คำตอบ : เป็นเพราะการตัฟซีรกุรอานโดยไม่มีความรู้ และไม่ศึกษาอย่างถ่องแท้เป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ และเป็นรูปแบบหนึ่งของการ “อธิบายกุรอานโดยใช้ทัศนะส่วนตัว” ถือเป็นสิ่งที่ต้องละทิ้ง ดังนั้นจากตรงนี้เองเราจำเป็นที่จะต้องมาพิจารณาถึงแหล่งอ้างอิงของการอรรถาธิบายพร้อมทั้งพิจารณาถึงบันทัดฐานของการค้นคว้าของเราเกี่ยวกับเพื่อให้ได้รับมาถึงสาระธรรมคำสอนที่แท้จริงของกุรอาน และเพื่อหลีกเลี่ยง “การอรรถธิบายกุรอานโดยใช้ทัศนะส่วนตัว” แหล่งอ้างอิงที่สำคัญสำหรับการอรรถาธิบายกุรอานคือ ตัวกุรอานเอง ซึ่งกุรอานเองเป็นสิ่งที่ชัดเจนและอรรถาธิบายตัวของกุรอานเองอยู่แล้ว แหล่งอ้างอิงที่สองสำหรับการอรรถาธิบายกุรอานคือ วจนะของท่านศาสดา (ศอลฯ) ซึ่งถ้าพิจารณาตามความหมายของฮะดิษ ซะกอลัยน์ แล้วบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์จะอยู่เคียงคู่กับกุรอานตลอด และถ้าเราทิ้งสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็เท่ากับเราละทิ้งทั้งสองสิ่งดังนั้นเราจำเป็นต้องยึดทั้งสองสิ่งเอาไว้พร้อม ๆ กันแหล่งอ้างอิงที่ สามคือสติปัญญาที่บริสุทธิ์จากความงมงายทั้งหลาย ความหมายของคำว่าสติปัญญาในที่นี้คือ กฎสติปัญญาที่ใช้พิสูจน์การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าและคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระองค์ ดังนั้นถ้าหากสติปัญญาสนับสนุนถึงความถูกต้องของประเด็นหนึ่งหรือพิสูจน์ถึงความผิดพลาดของประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ในการอรรถธิบายกุรอานจะต้องยึดเอาสิ่งที่สติปัญญาพิสูจน์ถึงความถูกต้องนั้นเอามาเป็นหลักฐานและละทิ้งสิ่งที่สติปัญญาถือว่าผิดพลาด ในการอธิบายกุรอาน ตัวอย่างเช่น โองการหนึ่งของกุรอาน หากดูเผินๆ สามารถตั้งสมมุติไปได้หลายสมมุติฐาน แต่หากไปพิจารณาในกฏหลักสติปัญญาและพิสูจน์ได้ว่ามีเพียงสมมุติฐานเดียวเท่านั้นที่ถูกต้อง ในการอธิบายกุรอานเราจะต้องทิ้งสมมุติฐานอื่นที่สติปัญญาปฏิเสธและไม่สอดคล้องกับความโองการใดเลยทั้งหมด และยึดเอาสมมุติฐานที่สติปัญญายอมรับเท่านั้น หรือบางโองของกุรอานที่สามารถตั้งสมมุติฐานไปได้หลายสมมุติฐาน แต่บางสมมุติฐานนั้นเมื่อพิจารณาด้วยสติปัญญาแล้วไม่กินกับสติปัญญาเลย เราจะต้องทิ้งสมมุติฐานนี้ไปเสียแล้วไปยึดสมมุติฐานที่เหลืออยู่ทั้งหมดโดยไม่ให้น้ำหนักกับสมมุติฐานใดสมมุติฐานหนึ่งข้อพึงสังเกตุ : เราไม่สามารถนำผลลัพธ์ของการวิจัยหรือการค้นคว้าทางวิชาการมายัดเยียดให้กับกุรอาน แต่ให้นำมาเป็นข้อสนับสนุนได้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น