได้อย่างชัดแจ้ง แต่ทว่าเมื่อมาถึงอายะห์ดังต่อไปนี้คือ และภูเขาทั้งหลายถูกเคลื่อนไป ดังนั้นมันจึงปรากฏเป็นภาพเงาลวงตา ภูเขาเหล่านั้นจะค่อย ๆ ถูกเคลื่อนไปจนกระทั่งกลายเป็นภาพเงาลวงตา จากประโยคดังกล่าวไม่มีใครสามารถเข้าใจได้ว่าความหมายของภูเขากลายเป็นภาพเงาลวงตานั้นคืออะไร ? คำว่า سراباَ มีความหมายว่า ไม่มีสิ่งใดเลย กล่าวคือ มนุษย์เมื่อมองจากระยะไกลจะเห็นว่ามีภูเขาอยู่เบื้องหน้า แต่เมื่อเข้าไปใกล้ ๆ แล้วปรากฏว่าภูเขามิได้มีอยู่ ณ ที่นั้นเลย

ความชัดแจ้งและความเป็นนัยยะของอัลกุรอาน
อัลกุรอานมี 2 ด้านด้วยกัน ด้านหนึ่งคือความเป็นภายนอก และอีกด้านหนึ่งคือความเป็นนัยยะ จากวจนะของท่านศาสดาที่ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ อัลกุรอานโดยรูปธรรมแล้วมีความงดงามอย่างถ่องแท้ และมีนามธรรมที่ลึกซึ้ง ดังจะเห็นได้จากคุตบะห์ที่ 17 ในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะห์ ความว่า จุดเด่นของคัมภีร์เล่มนี้คือ ความสวยงามด้านรูปธรรม และมีนามธรรมที่ล้ำลึก และถูกประทานมายังเราทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม เพื่อให้พวกเรารู้จักคิดพิจารณาไตร่ตรอง และแม้ระยะเวลาจะผ่านไปยาวนานสักเพียงใดก็ตาม หรือแม้กระทั่งนักตัฟซีรจะใช้ความคิดลึกซึ้งเพียงใดก็ตาม อัลกุรอานก็ไม่มีวันเสื่อมสลายหรือหมดสิ้นไปได้ ความลึกซึ้งภายในของอัลกุรอานเป็นตัวบังคับให้เราคิดอย่างลึกซึ้งถ่องแท้ แต่ไม่ใช้ความคิดที่มาจากพื้นฐานของการไม่ศรัทธา ซึ่งในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะห์ ในส่วนของ کلمات قصار ที่ 31 บันทึกไว้ว่า มีบุคคลหนึ่งถามท่านอิมามในเรื่องของการศรัทธา ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวตอบว่า รากฐานของอีหม่านมี 4 ประการด้วยกัน และท่านได้กล่าวถึงเรื่องการปฏิเสธไว้เช่นกันว่า والکفر علی اربع دعائم علی التعمق و التنازع و الزيغ و الشقاق ทำให้ประจักษ์ชัดว่า การใช้ความคิดที่ลึกซึ้งในสิ่งที่โง่เขลา เป็นความลึกซึ้งที่น่าประณาม แต่การใช้ ความคิดพิจารณาไตร่ตรองอัลกุรอานอย่างลึกซึ้งถือเป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญ


วิถีแห่งการชี้นำ (ฮิดายะห์) ของอัลกุรอาน
อัลกุรอานที่รูปภายนอกมีความสวยงาม และรูปภายในที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความลึกซึ้งจะนำทางมนุษย์ด้วยวิธีใดกันเล่า ? อัลกุรอานได้กล่าวถึงเรื่องการมิได้ถูกประทานลงมาเพื่อนำทางมนุษย์เพียงอย่างเดียว ดังอายะห์กุรอานที่ว่า : เดือนรอมฎอนซึ่งอัลกุรอานถูกประทานลงมาเพื่อเป็นสิ่งชี้นำแก่มวลมนุษยชาติ แต่ทว่าวิธีที่ดีที่สุดของการนำทางมนุษย์ที่อัลกุรอานมีอยู่นั้น คัมภีร์อื่นใดก็มิอาจเทียบเคียงอัลกุรอานได้ ดังอายะห์กุรอานที่ 9 ของซูเราะห์บะนีอิสรออีล ความว่า : แท้จริงอัลกุรอานนี้ ชี้นำทางอันเที่ยงตรงที่สุด ดังนั้นไม่มีคัมภีร์เล่มใดที่จะนำทางมนุษย์ได้ดีเท่าคัมภีร์อัลกุรอาน
อัลกุรอานได้กล่าวถึงวิธีการนำทางไว้อย่างมากมายดังนี้คือ
1. หลักแห่งเหตุผล : อัลกุรอานได้กล่าวถึงการใช้สติปัญญาในการไตร่ตรองไว้หลายต่อหลายหนด้วยกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอัลกุรอานสนับสนุนและให้ความสำคัญกับการใช้เหตุผลเป็นอย่างยิ่ง หรือแม้แต่อัลกุรอานเองได้ใช้หลักเหตุผลในการกล่าวกับมนุษย์ดังอายะห์ต่อไปนี้ ความว่า มาตรแม้นมีบรรดาพระเจ้านอกจากอัลลอฮร่วมใน (การบันดาล) ทั้งสอง (คือ ฟ้าและแผ่นดิน) แน่นอน มันทั้งสองต้องพินาศ (ซูเราะห์อัมบิยา อายะห์ที่ 22) และในอายะห์ที่ว่า : หรือว่าพวกเขาถูกบันดาลขึ้นมาโดยไม่มีผู้ใด (บันดาล) หรือว่าพวกท่านเป็นผู้บันดาลเสียเอง ? (ซูเราะห์อัตฎูร อายะห์ที่ 35)
วิธีหลักที่บรรดาศาสดานำมาใช้กับพวกดื้อรั้นในการพิสูจน์ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า คือ วิธีการใช้หลักเหตุและผล ซึ่งในอัลกุรอานได้บันทึกถึงหลักการทางเหตุและผลของบรรดาศาสดาในอดีตไว้ไม่น้อยเลย
2. การปฏิบัติตามหลักแห่งการศรัทธา เป็นอีกวิธีหนึ่งของการชี้นำทางของอัลกุรอาน มีบุคคลหลายท่านมาเข้าพบอิมามมะอ์ซูม (อ.) และซักถามถึงเรื่องราวของเอกองค์อัลลอฮ วันกิยามัติ และบรรดามลาอิกะห์ ซึ่งหลังจากการพิสูจน์และการแสดงปาฏิหาริย์ต่าง ๆ แล้ว พวกเขาต่างศรัทธาและยอมรับการเผยแพร่ศาสนาทั้งสิ้น
วิธีที่สองนี้เหมือนกับวิธีแรก กล่าวคือ ในเรื่องของศาสนาเมื่อใช้หลักความคิดทางปัญญาเป็นเครื่องพิสูจน์ถือว่าเพียงพอแล้ว และบรรดาผู้รู้ได้กล่าวไว้ตรงกันว่า คำสอนของบรรดามะอ์ซูม (อ.) สามารถวางไว้เป็นตัวกลางในการหาเหตุผลได้ เช่นเดียวกันกับที่นักวิชาการได้กล่าวว่า ((โลกเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้)) และ ((ทุก ๆ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่)) หรือในอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ((คำสอนนี้คือคำสอนของบรรดามะอ์ซูม (อ.)) และ ((ทุก ๆ สิ่งที่มะอ์ซูมได้สอนคือสัจธรรม)) คำสอนของบรรดามะอ์ซูมจึงสามารถนำมาเป็นตัวกลางในการหาเหตุผลได้ แต่ทว่าถ้าบุคคลใดก็ตามที่ได้ยินคำกล่าวจากมะอ์ซูมด้วยตนเองด้วยความมั่นใจว่าท่านคือ มะอ์ซูม จริง ๆ และคำพูดนี้คือคำพูดของท่าน และในการอรรถาธิบายตัวบทบัญญัติ ท่านก็ได้กล่าวถึงข้อตัดสินใจไว้อย่างชัดเจน เหตุผลของการตัดสินอย่างแน่ชัด ตลอดจนบ่งบอกอย่างชัดเจน คำพูดของบรรดามะอ์ซูมนี้สามารถกำหนดให้เป็นตัวกลางได้ แต่ทว่าบุคคลใดก็ตามที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในสมัยของบรรดามะอ์ซูม (อ.) และไม่มีสายรายงานที่เป็นมุตะวาติร และไม่มีสายรายงานที่ไม่ขาดตอน หรือมีข้อขัดแย้งกัน หากบุคคลดังกล่าวต้องการพิสูจน์เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยการอ้างอิงสายรายงาน และเขาไม่เป็นผู้เชี่ยวชาญประวัติผู้รายงานฮะดิษ เขาจะต้องรวบรวมทัศนะของอุละมาอ์กว่าร้อยท่านและค้นหาบทสรุปที่ถูกต้องจนกระทั่งสามารถเข้าใจถึงเรื่องดังกล่าวได้ ถ้าหากว่าริวายัตหนึ่งมี 5 ประโยคด้วยกัน และริวายัตนี้มาจากอิมามที่หก (อ.) จนกระทั่งมาถึงเราด้วยกับสายรายงานถึง 10 หรือ 20 สายรายงานด้วยกัน เราจะต้องพิสูจน์ถึงประโยคและสายรายงานอย่างถี่ถ้วนว่าปราศจากซึ่งข้อหลงลืมหรือตกหล่นใด ๆ และจะต้องไม่มีข้อผิดพลาด และสายรายงานจะต้องไม่เป็นผู้ที่หลงลืม ไม่เช่นนั้นแล้วริวายัตดังกล่าวจะถือเป็นข้อสงสัย และจัดอยู่ในระดับอันตราย แต่ถ้าริวายัตดังกล่าวเป็นไปในเชิงวิชาการถือว่าเป็นฮุจยัต และจะต้องปฏิบัติตาม แต่ถ้าหากว่าริวายัตดังกล่าวเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักการศรัทธาแล้วไซร้จะต้องปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ซึ่งทุก ๆ สิ่งที่ถูกสร้างไว้ในฮะดิษซะกอลัย คือ ลูกหลานต่างหากที่อยู่เคียงข้างอัลกุรอาน ไม่ใช่ริวายัต กล่าวคือ ในฮะดิษซะกอลัยมิได้กล่าวว่า ริวายัตเคียงข้างอัลกุรอาน แต่ทว่าฮะดิษซะกอลัยได้กล่าวว่า ลูกหลานและอัลกุรอาน และริวายัตแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ริวายัตที่ถูกกุขึ้น และริวายัตที่ถูกต้อง แต่ทว่าลูกหลาน (อะห์ลิลบัยต์) ล้วนเป็นแสงสว่างทั้งสิ้น ดังคำกล่าวที่ว่าสุนทโรวาทของท่านคือรัศมี เนื่องจากริวายัตมีการปลอมขึ้นได้ แต่อัลกุรอานปราศจากการปลอมแปลงใด ๆ ดังนั้นริวายัตไม่สามารถอยู่เคียงข้างอัลกุรอานได้ ลูกหลานต่างหาเล่าที่อยู่เคียงข้างอัลกุรอาน
สรุปได้ว่า เรากล่าวถึงวิธีการนำทางมาแล้วถึง 2 วิธีด้วยกันคือ 1. วีการใช้หลักเหตุผล 2. วิธีการใช้หลักแห่งการศรัทธา
3. การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ : ถ้าบุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่ต้องการศึกษาหาความรู้ หรือไม่มีโอกาสที่จะศึกษาหาความรู้ ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วจะมีทางใดหรือไม่ที่จะรู้จักความเป็นสัจธรรม ? อัลกุรอานได้กล่าวถึงหนทางแห่งการฮิดายัตด้วยวิธีของการทำจิตใจให้บริสุทธิ์ แต่ทว่าการทำจิตใจให้บริสุทธิ์ พระองค์อัลลอฮ (ซบ.) จะเป็นผู้กำหนดวิธีการดังกล่าว ดังอายะห์กุรอานที่ว่า : และเจ้าจงนมัสการองค์อภิบาลของเจ้าจนกว่าความมั่นใจจะมาประสบแก่ตัวเจ้า (ซูเราะห์ฮิจร์ อายะห์ที่ 99) เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า หลักแห่งเหตุผลสามารถสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกันหลักแห่งการปฏิบัติก็สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดได้เช่นกัน เวลาที่คนเราทำการอิบาดะห์นั้นก็เพราะว่าเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และให้พ้นจากการเผาไหม้ของไฟนรกก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ในบางครั้งการปฏิบัติอิบาดะห์ก็เพื่อที่จะให้ได้รับสวงสวรรค์ เพราะว่าเวลาที่คนเราจะอ่านดุอาอ์ต่างก็จะเปิดดูผลบุญของมันว่าดุอาใดมีผลบุญมากที่สุดในด้านการประทานสวงสวรรค์ และเราก็จะเลือกอ่านดุอานั้นกัน หรือในบางครั้งการปฏิบัติอิบาดะห์ไม่ใช่เพื่อให้รอดพ้นจากไฟนรก และไม่ได้ปฏิบัติเพื่อแสวงหาสวงสรรค์ แต่ทว่าการปฏิบัติอิบาดะห์เพื่อขจัดม่านกำบังต่าง ๆ เพื่อให้เห็นถึงผู้ที่เราให้ความเคารพศักดิ์การะ และเพื่อให้พบสัจธรรมแห่งพระองค์ อย่างเช่น ท่านฮาริษ บิน มาลิก
สำหรับอายะห์ที่ว่า และเจ้าจงนมัสการองค์อภิบาลของเจ้า จนกระทั่งความมั่นใจจะมาประสบแก่ตัวเจ้า ในอายะห์นี้มีการกำหนดหนทางของการทำใจให้บริสุทธิ์ และกำหนดผลลัพธ์ของมันไว้อย่างชัดเจน คำว่า حتی ในอายะห์นี้เป็น حتی ที่ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ ไม่ใช่ حتی تحديد ซึ่งมิได้หมายความว่า จงทำอิบาดะห์เถิด จนกระทั่งความมั่นใจมาประสบยังเจ้า และถ้าความมั่นใจมาประสบแล้วก็จงออกห่างจากมันเถิด เนื่องจากถ้าออกห่างจากการทำอิบาดะห์แล้วก็จะทำให้ท่านนั้นตกต่ำลง ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการให้มือของเราเอื้อมถึงสวิตช์ไฟฟ้า เราก็จะต้องปีนบันไดขึ้นไปข้างบน จนกระทั่งมือของเราแตะถึงสวิตช์ไฟฟ้าได้ หากบุคคลใดก็ตามที่ไต่บันไดขึ้นไปข้างบนแล้วพูดขึ้นว่า บันไดนี้คืออะไร การกล่าวหรือการไม่กล่าวอะไรก็ไม่ต่างอะไรกัน ถ้ามีคนหนึ่งคนใดบอกให้เราขึ้นบันไดไปข้างบนจนกว่ามือจะไปแตะกับเพดาน และเมื่อมือแตะถึงเพดานแล้วก็ให้ปล่อยมือจากบันได ไม่เช่นนั้นเขาจะตกลง
ดังนั้นคำว่า حتی ไม่ใช่เป็น حتی แสดงปริมาณและขอบเขต แต่ทว่าเป็น حتی ที่แสดงประโยชน์ที่จะได้รับ กล่าวคือ ประโยชน์ที่ได้รับจากลำดับขั้นของการทำอิบาดะห์ คือการค้นพบความมั่นใจ ดังอายะห์กุรอานที่ว่า فاذا اتاک اليقين فاقم العباده و حسنها و اتمها اکملها ถ้าเจ้าประสบกับความมั่นใจแล้วให้เจ้าปฏิบัติอามั้ลอิบาดะห์ให้ดียิ่งขึ้น การปฏิบัติอามั้ลอิบาดะห์นี้ คือ แนวทางของท่านฮาริษ บิน มาลิก ซึ่งไม่ควรกล่าวว่า แนวทางของการปฏิบัติอามั้ลอิบาดะห์เป็นแนวทางที่มาจากบรรดามะอ์ซูม (อ.) เท่านั้น เนื่องจากท่านฮาริษ บิน มาลิก เป็นมนุษย์ธรรมดาที่เรียนรู้และนำเอาแนวทางของบรรดามะอ์ซูม (อ.) มาปฏิบัติ ดังมีสายรายงานว่า قلب المومن عرش الرحمن โดยมีเงื่อนไขมาประกอบคือ หัวใจจะต้องไม่มีความอาฆาตแค้นใด ๆ อยู่เลย และหัวใจนี้จะต้องไม่เป็นหัวใจที่เปี่ยมล้นไปด้วยความลุ่มหลงในโลกดุนยา ท่านอิมามอะลี (อ.) มีความอับอายต่อบุคคลที่มีหัวใจยึดติดกับดุนยามากมายสักเพียงใด และไม่มีใครในบรรดาประชาชาติอิสลามที่จะเทียบเท่าท่าน ที่ทำให้โลกดุนยาไร้ซึ่งความสำคัญใด ๆ และท่านยังกล่าวตักเตือนบรรดาผู้ลุ่มหลงในดุนยาโดยทางอ้อมว่า ไม่ควรให้ความสำคัญกับโลกดุนยามากนัก
ถ้าทำการศึกษานะฮ์ญุลบะลาเฆาะสักหนึ่งจบ และสังเกตการณ์เปรียบเทียบของท่านอิมามอะลี (อ.) ในเรื่องของดุนยา จะพบว่า บางครั้งท่านอิมามได้เปรียบเทียบโลกดุนยากับกระดูกหมูที่อยู่ในมือของผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อน และในบางครั้งท่านเปรียบโลกดุนยาดังการจามทางจมูก หรือเปรียบดุนยาดังกระดาษที่อยู่ในปากของตั๊กแตน ท่านอิมามทำให้โลกดุนยานั้นต่ำค่าดังคำกล่าวตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งไม่มีประชาชาติอิสลามใดในโลกที่ทำได้อย่างท่าน
จากนะฮ์ญุลบะลาเฆาะห์ ส่วนของ کلمات قصار ที่ 367 ความว่า يا ايهاالناس متاع الدنيا حطام موبيئ เมื่อฤดูใบไม้ร่วงมาเยือน บรรดากิ่งก้านและใบของต้นไม้ต่างเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วงหล่น หลังจากนั้นก็จะแห้งและสูญสลายไป นี่คือความหมายของคำว่า حطام ซึ่งเมื่อมีคำว่า موبی อยู่ในประโยคก็จะหมายถึง
หนึ่ง : حطام คือดุนยาสำหรับบุคคลที่ยังไม่ได้รับการเบ่งบาน เปรียบเสมือนฤดูใบไม้ร่วงตลอดกาล และกิ่งก้านสาขาของเขาคือ حطام เช่นกัน เมื่อนำมือมาเขย่าที่ลำต้น ใบก็จะร่วงหล่นลง

ความยิ่งใหญ่ของอัลกุรอาน 1

لَواَنزَلنا هذا القُرآنَ علی جَبَلٍ لَرَاَيتَهُ خَاشِعاً مُتَصَدِّعاً مِن خَشيَةِ اللهِ وَ تِلکَ الاَمثالَ نَضرِبُها لِلناَسِ لَعَلَّهُم يَتَفَکَّرُونَ

มาตรแม้นเราได้ลงอัลกุรอานนี้มายังภูเขา แน่นอนเจ้าก็จะเห็นมันนอบน้อม และแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ เพราะความยำเกรงอัลลอฮ และอุทาหรณ์เหล่านั้น เรายกมาแสดงแก่มนุษย์เพื่อพวกเขาจักได้ตริตรอง (ซูเราะห์ฮัชร์ อายะห์ที่ 21)
ความยิ่งใหญ่นี้เป็นความยิ่งใหญ่ในเรื่องของการทำความรู้จักอัลกุรอาน ด้านความสำคัญและความยิ่งใหญ่ และในเรื่องของความยิ่งใหญ่นั้นก็คือ ทุก ๆ คำของอัลกุรอานนั้นแสดงถึงความยิ่งใหญ่และความเกรียงไกรของผู้ที่ตรัสมัน ดังจะเห็นได้จากอายะห์ข้างต้นที่ได้กล่าวในเรื่องนี้ไว้อย่างงดงาม และยังมีอีก 3 อายะห์ที่จะกล่าวต่อไปที่ได้อรรถาธิบายไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้

ความหมายของคำว่าแตกเป็นเสี่ยง ๆ ของภูเขา
ความหมายของอายะห์ข้างต้น คือ ถ้าอัลกุรอานถูกประทานลงมาบนภูเขา เราจะเห็นได้ว่าภูเขานั้นจะต้องแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ คำว่า متلاشی ไม่ได้มาจากรากศัพท์ของคำว่า شيئ ای ซึ่งก็คือคำว่า لاشيئ นั่นเอง เนื่องจากคำดังกล่าวมิได้มาจากรากศัพท์ของกริยา تفاعل เนื่องจากต้องเป็นรากศัพท์มาจากพยัญชนะสามตัว ซึ่งก็ไม่ใช่จาก تلاشی، يتلاشی ดังนั้นรากศัพท์ของคำดังกล่าว ก็คือ لايشيئ และคำว่า لايشيئ นี้ก็มาจากรากศัพท์ของกริยา تفاعل ซึ่งก็คือ متلاشی และนั่นก็คือคำว่า لاشيئ และจากประโยคที่ว่า لرايته خاشعا متصدعا หมายถึง متلاشی แล้วทำไมต้อง متلاشی (แตกเป็นเสี่ยง ๆ) ด้วย ? ทำไมพระองค์อัลลอฮไม่ใช้คำว่า من خشيتنا แต่ดำรัสว่า من خشيه الله จากการเลือกคำที่เอ่ยถึงบุรุษที่สามมาใช้นั้น เพื่อที่จะเน้นย้ำถึงเหตุผลของฮุก่มนี้ ดังนั้นที่มาของกฎดังกล่าวคือ อายะห์ที่ว่า لو انزلنا هذا القرآن علی جبال خاشعا متصدعا ทำไมพระองค์อัลลอฮ (ซบ.)ไม่ใช้คำว่า من خشتنا แต่ใช้คำว่า من خشيه الله เนื่องจาก الله เป็นผู้ดำรัส ซึ่งสรรพสิ่งใด ๆ ก็ไม่สามารถที่จะต้านทานคำดำรัสของพระองค์ไว้ได้ ดังจะเห็นได้จาก 3 อายะห์ดังที่จะกล่าวต่อไป ซึ่งเป็นอายะห์ที่กล่าวเกี่ยวกับพระนามของพระองค์ ดังนี้คือ
- พระองค์คืออัลลอฮ พระผู้ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ (ซูเราะห์ฮัชร์ อายะห์ที่ 22)
- พระองค์คืออัลลอฮ ทรงเป็นพระเจ้า ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ (ซูเราะห์ฮัชร์ อายะห์ที่ 23)
- พระองค์อัลลอฮทรงบันดาล ทรงประดิษฐ์ (ซูเราะห์ฮัชร์ อายะห์ที่ 24)
จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 อายะห์ข้างต้นถูกประทานลงมาอย่างต่อเนื่องกัน และเป็นโองการที่กล่าวถึงพระนามอันเจิดจรัสขององค์ผู้ดำรัส ดังนั้นถ้าหากผู้ดำรัสเป็นผู้ยิ่งใหญ่แล้วไซร้ คำดำรัสของพระองค์ก็ต้องยิ่งใหญ่เช่นกัน และคำดำรัสของพระองค์ยิ่งใหญ่เสียจนกระทั่งภูเขาก็ไม่อาจต้านทานไว้ได้

ในที่นี้ คำว่า خشيت มิได้หมายถึง خوف (ความกลัว) และระหว่างคำว่า خشيت กับคำว่า خوف มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ خشيت เป็นความเกรงกลัวที่มีผลต่อจิตใจ แต่คำว่า خوف มิได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากบรรดาผู้ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าจะยำเกรง (خشيت)ต่อพระองค์เท่านั้น พวกเขาจะไม่ยำเกรงสิ่งอื่นใดที่นอกเหนือจากพระองค์ แต่บรรดาผู้ศรัทธาในพระเจ้าก็จะเหมือนกับบุคคลอื่นทั่วไปที่มีความกลัว (خوف)ต่อพยันอันตรายต่าง ๆ อาทิ งู แมงป่อง แมลงสัตว์กัดต่อยต่าง ๆ และสัตว์ที่ล่าเหยื่อเป็นอาหาร ตลอดจนอันตรายที่เกิดจากยวดยานพาหนะ แต่ทว่าพวกเขาไม่ยำเกรง (خشيت) สิ่งอื่นใดนอกจากพระองค์ กล่าวคือ خوف เป็นความกลัวที่มีผลมาจากการกระทำ แต่ทว่า خشيت เป็นความเกรงกลัวที่มีผลมาจากการที่มนุษย์รู้ถึงต้นตอของสิ่งนั้นจึงเกิดความยำเกรงสิ่งนั้นขึ้น ซึ่งในที่นี้คือความยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ (ซบ.) และอาจเป็นความเกรงกลัว خشيت ที่ควบคู่กับจิตใต้สำนึก ดังนั้นแสดงให้เห็นแล้วว่าภูเขาก็มีจิตใต้สำนึกเช่นกัน เพื่อเป็นการพิสูจน์จิตใต้สำนึกของภูเขาสามารถนำเหตุผลมาอ้างอิงได้ดังนี้คือ
เหตุผลแรกคือ จิตใต้สำนึกทั่ว ๆ ไป ซึ่งพระองค์อัลลอฮ (ซบ.)ทรงพิสูจน์ให้ทุก ๆ สรรพสิ่งได้เห็น คือ และเฉพาะต่อพระองค์เท่านั้นได้ยอมสวามิภักดิ์โดยผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้า (ซูเราะห์อาลิอิมรอน อายะห์ที่ 83) และอายะห์กุรอานซูเราะห์นะฮ์ล อายะห์ที่ 49 ความว่า และสรรพสิ่งในฟากฟ้าต่างกราบกรานต่ออัลลอฮ และในซูเราะห์ฮัชร์ อายะห์ที่ 24 ความว่า สรรพสิ่งในฟากฟ้าต่างกล่าวสดุดีแด่พระองค์ และในซูเราะห์ฟุซซิลัต อายะห์ที่ 11 ความว่า แล้วพระองค์ก็ทรงตรัสแก่มันและแก่แผ่นดินว่า “เจ้าทั้งสองจงดำเนิน (ตามบัญชาของข้า) เถิด ! ทั้งโดยสมัครใจหรือโดยฝ่าฝืนก็ตาม อายะห์กุรอานข้างต้นแสดงให้เห็นถึงเรื่องของจิตใต้สำนึกโดยทั่วไป
สำหรับเรื่องเกี่ยวกับภูเขาที่มีในซูเราะห์ซอดและซูเราะห์อื่น ๆ เป็นคำบัญชาของพระองค์อัลลอฮที่มีต่อภูเขาเพื่อให้พวกมันทำตามนบีดาวูด ซึ่งพวกมันก็เข้าใจและกล่าวสดุดีดังคำบัญชาของพระองค์ ดังในอายะห์ที่ 16 ซูเราะห์ซอด ความว่า แท้จริงเราได้อำนวยภูเขาต่าง ๆ พร้อมกับเขาให้ทำการกล่าวสดุดีพระบริสุทธิคุณทั้งในยามเย็นและยามเช้า และในซูเราะห์สะบะอ์ อายะห์ที่ 10 ความว่า โอ้ภูเขา เจ้าจงกล่าวตัสบีห์พร้อมกับเขา การที่พระองค์อัลลอฮตรัสว่า แท้จริงเราได้ให้ความโปรดปรานแก่ดาวูดโดยบัญชาให้ภูเขากล่าวตัสบีห์พร้อมกับเขาทั้งในยามเช้าและยามเย็น เหมือนดังเช่นการละหมาดญะมาอัตของบรรดามะอ์มูมที่ปฏิบัติตามอิมามของพวกเขา

มนุษย์เป็นผู้มีเกียรติกว่าหรือสรรพสิ่งอื่นมีเกียรติกว่า ?
อัลกุรอานมีคำอรรถาธิบายหนึ่งในเรื่องความยิ่งใหญ่ของมนุษย์ที่เหนือกว่าสรรพสิ่งถูกสร้างอื่น ๆ อาทิ ฟากฟ้า แผ่นดิน และภูเขา เช่นเดียวกันอัลกุรอานก็มีคำอธิบายอื่น ๆ ที่ตรงกันข้ามกับคำอรรถาธิบายข้างต้นด้วย และในบางครั้งอัลกุรอานได้กล่าวถึงบุคคลกลุ่มหนึ่งว่า พวกท่านหรือที่เป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าหรือฟากฟ้ากันเล่าที่ยิ่งใหญ่กว่า ? แท้จริงแล้ว ฟากฟ้าต่างหากเล่าที่ยิ่งใหญ่กว่าพวกท่าน ดังอายะห์กุรอานซูเราะห์อันนาซิอาต อายะห์ที่ 27 ความว่า พวกเจ้ามีกำเนิด (ทางกายภาพ) ที่แข็งแรงกว่า หรือว่าฟากฟ้า (แข็งแรงกว่า) พระองค์ได้สร้างสิ่งนั้นขึ้นมา (ทั้ง ๆ ที่แข็งแรงกว่าพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าที่อ่อนแอกว่า ก็ยิ่งไม่มีข้อน่าสงสัยใด ๆ) ซึ่งอายะห์กุรอานทั้งสองกลุ่มที่กล่าวมาข้างต้นนี้ มีความหมายตรงข้ามกัน หรือกล่าวได้อีกแง่มุมหนึ่งคือ มีอายะห์กุรอานกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า มนุษย์สามารถทำในสิ่งที่ฟากฟ้าทำไม่ได้ ดังนั้นแผ่นดินและภูเขาก็ทำไม่ได้เช่นกัน
ดังในซูเราะห์อะห์ซาบ อายะห์ที่ 72 ความว่า แท้จริงเราได้เสนอ (คุณลักษณะแห่ง) ความซื่อสัตย์ให้แก่ฟากฟ้า แผ่นดิน และภูเขา (ให้รับผิดชอบ) แต่พวกมันขัดขืนที่จะรับผิดชอบสิ่งนั้น และพวกมันมีความหวั่นกลัวสิ่งนั้น (เหลือเกิน) แต่มนุษย์กลับรับมันไว้ แท้จริงเขาเป็นผู้อธรรมยิ่ง อีกทั้งโฉดเขลานัก (จึงไม่สามารถรับผิดชอบความซื่อสัตย์ไว้ได้อย่างแท้จริง) และยังมีอีกหลายอายะห์ที่คล้ายกันนี้ ดังนั้นอายะห์ดังกล่าวเป็นอายะห์ที่กล่าวถึงความสามารถของมนุษย์ในการทำสิ่งต่าง ๆ ที่ฟากฟ้าและแผ่นดิน ตลอดจนภูเขาทำไม่ได้ ซึ่งก็หมายความถึงว่ามนุษย์นั้นยิ่งใหญ่กว่าฟากฟ้าและแผ่นดิน
นอกจากนี้ยังมีอายะห์อื่น ๆ ที่กล่าวถึงฟากฟ้า แผ่นดิน และภูเขาในอีกแง่มุมหนึ่งที่ว่า ฟากฟ้า แผ่นดินและภูเขาต่างหากเล่าที่แข็งแรงกว่ามนุษย์ ซึ่งอายะห์กุรอานทั้งสองกลุ่มนี้มีความเกี่ยวข้องกัน ดังจะเห็นได้จากคำชี้แนะของลุกมานที่มีต่อบุตรของเขา ในซูเราะห์บะนีอิสรออีล อายะห์ที่ 37 ความว่า เจ้าไม่อาจแยกแผ่นดินออกได้ และเจ้าไม่อาจทำตัวให้สูงเท่าเทียมกับภูเขาได้หรอก และในซูเราะห์มุอ์มิน อายะห์ที่ 57 ความว่า แท้จริงการบันดาลฟากฟ้าและแผ่นดินนั้น ย่อมยิ่งใหญ่กว่าการบันดาลมนุษย์ (มากมายนัก) แต่ทว่ามนุษย์ส่วนมากไม่รู้ ดังนั้นหากฟากฟ้าและแผ่นดินยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์ และถ้ามนุษย์ต่ำต้อยกว่าฟากฟ้า และแผ่นดินแล้วไซร้ ทำไมฟากฟ้าจึงไม่สามารถรับผิดชอบสิ่งนั้นไว้ได้ ?
เช่นเดียวกันในซูเราะห์อัลนาซิอาต อายะห์ที่ 27-29 ความว่า พวกเจ้ามีกำเนิดที่แข็งแรงกว่า หรือว่าฟากฟ้า (แข็งแรงกว่า) พระเจ้าได้สร้างสิ่งนั้นมา (ทั้ง ๆ ที่แข็งแรงกว่าพวกเจ้า) / การสร้าง (ฟากฟ้า) นั้น พระองค์ได้ทรงยกส่วนหนา (อันประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ นับแต่ชื่อบรรยากาศ จนถึงขั้นสุญญากาศ และสูงขึ้นไป) ให้สูง แล้วทรงจัดระบบของมันอย่างสมดุล / และทรงให้กลางคืนของมันมืด และให้กลางวันของมันออกมา (ด้วยแสงของดวงอาทิตย์) ดังนั้นอายะห์กุรอานกลุ่มนี้ได้กล่าวไว้ว่า ฟากฟ้าและแผ่นดินสูงส่งกว่ามนุษย์
สำหรับอายะห์กุรอานอีกกลุ่มหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า มนุษย์สามารถทำในทุกสิ่งที่ฟากฟ้าและแผ่นดินไม่สามารถทำได้
หนทางแห่งการรวมอายะห์กุรอานสองกลุ่มนี้เข้าด้วยกัน คือ ถ้าหากว่า มนุษย์ ปราศจากวิญญาณ ศาสนา และสติปัญญาแล้วไซร้ ก็จะหมายถึงร่างกายที่เป็นรูปธรรมตามความเชื่อของบรรดาผู้ปฏิเสธและบรรดาผู้กลับกลอก ดังอายะห์กุรอานที่ว่า : การมีชีวิตจะไม่มี (หลายครั้งเป็นเด็ดขาด) นอกจากชีวิตของเราในโลกนี้เท่านั้น เราตายและเราเป็น (ซูเราะห์มุอ์มินูน อายะห์ที่ 37) และในอีกอายะห์หนึ่งความว่า : ไม่มีชีวิตอื่นใด นอกจากชีวิตของเราที่มีอยู่ในโลกนี้ เราตาย เรามีชีวิต และไม่มีสิ่งใดทำลายเราได้ นอกจากกาลเวลาเท่านั้น (ซูเราะห์ญาซิยะห์ อายะห์ที่ 24) จากทัศนะดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงขีดจำกัดของวัตถุที่มีต่อวะห์ยู ดังนั้นมนุษย์เช่นนี้คือมนุษย์ที่ไร้ซึ่งสติปัญญา และมนุษย์ที่ ไร้สติปัญญานี้ก็คือวัตถุนั่นเอง
สำหรับเรื่องของแผ่นดิน ภูเขา และฟากฟ้าที่ยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์นั้น จากคำชี้แนะของลุกมานที่มีต่อบุตรของเขาในซูเราะห์บะนีอิสรออีล อายะห์ที่ 37 ความว่า : แท้จริงแล้ว เจ้าไม่อาจแยกแผ่นดินออกได้ และเจ้าไม่อาจทำตัวให้สูงเท่าเทียมกับภูเขาได้หรอก เช่นเดียวกันในอายะห์ที่ 57 ซูเราะห์มุอ์มิน ความว่า แท้จริงการบันดาลฟากฟ้าและแผ่นดินนั้น ย่อมยิ่งใหญ่กว่าการบันดาลมนุษย์ (มากมายนัก) และในอายะห์ที่ 27 ซูเราะห์อัลนาซิอาต ความว่า พวกเจ้ามีกำเนิด (ทางกายภาพ) ที่แข็งแรงกว่า หรือฟากฟ้า (แข็งแรงกว่า) พระองค์ได้สร้างสิ่งนั้นมา (ทั้ง ๆ ที่แข็งแรงกว่าพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าที่อ่อนแอกว่า ก็ยังไม่มีข้อน่าสงสัยใด ๆ ) ซึ่งมนุษย์นี้ไม่สามารถรับผิดชอบสิ่งนั้นไว้ได้ ดังอายะห์กุรอานที่ว่า مَثَلُ الَّذِينَ حُمِّلُوا القُرآنَ ثُمَّ لَم يَحمِلُوها และ مَثَلُ الَّذِينَ حُمِّلُوا الانجيل ثُمَّ لَم يَحمِلُوها และ مَثَلُ الَّذِينَ حُمِّلُوا التَّورَاتَ ثُمَّ لَم يَحمِلُوها กล่าวคือ ผู้ใดก็ตามที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติ مثل او کمثل الحمار يحمل اسفارا พวกเขาประดุจเดียวกับลาที่บรรทุกตำราต่าง ๆ ดังนั้นพวกเขาจะไม่สูงส่งไปกว่าภูเขาและแผ่นดินเลย ดังอายะห์ที่ 187 ซูเราะห์อาลิอิมรอน ความว่า แล้วพวกเขากลับขว้างคัมภีร์ไว้เบื้องหลังของพวกเขา นี่คือมนุษย์ที่ปราศจากและไร้ซึ่งสติปัญญา ซึ่งพวกเขาไม่มีวันที่จะสูงส่งไปกว่าฟากฟ้าได้เลย แต่ทว่ามนุษย์ที่ยอมรับและเข้าใจและปฏิบัติตามบทบัญญัติแล้วไซร้ พวกเขาเป็นพวกที่สูงส่งกว่าฟากฟ้าอย่างแน่นอน เนื่องจากฟากฟ้าทั้งมวลจะถูกทำลายในวันแห่งการตอบแทนตัดสิน ดังอัลกุรอานซูเราะห์อัซซุมัร อายะห์ที่ 67 ความว่า อันแผ่นดินทั้งหมดข้าจักกำมันไว้ และฟากฟ้าทั้งมวลข้าจักพับมันไว้โดยอำนาจของข้า ในวันนั้นเองร่างกายของมนุษย์จะตายไป และพระองค์อัลลอฮจะทรงให้ฟื้นคืนชีพขึ้นอีกครั้ง แต่ทว่าวิญญาณเท่านั้นที่ไม่มีวันดับสลาย ส่วนภูเขาและฟากฟ้าจะถูกทำลายราบเรียบเป็นหน้ากลอง

ผู้สนับสนุน