ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการโกหกนั้นถือว่าเป็นสิ่งชั่วร้ายและเป็นบาป แต่มิได้หมายความว่าการโกหกในทุกๆสถานการถือเป็นสิ่งชั่วร้าย แต่บางสถานการต้องเผชิญกับจำเป็นและทีสมควรที่ยิ่งใหญ่กว่าคือเขาเลือกระหว่างการโกหกกับ ประโยชน์ส่วนรวมอันยิ่งใหญ่กว่าในกรณีนี้ถือเป็นการอนุญาติ
๑.จำเป็น
ในบางครั้งเพื่อยับยั้งความเสียหายอันใหญ่หลวง อันได้แก่ ชีวิต ทรัพสิน เกรียติยศ ไม่มีหนทางใดนอกจากการโกหก ในกรณีเช่นนี้ถือเป็นการอนุญาติดังในกรุงอานได้กล่าวถึงผู้ที่ถูกบังคับได้คำปฏิเสธออกมาในขณะที่หัวใจของพวกเขามีความศรัทธาต่อพระเจ้า โดยการที่เขาไม่ต้องกังวลในการปฏิบัติของเขา
إِلاَّ مَنْ أُكْرِهَ وَقَلْبُهُ مُطْمَئِنٌّ بِالإِيمَانِ
ยกเว้นบุคคลที่ถูกบังคับ(ให้ปฏิเสธ) แต่หัวใจของเขายังมั่นคงในศรัทธา
นะห์ลิ ๑๐๖
๒.สร้างสัมพันธ์ที่ดี
เพื่อที่จะขจัดความขัดแย้งและการเป็นศัตรูในหมู่ประชาชน( ครอบครัว หรือ เพือน ) หากไม่มีหนทางใดอีกแล้วนอกจากการโกหก ในกรณีนี้ถือเป็นที่อนุญาติ ในทาง ตรงข้ามหากความสัตร์จริงสร้างให้เกิดการเป็นศตัรูในหมู่ประชาชนถือเป็นสิ่งชั่วร้าย
๓.กลยุทธทางสงคราม
หนึ่งในเท็กนิคทางทหารและในอิสลามถือเป็นสิ่งอนุญาติ คือกลยุทธในการหลอกลวงศัตรู เพื่อให้เกิดความสับสน ดังนั้นทั้งการพูดและการกระทำเพื่อหลอกลวงต่อฝ่ายศัตรู แม้ต้องใช้การโกหกต่อศัตรูในสนามรบ ก็ถือว่า อนุญาติ
ท่านศาสดา ศ ได้กล่าวแก่ท่านอะลี อ ว่า การโกหกถูกอนุญาติใน สามเหตุการณ์และหนึ่งในนั้นคือ กลยุทธในการรบ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น