การนินทาถือเป็นสิ่งต้องห้าม(ฮะรอม)


อาจจะมีใครหลายคนที่สงสัยว่าเพราะเหตุใดการนินทาถึงได้เป็นสิ่งต้องห้ามและในศาสนาได้กำชับให้ออกหางจากการกระทำดังกล่าว และถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งชั่วร้าย ในฉบับนี้เราจะมาหาคำตอบกันนะคะ สิ่งที่ชัดเจนประการหนึ่งก็คือ ความกริ้วโกรธของพระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ) และการไม่พอใจของศาสดาและเหล่าบรรดา อะอิมมะฮ์ มะศูมมีน ถือว่าเป็นการงานที่
ชั่วร้ายและเป็นบาป ในเรื่องของการนินทาเราจะเห็นโองการอัล-กรุอานและรายงานหะดีษมากมายได้กล่าวตำหนิในความชั่วร้ายของการนินทา
โองการอัล-กรุอานได้กล่าวว่า
เจ้าจงอย่านินทาซึ่งกันและกัน เจ้าชอบหรือที่จะกินเนื้อพี่น้องของเจ้าที่ตายไปแล้ว ? (ซูเราะฮ์ หุญุรอต / ๑๒ )
ในโองการนี้ได้อธิบายถึงการนินทาว่าเป็นการกินเนื้อพี่น้องตัวเอง ที่ตายไปแล้ว หมายถึงการนินทาพี่น้องร่วมศาสนาอยู่ในสถานะการฆ่า และกินซากศพ เพราะการนินทานั้นได้ทำลายเกียรติยศ ชื่อเสียง ซึ่งก็เปรียบเหมือนเลือดที่ไหลออกจากร่าง มิอาจย่อนกลับมาได้อีก เมื่อมันเสียไปแล้ว มันก็ไม่สามารถเรียกกลับมาได้อีกแล้ว ด้วยสาเหตุนี้เองเราจึงต้องปกป้องศักศรี และเกียรติยศของพี่น้องมุสลิม โดยถือว่าการนินทานั้นเป็นสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) และนี้คือการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการรักษา เกียรติยศ ชื่อเสียง ของพี่น้องมุสลิม
นอกจากนั้นในอิสลามถือว่าการฆ่าพี่น้องมุสลิมและการทำลายศักศรี ชื่อเสียง ถือเป็นบาปใหญ่ และถือเป็นสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม)
ดังในวัจนะของท่านศาสดามูฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าว่า
เลือด ทรัพย์สิน เกียรติยศ ศักดิ์ศรี ของมุสลิมสำหรับ มุสลิมถือเป็นสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) (กันซุลอุมมาล เล่ม ๑ หน้า ๑๕๐ หะดีษ ๗๔๗)
การนินทาถือเป็นการทำลายเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ของพี่น้องมุสลิมและถือเป็นการไม่ให้เกียรติ แก่พี่น้องมุสลิม เช่นเดียวกัน การฆ่า, ยึดทรัพย์ ของพี่น้องมุสลิมถือเป็นสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) ดังนั้นถือเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่จะต้องปกป้อง ศักดิ์ศรี ของมุสลิม ด้วยการไม่นินทา และไม่ฟังการนินทา หากผู้ใดสามารถกระทำหน้าที่นี้ได้ เขาก็จะได้เข้าสู่ความพิงพอพระทัยจากเององค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) แต่ถ้าหากเขาละเลยหน้านี้ เขาจะได้รับความกริ้วโกรธจากพระองค์
ดังวัจนะของท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า
ผู้ใดก็ตามที่ได้ปกป้องชื่อเสียงของพี่น้องมุสลิม ในวันกิยามะฮ์พระองค์จะรักษาเกียรติยศและศักดิ์ศรีของเขา ไว้เช่นกัน (บิฮาร เล่ม๗๕ บทที่ ๖๖ หะดีษที่ ๑)
เช่นเดียวกันท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ได้กล่าวว่า
ผู้ใดก็ตามที่ได้ปกป้องชื่อเสียงของพี่น้องมุสลิม พระองค์จะช่วยเหลือเขาให้ออกจากไฟนรกยะฮันนัม (มะฮัจญะตุลบัยฎออ์ เล่ม ๕ หน้า ๒๖๑)
และนี้ก็คือผลตอบแทนในการละทิ้งการนินทาส่วนผลตอบแทนในการทำการนินทา คือการที่เขาจะได้รับการลงโทษอย่างแสนสาหัสในไฟนรก และผลบุญทั้งหมดที่เขาได้ประกอบมาจะถูกมอบให้แก่ผู้ทีเขาทำการนินทานั้นเอง
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่ากุรอานได้กล่าวตำนิการนินทาอย่างรุนแรงและถือว่าเป็นบาป การเปรียบเปยเช่นนี้ไม่เคยมีปรากฏในบาปอื่นๆเลย อีกประการหนึ่งก็คือในโองการนี้ได้อธิบายถึงโทษของผู้ที่ทำการนินทาว่าเขาจะมีสภาพตามที่กรุอานได้กล่าวมานั้นคือเขาจะถูกสั่งให้กินสากศพของพี่น้องของเขา นอกจากนั้นยังมีหะดีษมากมายกล่าวถึงโทษทัณของการนินทา
วัจนะของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ได้กล่าว่า
ในค่ำคืนแห่งเมะรอด ฉันได้เดินทางผ่านกลุ่นชน กลุ่มหนึ่งที่ใช้กรงเล็บของเขากรีดไปบนใบหน้าของเขาเอง ฉันได้ถามญิบรออีลว่าพวกเขาคือใคร ? พวกเขาคือกลุ่มชนที่ทำการนินทาและทำลายเกรียติของผู้อื่น
(บิฮาร เล่ม ๗๕ บทที่ ๖๖ หะดีษ ๑)
นอกจากโทษทัณของการนินทาแล้ว อิสลามได้กล่าวอีกการนินทาคือการแพร่ขยายความชั่วช้าให้เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งถือว่าเป็นบาปใหญ่
ดังโองการอัล-กรุอานได้กล่าวว่า
แท้จริงบรรดาผู้มีจิตใจรัก ที่จะแพร่สิ่งชั่วร้ายในกลุ่มชนที่มีศรัธทานั้น พวกเขาจะต้องได้รับโทษอันแสนทรมานทั้งในโลกนี้และโลกหน้า (ซูเราะฮ์นูร ๑๙ )
ท่านอิมามญะฟัรศอดิก(อ.)ได้อธิบายโองการข้างบนไว้ว่า
ผู้ใดที่นำความลับของพี่น้องมุสลิมมากล่าว ล่วนแล้วแต่เป็นผู้ที่พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ)ได้ทรงกล่าวถึงพวกเขาว่า พวกเขาคือกลุ่มชนที่ชอบให้เกิดความชั่วร้ายแพร่หลายไปในหมู่มุอ์มิน (บิฮาร เล่ม ๗๕ บทที่ ๖๖ หะดีษ ๒)
ดังนั้นความหมายของท่านอิมามคือผู้ใดก็ตามได้ทำการนินทามุอ์มิน เขาคือกลุ่มชนผู้แพร่ขยายความชั่วร้ายนั้นเอง
มีรายงานหะดีษได้กล่าวถึงความชั่วร้ายของบาปการนินทาไว้อีกว่า นินทาคืออาหารของสุนัขในยะฮันนัม
ดังรายงานว่าท่านอิมามฮุเซนได้กล่าวแก่ชายที่กำลังนินทาผู้อื่นว่า
เจ้าอย่านินทา เพราะมันเป็นอาหารของสุนัขในนรกยะฮันนัม(บิฮาร เล่ม ๗๘ บทที่ ๒๐ หะดีษ ๒)
ผู้ใดมีข้อบกพร่องอยู่ในตัวเขา เขาจะพยายามหาข้อบกพร่องของผู้อื่นมาเปิดเผยแก่ประชาชนเพื่อที่จะได้ปกปิดข้อบกพร่องของตน
ดังท่านอิมามอะลี(อ.)ได้กล่าวว่า
ผู้ใดมีข้อบกพร่องอยู่ในตัวเขา เขาชอบที่จะเปิดเผยข้อบกพร่องของผู้อื่น เพื่อข้อบกพร่องต่างๆของเขาจะถูกปกปืดไว้
ท่านอิมามญะฟัรศอดิก(อ.)ได้กลว่าว่า
การนินทาเป็นสิ่งฮะราม(ต้องห้าม)สำหรับมุสลิมทุกคน ดังเช่นไฟทีกำลังเผาไหม้ไม้ฝืน ฉันใด การนินทากำลังกลืนกินการงานอันดีงานฉันนั้น
มีรายงานจากท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ได้กล่าว่า
ในวันกิยามัต เมื่อผู้หนึ่งได้มายืนอยู่เบื่องหน้าอัลลอฮ์ เมื่อสมุดบันทึกการงานของเขาได้ถูกมอบแก่เขา เมื่อเขาเปิดมันออก เขาไม่พบการงานอันดีใดๆเลย เขาได้กล่าวต่อพระองค์ว่า โอ้พระองค์นี่ไม่ใช่สมุดบันทึกการงานของข้าพระองค์ เพราะข้าพระองค์ไม่เห็นอิบาดะฮ์ใดๆของข้าพระองค์เลย พระองค์กล่าวแก่เขาว่า พระผู้อธิบาลของเจ้ามิได้หลงลืม แต่ทว่าการงานของเจ้านั้นได้หายไปเพราะการนินทาของต่อประชาชน และอีกคนหนึ่งได้ถูกนำตัวเขามา สมุดบันทึกได้ถูกมอบแก่เขา เขาได้เห็นอิบาดะฮ์มายมายในนั้น เขาได้กล่าวต่อพระองค์ว่า โอ้พระองค์นี่ไม่ใช่สมุดบันทึกการงานของข้าพระองค์ เพราะทั้งหมดนี้ไม่ใช่อิบาดะฮ์ของฉัน พระองค์กล่าวแก่เขาว่า เพราะเขาผู้นั้นได้นินทาเจ้า ดังนั้นเจ้าจึงได้รับการงานที่ดีของเขา(บิฮาร เล่ม ๗๕ บทที่ ๖๖ หะดีษ ๕๓)
มีเรื่องเล่าจากอุลามะฮ์ท่านหนึ่งว่า เมื่อมีคนมาแจ้งข่าวว่ามีคนผู้หนึ่งได้ทำการนินทาท่าน ท่านได้เผยยิ้มที่มุมปาก และบอกกับลูกศิษย์ของท่านว่า จงนำขนมหวานไปมอบยังบ้านของชายผู้นั้นเถิด และจงกล่าวสานนี้แก่เขาว่า ฉันได้ทราบว่าท่านได้ส่งการงานที่ดีของท่าน มาในสมุดบันทึกการงานของฉัน ฉันจึงส่งขนมหวานมาเพื่อเป็นการขอบคุณ จงรับการขอบคุณนี้เถิด
ทั้งหมดนี้ก็คือผลตอบแทนแก่ผู้ที่ทำการนินทาและมันคือบทสรุปได้อย่างชัดเจนว่าทำไมอิสลามถึงมีทัศนะที่รุงแรงต่อการนินทาและถือว่าการนินทาเป็นสิ่งต้องห้าม(ฮะรอม) ส่วนผู้ที่ฟังการนินทาในทัศนะของอิสลามแล้ว อยู่ในสถานะของผู้นินทาเช่นเดียวกัน และถือเป็นสิ่งต้องห้าม(ฮะราม)
ดังวัจนะของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ได้กล่าว่า
ผู้ที่ฟังการนินทาเท่ากับเขาคือผู้นินทา(บิฮาร เล่ม ๗๕ บทที่ ๖๖ หะดีษ ๑)
และอาจเกิดคำถามขึ้นว่า หากเราไปอยู่ในวงนินทาควรทำอย่างไร? หากมีความสามารถจำเป็นต้องปกป้องมุอ์มินผู้นั้น
ดังวัจนะของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ได้กล่าว่า
บุคคลใดก็ตามเมื่อได้ยินการนินทาต่อพี่น้องร่วมศาสนาของเขาและเขาได้ทำการปกป้อง อัลลอฮ์(ซ.บ) จะทรงปกป้องเขาให้เขาพ้นจากความชั่วร้ายถึงหนึ่งพันสิ่ง ทั้งทางโลกนี้และโลกหน้า (บิฮาร เล่ม ๗๖ บทที่ ๖๗ หะดีษ ๓๐) และเป็นสิ่งที่ชัดเจนว่าถ้าหากเราไม่สามารถขจัดการนินทาหรือปกป้องชื่อเสียงของผู้ที่ถูกนินทาได้ จำเป็นที่เขาควรจะออกจากกลุ่มที่ทำการนินทา

การนินทา

ลิ้นหรือการพูดคือสื่อในการสร้างความสัมพันธ์ และติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วยกัน บางครั้งเราอาจจะคิดว่าเนื้อก้อนเล็กๆชิ้นนี้คงจะไม่มีประโยชน์และโทษมากมายสักเท่าไร แต่เมือพิจารณาดีๆแล้ว ลิ้นก็ก่อให้เกิดโทษและบาปต่างๆขึ้นมากมายได้ ลิ้นที่สามารถสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในโลกได้ ลิ้นอันนี้เองก็สามารถสร้างสงครามให้เกิดขึ้นในโลกได้ด้วยเช่นกัน บาปหนึ่งที่เกิดจากลิ้นก็คือการนินทา และถือว่าเป็นความชั่วร้ายหนึ่งที่ทำลายสังคม และก่อให้เกิดความคิดในทางที่ไม่ดีต่อกันหรือยิ่งไปกว่านั้นก็คือนำไปสู่ความบาดหมางและความเกลียดชังกัน และสังคมใดมีการนินทาสังคมนั้นจะไม่พบเห็นการเป็นเอกภาพ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และความร่วมมือกันก็จะสูญสลายไป ในขณะที่ความเป็นศัตรูจะเข้ามาแทนที่ และจะทำให้ความชั่วร้ายต่างๆแพร่ระบาดทั่วไปในสังคม ในบรรดาโองการอัล กุรอานและหะดีษได้แสดงท่าทีด้วยคำพูดที่รุนแรงอย่างมากต่อประเด็นของการนินทา ในฉบับนี้จะขอหยิบยกเรื่องการนินทามาพูดคุยกัน ซึ่งเป็นปัญหาที่ใกล้ตัวเราทุกคนมากทีเดียว บางท่านอาจจะเกิดคำถามขึ้นในใจว่า การนินทาคืออะไร และการปฏิบัติอย่างไร ถือว่าเป็นการนินทา
บรรดานักวิชาการอิสลามได้ให้ความหมายของคำว่า “ ฆ็อยบะฮ์” การนินทา ว่าคือการพูดสิ่งหนึ่งเกี่ยวกับมุสลิม ซึ่งเป็นข้อบกพร่องที่เขาปกปิดไว้ซึ่งหากเขาได้ยิน เขาจะรู้สึกโกรธและไม่พอใจ ไม่ว่าข้อบกพร่องของเขานั้นจะเป็นเรื่องศาสนา,มารยาท,คำพูด,หรือแม้จะความบกพร่องของร่างกายก็ตาม
ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)กล่าวว่า “ การนินทาคือการพูดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวกับพี่น้องมุสลิม หากเขาได้ยินเขาจะรู้สึกโกรธและไม่พอใจ ได้มีศอฮาบะฮ์ท่านหนึ่งถามท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ว่า “ การที่เราพูดถึงพี่น้องมุสลิมในเรื่องที่เป็นจริงของเขา ถือว่าเป็นการนินทาหรือไม่?” ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)กล่าวตอบว่า” หากเป็นข้อบกพร่องที่ปรากฏจริงในตัวเขา และพวกเจ้านำมาพูด พวกเจ้าได้ทำการนินทา แต่ถ้าหากข้อบกพร่องนั้นเป็นเท็จ ถือเป็นการใส่ร้าย “

ยังมีรายงานในเรื่องนี้อีกว่า “ ครั้งหนึ่งในขณะที่ศอฮาบะฮ์กลุ่มหนึ่ง ได้พูดคุยเรื่องราวของชายผู้หนึ่ง โดยพูดว่า “ ชายผู้นั้น .....อ่อนแอ และไม่มีความสามารถใดๆเลย “ เมื่อท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ได้ยินคำพูดดังกล่าวนั้น ท่านกล่าวต่อศอฮาบะฮ์กลุ่มนั้นว่า “ พวกท่านได้ทำการนินทา “ ศอฮาบะฮ์กล่าวว่า “ พวกเราพูดถึงความจริงที่มีในตัวของเขา “ ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)กล่าวตอบว่า” หากพวกท่านพูดเรื่องที่เป็นเท็จในตัวของเขา แน่นอนพวกท่านได้ทำการใส่ร้ายเขา”
เมื่อพิจารณาในตัวบทหะดีษข้างต้นเราจะเห็นว่ามีเส้นบางๆที่ขีดกั้นระหว่างการนินทาและการใส่ร้ายอยู่ แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราตระหนักมากยิ่งขึ้นนั้นคือ การเดินเข้าไปสู่บาปของการนินทาและการใส่ร้ายเป็นเรื่องที่ง่ายดาย หากเราไม่ระมัดระวังตัวเอง และเพื่อที่จะแยกแยะให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นระหว่างการนินทากับการใส่ร้าย เราจึงขอนำเสนอและกล่าวถึงเงื่อนไขต่างๆที่ถือว่าเป็นการนำไปสู่การนินทา ซึ่งมีดังต่อไปนี้
๑. ผู้พูดมีเจตนาที่จะเปิดเผยข้อบกพร่องที่ถูกปกปิดของผู้อื่น ดังนั้นหากพูดถึงข้อบกพร่องของบุคคลหนึ่งที่เป็นเรื่องเปิดเผยไม่ถือว่าเป็นการนินทา ถือว่าเป็นบาปแต่ไม่อยู่ในบาปที่เกิดขึ้นจากการนินทา เช่นการกล่าวถึงข้อบกพร่อง หรือความพิการของบุคคลหนึ่งที่สิ่งดังกล่าวนี้คนในสังคมเห็นและรับรู้กันทั่วไปซึ่งการกระทำดังกล่าวไม่ถือเป็นการนินทาแต่จะเป็นบาปในเรื่องการล้อเลียนผู้อื่น เกี่ยวกับเรื่องนี้มีรายงานจากท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.) ได้กล่าวว่า “ บุคคลใดกล่าวถึงข้อบกพร่องของผู้อื่น ที่มีอยู่ในตัวเขา และประชาชนทั่วไปรู้ในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี การพูดเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการนินทา แต่ทว่าหากสิ่งที่พูดเป็นข้อบกพร่องที่มีอยู่ในตัวเขา และไม่มีผู้ใดรู้ ท่านกลับนำเรื่องนี้มาพูดคุย การทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการนินทา และหากพวกท่านพูดถึงเรื่องที่เป็นเท็จในตัวเขา ท่านได้ทำการใส่ร้ายเขา”
๒. ข้อบกพร่องจะต้องเป็นความจริง มิฉะนั้นจะเป็นการใส่ร้าย
๓. มีเจตนาเพื่อทำลาย หรือทำให้ทุกข์ใจ แต่หากมีเจตนาเพื่อแก้ไขปัญหา ไม่ถือว่าเป็นการนินทา เช่น การบอกและอธิบายถึงข้อบกพร่องที่เป็นความลับของผู้ป่วยให้แพทย์ฟัง
๔. ผู้ที่พูดถึงต้องเป็นที่รู้จักของผู้ฟัง ดังนั้นหากพูดถึงบุคคลที่สาม โดยไม่บอกว่าเป็นใครไม่ถือว่าเป็นการนินทา
๕. ผู้ที่พูดถึงมิได้กระทำผิดบาปอย่างเปิดเผยและโจ้งแจ้ง เพราะบุคคลที่ทำผิดบาปอย่างเปิดเผยนั้น ไม่มีความระอายและรักในเกียรติยศชื่อเสียงของตนเองอีกต่อไป
๖. ผู้ที่ถูกนินทาเป็นมุสลิมและผู้ศรัทธา
อย่างที่เคยกล่าวมาแล้วว่า ลิ้นสามารถสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นฉั้นใด ลิ้นก็สามารถสร้างสงครามให้เกิดขึ้นได้ฉั้นนั้น ดังนั้นในการใช้คำพดหรือลิ้นของเราควรมีสติ และคิดใคร่ครวญก่อนเสมอค่ะ

การคบเพื่อนและบุคคลรอบข้าง

เพื่อนนั้นมีผลกระทบอย่างมากในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ โดยที่เราไม่อาจละเลยถึงความสำคัญของข้อนี้ได้เลย ความสำเร็จต่างๆตั้งมากมายเท่าใดแล้วที่เกิดขึ้นเนื่องจากผลของการคบเพื่อนที่ดี ความผิดพลาดและความล้มเหลวในชีวิตของคนเราตั้งมากมายเท่าใดเล่าที่เป็นผลพวงมาจากเพื่อนเลวๆ ด้วยเหตุนี้ อิสลามจึงได้เน้นย้ำอย่างมากเกี่ยวกับการกระทำความรู้จักเพื่อนและบุคคลที่เราคบหาเป็นมิตร ในเนื้อหาส่วนนี้เราจะขอกล่าวถึงคุณลักษณะต่างๆ ของเพื่อนที่ดีและเพื่อนที่เลว
เพื่อนที่ดี
ในการตอบคำถามที่ว่าเพื่อนที่ดีนั้นคือใคร? ท่านศาสดาได้กล่าวอธิบายถึงบรรทัดฐานต่างๆ ไว้ดังนี้คือ
ท่านศาสดาได้กล่าวอ้างจากท่านศาสดาอีซา ว่า อีซาได้กล่าวตอบบรรดาฮะวารียีน(ผู้ช่วยเหลือ)ซึ่งได้ถามท่านว่า เราจะคบใครเป็นเพื่อน ท่านตอบว่า บุคคลที่การพบเห็นเขาทำให้ท่านรำลึกถึงอัลลอฮ์ และคำพูดของพวกเขาจะเพิ่มพูนความรู้ของพวกเจ้า และการกระทำของพวกเขาจะคะนึงหาต่อโลกหน้า (อาคิเราะฮ์)
๑.การพบเห็นเขาทำให้ท่านรำลึกถึงอัลลอฮ์(ซ.บ)
อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวต่อศาสนทูตของพระองค์เกี่ยวกับบรรดาผู้ศรัทธาและบรรดามิตรสหายที่ดี ไว้เช่นนี้ว่า
และเจ้าอย่าผลักไส บรรดาผู้ทีวิงวอนต่อพระผู้อธิบาลของพวกเขาทั้งยามเช้าและยามเย็น โดยมุ่งหวังความพึงพอพระทัยจากพระองค์
และเจ้าอย่าขกับไล่บรรดาผู้(ยากจน) ที่วอนขอต่อองค์อภิบาลของพวกเขาในยามเช้า และยามเย็นโดยพวกเขามุ่งหวังต่อพระองค์(โดยบริสุทธิ์ใจ) เจ้าไม่มีหน้าที่ที่จะรับผิดชอบโดๆ จากการสอบสวน (ความประพฤติ)ของพวกนั้นเลยสักกรณีเดียวก็ตาม และพวกเขาก็ไม่ต้องรับผิดชอบจากการสอบสวน (ความประพฤติ) ของเจ้าสักกรณีเดียวก็ตาม (ดังนั้น เมื่อความเป็นจริงอย่างนั้น เจ้าก็จงเข้าไปร่วมสังคมกับคนยากจนเหล่านั้น(เถิด) แล้วเจ้าอย่าขับไล่พวกเขา อันจะเป็นเหตุให้เจ้าต้องเป็นหนึ่งจากบรรดาผู้ฉ้อฉลทั้งมวล
อันอาม ๕๓


พระองค์ยังได้ทรงตรัสอีกว่า
และเจ้าจงอดทนอดกลั้นตัวเองให้อยู่ร่วมกับบรรดาผู้ที่วิงวอน (อิบาดะฮ์) ต่อพระผู้อภิบาลของพวกเขาทั้งในยามเช้าและยามเย็น โดยเขามุ่งหวังความพึงพอพระทัยจากพระองค์
กะฟี่ ๒๘
การคบค้าสมาคมกับบรรดาบุคคล ซึ่งเมื่อมนุษย์พบเห็นเขาแล้ว ทำให้เขารำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้านั้น จะเป็นสื่อคุ้มครองมนุษย์จากความชั่วร้ายและสิ่งที่น่าเกลียดทั้งปวง
๒.คำพูดของพวกเขาจะเพิ่มพูนความรู้ของพวกเจ้า
การคบค้าสมาคมกับผู้มีความรู้ คือ ส่วนหนึ่งจากการคบค้สมาคมทีน่ายกย่องสรรเสริญ และเป็นสิ่งที่อิสลามได้ส่งเสริม การคบค้าสมาคมกันในลักษณะเช่นนี้ จะทำให้มนุษย์ปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากเพื่อนที่โง่เขลายิ่งไปกว่านั้น ยังจะเป็นสื่อทำให้มนุษย์มีความรู้ในศาสตร์และมารยาทต่างๆ
ท่านอิมามอะลี ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า จงคบหาเป็นมิตรกับบรรดาผู้มีสติปัญญา และนั่งร่วมกับบรรดาผู้มีความรู้
๓.การกระทำของพวกเขาจะคะนึงหาต่อโลกหน้า (อาคิเราะฮ์)
ตามบรรทัดฐานประการที่สามที่ปรากฏในหะดีษของท่านศาสดามุฮัมมัด จำเป็นที่จะต้องคบค้าสมาคมกับบุคคลที่เนื่องจากความเกรงกลัวต่อไฟนรกและโลกหน้าของเขา จึงทำให้เขาดำรงตนอยู่อย่างบริสุทธิ์จากความแปดเปื้อนในความชั่ว และด้วยเหตุนี้เองเมื่อมนุษย์พบเห็นเขาจึงทำให้รำลึกถึงวันฟื้นคืนชีพ (กิยามะฮ์) และโลกหน้า( อาคิเราะฮ์) การรำลึกถึงวันฟื้นคืนชีพ (กิยามะฮ์)คือปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ยับยั้งมนุษย์จากความชั่ว และมีบทบาทสำคัญทีสุดที่จะยับยั้งมนุษย์จากความชั่ว และมีบทบาทสำคัญในการชี้นำมนุษย์ พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงตรัสไว้ในกรุอานว่า
พวกเขา(บรรดาคนชั่ว)เหล่านั้น ไม่คาดคิดบ้างเลยกระนั้นหรือ ว่าพวกเขาจะต้องถูกทำให้ ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ ในวัน ( แห่งการตัดสิน) อันยิ่งใหญ่
มุฏ็อฟฟิฟีน ๔-๕
จากโองการกรุอานดังต่อไปนี้ทำให้เราทราบว่า หากมนุษย์แค่เพียงคาดคิดว่ามีวันฟื้นคืนชีพ เขาก็จะยับยั้งตนจากการทำความชั่วดังกรุอานได้กล่าวว่า
แท้จริง เราได้ทำให้พวกเขาสะอาดบริสุทธิ์อย่างแท้จริง ด้วยการรำลึกถึงโลกหน้า
ซ็อด ๔๖
หากมนุษย์เราเลือกบุคคลผู้หนึ่งเป็นเพื่อน ซึ่งจากการพบเจอเขาทำให้เรารำลึกถึงโลกหน้า และยับยั้งเราจากการกระทำความชั่ว เราย่อมไม่ออกจากทางนำ ฮิดายะฮ์อย่างแน่นอน
ท่านอิมามซอดิก ได้กล่าวว่า ผู้ใดก็ตามที่เรียกร้องเชิญชวนท่านสู่สถานที่พำนักอนมั่นคงสถาพร แห่งโลกหน้า และช่วยเหลือท่านในการกระทำเพื่อมัน ดังนั้นเขาคือมิตรที่แท้ที่มีความเป็นห่วงเป็นใย
ทั้งหมดนั้นแสดงถึงลักษณะของเพื่อนที่ดีแล้ว ยังทำให้เราเห็นถึงมารยาทต่างๆ ของความเป็นเพื่อนได้ด้วยเช่นกัน
เพื่อนเลว
กรุอานได้ห้ามมวลมุสลิมจากการคบหาเป็นมิตรกับบุคคลต่างๆดังต่อไปนี้
๑.บรรดาผู้ปฏิเสธ
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายพวกเจ้าจงอย่ายึดเอาบรรดาผู้ปฏิเสธมาเป็นมิตรสนิท
นิซาอ์ ๑๔๔
๒. ชาวยะฮูดีและชาวนัศรอนี
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายพวกเจ้าจงอย่ายึดเอาบรรดาชาวยะฮูดีและชาวนัศรอนีมาเป็นมิตร เพราะพวกเขาต่างเป็นมิตรสนิทซึ่งกันและกัน
มาอิดะฮ์ ๕๑
๓.บรรดาศัตรูของพระผู้เป็นเจ้า
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายพวกเจ้าจงอย่ายึดเอาบรรดาศัตรูของข้าและศัตรูของพวกเจ้ามาเป็นมิตรสนิท
มุมตะฮินนะฮ์ ๑
๔.บรรดาผู้ดูถูกเหยีดหยามศาสนา
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายพวกเจ้าจงอย่ายึดเอาบรรดาผู้ซึ่งได้ยึดเอาศาสนาของพวกเจ้ามาเป็นสิ่งเย้ยหยันและเป็นเครื่องเล่น มาเป็นมิตรสนิท
มาอิดะฮ์ ๕๘
๕.บรรดาผู้ถูกโกรธกริ้ว
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายพวกเจ้าจงอย่าผูกมิตรต่อกลุ่มชนทีอัลลอฮ์ทรงโกรธกริ้วพวกเขา
มุมตะฮินนะฮ์ ๑๓
๖.บรรดาผู้ที่เผอเรอจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์
และจงอย่าเมินสายตาของเจ้าไปจากพวกเขา(บรรดาผู้ที่วิงวอนและนมัสการต่อพระผู้เป็นเจ้าทั้งยามเช้าและยามเย็น)โดยเจ้ามุ่งหวังสิ่งประดับในชีวิตแห่งโลกนี้ และเจ้าจงอย่าเชื่อฟังผู้ที่เราได้ทำให้หัวใจของพวกเขาเผอเรอจากการรำลึกถึงเรา
กะฟี่ ๒๘
โองการเหล่านี้ทำให้เราเข้าใจได้ว่าไม่เป็นที่อนุญาติสำหรับมุสลิมที่เขาจะแสดงออกถึงความเป็นมิตรและคบค้าสมาคมกับใครก็ได้ตามที่เขาปราถนา
ท่านอิมามซัจญาด กล่าวว่า โดยอ้างอิงถึงโองการที่ ๖๘ ของซูเราะฮ์อันอาม ไว้เช่นนี้ว่า มิใช่ว่าท่านจะสามารถพูกมิตรกับใครก็ได้ตามที่ท่านปราถนา

มารยาทของการสลาม

เราได้รู้จักถึงความสำคัญของการให้สลามในทัศนะของอิสลามแล้ว ในส่วนนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับมารยาทของการสลามว่าควรปฏิบัติสิ่งใดบ้าง
๑.เมื่อการให้สลามถือว่าเป็นสิ่งดีงามในทัศนะของอัลลอฮ์(ซ.บ) ดังโองการซูเราะฮ์มาอิดะฮ์๔๘ได้กล่าวว่า
ดังนั้นมุสลิมทุกคนควรพยายามที่จะเริ่มต้นการให้สลามก่อน ดังในแบบฉบับของท่านศาสดา จะล่วงหน้าบุคคลอื่นๆ ในการให้สลามเสมอ
ดังท่านอิมามอะลี กล่าวว่า
การให้สลามต่อกันนั้นมี๗๐ ผลบุญ ๖๙เป็นส่วนของผู้เริ่มต้นการให้สลาม ๑ผลบุญเป็นส่วนของผู้ตอบรับสลาม
ท่านอิมามซอดิก กล่าวว่า
ผู้เริ่มต้นการให้สลาม เขาจะได้อยู่ใกล้ชิดที่สุดกับอัลลอฮ์(ซ.บ) และ ท่านศาสดา
๒.การให้สลามและการตอบรับสลามจะต้องกล่าวด้วยเสียงดัง เพื่อที่จะให้ทั้งสองฝ่ายได้ยิน
ท่านอิมามซอดิกกล่าวว่า
เมื่อใดพวกท่านทำการให้สลามต่อผู้อื่น จะต้องกล่าวด้วยเสียงดัง เพื่อว่าจะไม่เจอปัญหาที่ว่า ฉันให้สลามแต่เขาไม่ตอบรับสลามฉัน เพราะอาจเป็นไปได้ว่าการให้สลามของตนพูดด้วยเสียงที่เบาทำให้อีกฝ่ายไม่ได้ยิน และก็เช่นเดียวกันการตอบรับสลามจะต้องกล่าวด้วยเสียงดังเพื่อให้ผู้ให้สลามนั้นไม่กล่าวได้ว่า ฉันให้สลามแต่ทำไมไม่ตอบรับสลามฉัน
๓.การให้สลามต้องกล่าวก่อนคำพูดใดๆ
ท่านศาสดากล่าวว่า
บุคคลใดกล่าวสิ่งอื่นก่อนการให้สลาม จงอย่าพูดและตอบคำถามของเขา
ท่านอิมามฮุเซนกล่าวว่า
ท่านจงอย่าอนุญาติให้เขาปฏิบัติการงานใดจนกว่าเขาจะให้สลาม
๔.การให้สลามนั้นควรให้กับบุคคลทุกตำแหน่งและทุกระดับ
เราจะพบเห็นในชีวประวัติของท่านศาสดามุฮัมมัด และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ ท่านเหล่านั้นจะให้สลามต่อทุกๆคน แม้กระทั้งเด็กเล็กๆ
ท่านศาสดากล่าวว่า
มีอยู่ ๔สิ่งด้วยกันที่ฉันไม่ละทิ้ง หนึ่งในนั้นคือ การให้สลามต่อเด็ก เพื่อที่ว่าภายหลังจากฉันได้ยึดถือปฏิบัติ
และในการให้เริ่มต้นการให้สลามก็มีแบบฉบับอยู่เช่นกันดังท่านศาสดากล่าวว่า
ซุนนะฮ์(แบบฉบับ)ของมันก็คือ ผู้ขับขี่ให้สลามต่อผู้เดินเท้า ผู้ขี่ม้าให้สลามต่อผู้ขี่ลา เด็กให้สลามต่อผู้ใหญ่ กลุ่มคนน้อยให้สลามต่อคนกลุ่มใหญ่ คนยืนให้สลามต่อคนนั่ง
รายงานเช่นนี้ท่านอิมามซอดิก ได้กล่าวไว้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามโดยรวมแล้วการให้สลามก่อนถือเป็นกฏโดยรวมเป็นการงานที่ประเสริฐ และเขาอยู่ในฐานะของผู้นอบน้อม
๕.การตอบรับสลาม ให้เขาตอบรับด้วยสิ่งที่ดีกว่าและสวยงามกว่าหรืออย่างน้อยตอบที่เท่าเทียมกัน
กรุอานได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
และเมื่อใดก็ตามที่พวกเจ้าได้รับากรคารวะด้วยการคารวะหนึ่งๆพวกเจ้าก็จงแสดงการคารวะตอบให้ดีกว่านั้น หรือไม่ก็จงตอบรับ(ให้เท่าเทียมกับ)มัน
ซูเราะฮ์ นิซาอ์ ๘๖


มีรายงานหะดีษว่า มีชายคนหนึ่งเดินเข้ามาหาท่านศาสดาและกล่าวสลามต่อท่านว่า
السلام علیک ท่านศาสดากล่าวตอบว่า علیک السلام ورحمه الله และก็มีชายอีกคนหนึ่งเดินเข้ามาและกล่าวว่า السلام علیک ورحمه الله ท่านศาสดากล่าวตอบว่า وعلیک السلام ورحمه الله وبرکاته และชายที่สามก็เข้ามาและกล่าวว่า السلام علیک ورحمه الله وبرکاته
ท่านศาสดากล่าวตอบว่า السلام علیک ورحمه الله وبرکاته
มีศอฮาบะฮ์ท่านหนึ่งได้ยินทั้ง สามการให้สลามและสามการตอบ ได้ถามต่อท่านศาสดาว่า โอ้ท่านศาสดาในการตอบสลามต่อคนที่ ๑ คนที่ ๒ จะมีประโยคเพิ่มเข้ามา แต่ในคนที่๓ ท่านมิได้กล่าวประโยคใดเพิ่มเติมเลย ท่านกล่าวตอบว่า ไม่มีคำสลามใดลงเหลืออยู่แล้วดังนั้นจึงไม่มีประโยคใดเพิ่มเติมอีก ฉันจึงตอบเช่นเดียวกับเขา
การให้สลามถือเป็นซุนนะฮ์(แบบฉบับ)หนึ่งของอิสลามที่พีน้องมุอ์มินต้องปฏิบัติต่อกัน การให้สลามจะเป็นบ่อเกิดของความรักใคร่ ความสะอาดบริสุทธิ์ของหัวใจเคียดแค้นชิงชัง ขจัดความกินแหนงแคลงใจต่างๆ และก่อให้เกิดความนอบน้อมถ่อมตน และจากรายงานหะดีษทั้งหมดทำให้เราทราบว่าการให้สลามต่อผู้ปฏิเสธ ,ฟาซิก (ละเมิด) ไม่เป็นที่อนุญาติ

การให้สลามและการทักทาย

ตามมารยาทอิสลามเมื่อมุสลิมพบปะกัน จะแสดงออกมาด้วยความรักใคร่และความนอมน้อมถ่อมตนต่อกัน ด้วยการกล่าวสลาม ,การจับมือ, การส่วมกอด แต่ทว่าการกล่าวสลามต่อกันนั้นถือว่ามีความสำคัญกว่า ในโองการกรุอานได้กล่าวถึงสิ่งดังกล่าวไว้เช่นกัน
فَإِذَا دَخَلْتُم بُيُوتًا فَسَلِّمُوا عَلَى أَنفُسِكُمْ تَحِيَّةً مِّنْ عِندِ اللَّهِ مُبَارَكَةً طَيِّبَةً كَذَلِكَ يُبَيِّنُ اللَّهُ لَكُمُ الْآيَاتِ لَعَلَّكُمْ تَعْقِلُون
ดังนั้นเมื่อพวกเจ้าเข้าบ้านใดๆ พวกเจ้าจงให้สลามแก่กันและกัน เป็นการแสดงการคารวะที่(ถูกกำหนดมา)จากอัลลอฮ์ ซึ่งมีแต่ความจำเริญ อีกทั้งความดีงาม เช่นนั้นอัลลอฮ์ทรงชี้แจงบรรดาโองการแก่พวกเจ้าเพื่อพวกเจ้าจะได้ใช้ปัญญาตริตรอง
ซูเราะฮ์นูร ๖๑

وَعِبَادُ الرَّحْمَنِ الَّذِينَ يَمْشُونَ عَلَى الْأَرْضِ هَوْنًا وَإِذَا خَاطَبَهُمُ الْجَاهِلُونَ قَالُوا سَلَامًا
และมวลข้าทาสของอัลลอฮ์พระผู้ทรงเมตตายิ่ง พวกเขาเดินบนแผ่นดินโดยนอบน้อม และเมื่อมวลผู้โฉดเขลาได้สนทนากับพวกเขา พวกเขาก็พูดประสาทสันติสุข(แก่พวกนั้น)
ซูเราะฮ์ฟูรกอน๖๓

قَالَ سَلَامٌ عَلَيْكَ سَأَسْتَغْفِرُ لَكَ رَبِّي إِنَّهُ كَانَ بِي حَفِيًّا
อิบรอฮีมกล่าวว่า “(ถ้าท่านไม่เชื่อข้าพเจ้า) ท่านก็จงมีความสุขสันติเถิด ข้าพเจ้าจะขออภัยต่อองค์อภิบาลของข้าพเจ้าให้แก่ท่าน เพราะแท้จริงพระองค์ทรงเอื้อเฟื้อแก่พวกเจ้าเสมอ
ซูเราะมัรยัม ๔๗


وَلَقَدْ جَاءَتْ رُسُلُنَا إِبْرَاهِيمَ بِالْبُشْرَى قَالُواْ سَلاَمًا قَالَ سَلاَمٌ فَمَا لَبِثَ أَن جَاءَ بِعِجْلٍ حَنِيذٍ
ขอยืนยัน แท้จริงบรรดาเทวทูตของเรา(คือมลาอิกะห์) ได้นำข่าวดีมาแจ้งแก่อิบรอฮีม “สันติสุข (จงประสบแด่ท่าน)”เขาก็กล่าวตอบว่า “สันติสุข” (จงประสบแด่พวกท่านด้วยเช่นกัน) แล้วเขาก็ไม่ชักช้าที่จะนำลูกวัวย่าง(ออกมาต้อนรับพร้อมพวกเขาเหล่านั้นโดยเขาหารู้ไม่ว่าเป็นมลาอิกะห์)
ซูเราะฮ์ ฮูด ๖๙

الَّذِينَ تَتَوَفَّاهُمُ الْمَلآئِكَةُ طَيِّبِينَ يَقُولُونَ سَلامٌ عَلَيْكُمُ ادْخُلُواْ الْجَنَّةَ بِمَا كُنتُمْ تَعْمَلُونَ
พวกเขาเป็นพวกที่มลาอิกะห์ทำให้พวกเขาสิ้นชีวิตในฐานะผู้บริสุทธิ์ (หมดมลทิน) พลางพวกมลาอิกะห์กล่าวว่า “สันติสุขจงประสบแก่พวกท่านเถิด พวกท่านจงเข้าสวรรค์ เพราะความดีที่พวกท่านได้เคยประพฤติไว้”
ซูเราะฮ์ นะห์ลิ ๓๒
นอกจากนั้นยังมีหะดีษมากมายได้กล่าวถึงการให้สลามไว้ดังนี้
ท่านศาสดากล่าวว่า
พวกท่านจะเอาไหม ฉันจะสอนมารยาทที่ดีที่สุดของชาวโลกดุนยาและชาวอาคิเราะฮ์? บรรดาศอฮาบะฮ์ กล่าวตอบว่า พวกเราอยากรู้ ท่านศาสดา กล่าวว่า นั้นคือการให้สลาม
ท่านศาสดากล่าวว่า
สลาม คือพระนามหนึ่งของอัลลอฮ์(ซ.บ) ดังนั้นจงเอยด้วยเสียงดัง
ท่านอิมามซอดิก กล่าวว่า
คุณลักษณะประการหนึ่งของผู้นอบน้อมถอมตน คือเมื่อเขาพบปะกับผู้ใดเขาจะกล่าวสลามต่อผู้นั้น
ท่านอิมามซอดิก กล่าวว่า
มนุษย์ที่เป็นผู้ตระหนี่ทีสุดคือบุคคลที่ตระหนี่ต่อการให้สลาม
ท่านอิมามอะลี ถือว่าการให้สลามคือสิทธิอย่างหนึ่งที่ผู้ศรัทธา (มุอ์มิน)พึงจะได้รับโดยท่านได้กล่าวว่า
สิทธิของมุสลิมที่มีเหนือมุสลิมด้วยกันนั้นมีหก ประการ ประการแรกเมื่อใดก็ตามที่พบเจอกัน เขาจะต้องกล่าวทักทายกันด้วยสลาม

การคาดคิดที่ไม่ดี

การคาดคิดที่ไม่ดีคือ บ่อเกิดของความยุ่งเหยิงต่างๆมากมายในสังคมอิสลามยิ่งไปกว่านั้น รวมถึงสังคมมนุษย์ทั้งหมด การแพร่กระจายข่าวเท็จต่างๆทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเกิดจากการคาดเดาและการคาดคิดในทางไม่ดีทั้งสิ้น พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงตรัสเกี่ยวกับการคาดคิดในทางไม่ดีนี้ว่า
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اجْتَنِبُوا كَثِيرًا مِّنَ الظَّنِّ إِنَّ بَعْضَ الظَّنِّ إِثْمٌ وَلَا تَجَسَّسُوا وَلَا يَغْتَب بَّعْضُكُم بَعْضًا أَيُحِبُّ أَحَدُكُمْ أَن يَأْكُلَ لَحْمَ أَخِيهِ مَيْتًا فَكَرِهْتُمُوهُ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ تَوَّابٌ رَّحِيمٌ
โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงหลีกเลี่ยงจากส่วนมากของการคาดคิด แท้จริงบางส่วนของการคาดคิดนั้นเป็นบาป และพวกเจ้าจงอย่าสอดรู้สอดเห็น
ฮุญุรอต /๑๒


ผลของการคาดคิดที่ไม่ดี
ท่าอิมามอะลี อ กล่าวว่า
จงหางไกลจากการคาดคิดไม่ดี เพราะจะทำลายอิบาดะฮ์ และถือเป็นบาปใหญ่
เช่นเดียวกันท่านได้กล่าวว่า
อิมามไม่มีวันรวมกับการคาดคิดที่ไม่ดีเป็นอันขาด
ท่านศาสดา ศ ได้กล่าว
ผู้ใดที่คาดคิดในทางที่ไม่ดีต่อพี่น้องของเขา แน่นอนยิ่ง เขาได้คาดคิดในทางที่ไม่ดีต่อพระเจ้าของเขา เพราะแท้จริงอัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่ง ได้ทรงตรัสว่า พวกเจ้าจงหลีกเลี่ยงจากส่วนมากของการคาดคิด
นอกจากนั้นท่านอิมามอะลี อ ได้กล่าวถึงความสำคัญของการคาดคิดในทางที่ดีว่า
ความเคร่งครัด (วาเราะฮ์)ทีดีเลิศที่สุด คือการคิดในทางที่ดี
ในมุมมองของท่านอิมามอะลี อ ความเคร่งครัดคือระดับสูงสุดของความยำเกรงพระเจ้า (ตักวา)และการคิดในทางที่ดีก็เช่นเดียวกัน

การใส่ร้าย

ความชั่วที่น่าเกลียดที่สุดอีกประการหนึ่งนั่นคือ การใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่นท่านอิมามซอดิก อ ได้กล่าวถึงสิ่งนี้ว่า
การใส่ร้ายป้ายสีผู้บริสุทธิ์นั้น หนักหน่วงยิ่งกว่าบรรดาขุนเขาที่ใหญ่โต
ท่านยังได้กล่าวเช่นนี้อีกว่า
เมื่อผู้ศรัทธาคนใดใส่ร้ายป้ายสีพีน้องของเขาความศรัทธา (อีมาน)ในหัวใจของเขาก็จะละลายหายไป เช่นเดียวกับเกลือที่ละลายในน้ำ
ท่านศาสดา ศ ได้กล่าวเช่นกันนี่ว่า
ผู้ใดก็ตามที่ใส่ร้ายป้ายสีผู้ศรัทธาชายหรือหญิงคนหนึ่ง หรือพูดเกี่ยวกับเขาในสิ่งที่ไม่มีในตัวเขา อัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงส่งจะทำให้เขายืนขึ้นในวันโลกหน้าบนเนินเขาจากไฟนรก
เราทราบกันดีถึงการแตกต่างของการนินทาและการใส่ร้าย ซึ่งการใส่ร้ายนั้นเป็นบาปที่รุนแรงกว่าการนินทา เราสามารถพบได้จากกรุอาน และหะดีษทีกล่าวถึง นี้
ดังกรุอานกล่าวว่า
وَمَن يَكْسِبْ خَطِيئَةً أَوْ إِثْمًا ثُمَّ يَرْمِ بِهِ بَرِيئًا فَقَدِ احْتَمَلَ بُهْتَانًا وَإِثْمًا مُّبِينًا

และผู้ใดพากเพียรความผิดหนึ่ง หรือบาปหนึ่ง แล้วหลังจากนั้น เขาก็โยนสิ่งนั้นให้แก่ผู้บริสุทธิ์ แน่นอนเขาได้แบกความเท็จ และบาปอันชัดแจ้งไว้แล้ว
นิซา /๑๑๒
การใส่ร้ายเกิดได้ สามรูปแบบด้วยกัน
๑.มิได้ถูกพิสูจร์ว่าเขาทำผิดจริง นั้นคือ เชื่อว่าเขาผิด โดยมิได้พิสูจร์อย่างชัดเจน
๒. รู้อย่างชัดเจนว่าเขามิใช่คนผิด แต่เพราะความเป็นศัตรู
๓.โยนความผิดที่เขาทำให้แก่ผู้อื่น เพื่อตนเองจะได้ปลอดภัย
เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้ว ที่เราจะต้องออกหางจากการใส่ร้าย เพื่อเป็นการรักษาเกรียติยศยองผู้อื่น และนำไปสู่ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ซึ่งก่อให้เกิดความสามัคคีในสังคม
แน่นอนหากคนในสังคมคิดแต่จะทำลายและลดเกรียติยศของผู้อื่น ซึ่งแน่นอนทุกคนก็จะใช้เวลาคิดแต่ทำอย่างไร ให้พ้นจากข้อหาที่ถูกใส่ร้าย,นินทา,ถูกกลันแกล้งและ ฯลฯ
และแน่นอนเลยว่าจะไม่มีทางเป็นไปได้เลย ทุกคนจะมาคิดจะสร้างสรรค์ตนเองด้วยกับอัคลากที่ดีงาม ที่จะนำไปสู่สังคมที่ดีต่อไปได้
ในการคบค้าสมาคมถือเป็นหน้าที่ทางสังคม ที่จะต้องออกหางจากการใส่ร้ายแล้วจะต้องออกหางและหลีกเหลียงสถานการที่จะนำเข้าสู่การใส่ร้ายได้นั้นคือ ในการกระทำของเขาไม่ควรทำให้ผู้อื่นเกิดความสงสัยและกระทำให้คนอื่นคิดไปในทางที่ไม่ดี
ท่านอิมาซอดิก อ ได้กล่าว่า บิดาของฉันอิมามบากิร อ กล่าวแก่ฉันว่า
โอ้บุตรชายของฉัน การคบเพื่อนเลวจะทำให้ไม่พบกับความปลอดภัย และบุคคลใดที่เดินเข้าออกยังสถานที่ ที่ไม่ดี จะก่อให้เกิดการใส่ร้าย และบุคคลใดพูดไม่เคยคิดในที่สุดเขาต้องสิ้นหวัง

วีธีการเผชิญหน้ากับผู้ที่ชอบยุแหย่

มีหกเงื่อนไขในการไม่ให้เกิดการยุแหย่ใส่ร้าย
๑. อย่าเชื่อและยอมรับคำพูดของเขา เพราะคนที่ชอบยุแหย่นั้นคือฟาซิก ดังกรุอานได้กล่าวว่า
إِن جَاءَكُمْ فَاسِقٌ بِنَبَأٍ فَتَبَيَّنُوا
หากคนชั่วนำข่าวใดๆ มาแจ้งแก่พวกเจ้า พวกเจ้าก็จงสอบสวนให้แน่ชัด
ฮุญุรอต ๖
๒. จงห้ามปรามผู้ที่ทำการยุแหย่และจงถือว่าการงานของเขาคือการงานที่ชั่วร้าย ดังกรุอานได้กล่าวว่า
وَأْمُرْ بِالْمَعْرُوفِ وَانْهَ عَنِ الْمُنكَرِ
และจงใช้กันให้กระทำความดี และจงห้ามปรามกันให้ละเว้นการทำความชั่ว
ลุกมาน ๑๗
๓. จงเป็นศัตรูเพื่ออัลลอฮ์ ซ.บ ในการกระทำของเขา เพราะว่าอัลลอฮ์ ซ.บทรงเป็นศัตรูกับคนที่ชอบยุแหย่ เป็นความจำเป็นสำหรับเราในการเป็นศัตรูกับศัตรูของอัลลอฮ์ ซ.บ
๔. ในสิ่งที่เราได้ยินจากคนที่ชอบยุแหย่อย่าก่อให้เกิดการคาดคิดในทางที่ไม่ดีต่อพี่น้องร่วมศาสนา ดังในกรุอานได้กล่าวว่า
اجْتَنِبُوا كَثِيرًا مِّنَ الظَّنِّ إِنَّ بَعْضَ الظَّنِّ إِثْمٌ
พวกเจ้าจงปลีกตัวให้พ้นจากส่วนใหญ่ของการสงสัย แท้จริงการสงสัยบางอย่างนั้นเป็นบาป
ฮุญญุรอต ๑๒
๕. อย่าให้คำพูดของคนชอบยุแหย่ทำให้เราเป็นคนทียากรู้ยากเห็น เพราะกรุอานได้กล่าวว่า
وَلَا تَجَسَّسُوا
และพวกเจ้าอย่าสอดแนม
ฮุญุรอต ๑๒
๖. นอกจากเราจะไม่เชื่อและยอมรับคำพูดของคนที่ชอบยุแหย่แล้ว และตัวเราเองก็ไม่ควรนำคำพูดดังกล่าวไปเล่าให้ผู้อื่นฟัง เพื่อว่าตนเองจะไม่ตกเป็นผู้ยุแหย่
ได้มีเรื่องเล่าจากนักวิชาการอวุโสในเผชิญหน้ากับคนที่ยุแหย่ว่า วันหนึ่งได้มีมิตรสหายของผู้อวุโสท่านหนึ่งได้มาเยี่ยมหลังจากไม่ได้มาเยี่ยมท่านเป็นเวลานาน ในระหว่างทีพูดคุย ชายผู้นั้นได้กล่าวว่าได้มีชายคนหนึ่งพูดถึงท่านอย่างนั้นอย่างนี้ เมื่อท่านได้ยินเช่นนั้นก็ทำให้ท่านเกิดความเศร้าใจและกล่าวต่อชายผู้นั้นว่า หลังจากที่เราไม่ได้เจอกันนาน แต่เจ้ากลับนำ สามสิ่งที่ชั่วร้ายมา
หนึ่ง เจ้าทำให้เราคิดในทางที่ไม่ดีต่อเขา และก่อให้เกิดการเป็นศัรตู
สอง เจ้าทำให้หัวใจข้ามัวคิดไปยังคำพูดของเจ้า ซึ่งมันได้สร้างความไม่สบายใจต่อข้า
สาม เจ้าทำให้ฉันไม่เชื่อใจเจ้าอีกต่อไป เพราะฉันถือว่าเจ้าเป็นผู้ก่อให้เกิดอาชญากรรมนี้ขึ้นมา
ดังนั้นหน้าที่ของเราทุกคนคือการไม่สนใจต่อคำพูดของคนที่ชอบยุแหย่ นอกจากนั้นแล้วพวกชอบยุแหย่นอกจากจะเอาข่าวมาให้เราแล้ว เขายังเอาข่าวจากเราไปบอกแก่ผู้อื่น ดัวยเหตุนี้เองเราไม่ควรสนใจและไม่ควรเชื่อในคำพูดของเขา และควรแสดงให้เห็นว่าคำพูดของเขาเป็นคำพูดที่โมฆะ เพื่อที่ว่า หนึ่งเขาจะสำนึกในความผิดที่เขาได้กระทำ สอง เขาจะไม่กระทำอีกเป็นครั้งที่สอง สาม ไม่ทำให้ความเชื่อมั่นและความไว้ใจในหมุ่พี่น้องมุสลิมต้องหมดไปเช่นเดี่ยวกันในประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่าท่านอิมามอะลี อ ได้ปฎิบัติต่อผู้ที่ยุแหย่อย่างไร วันหนึ่งได้มีชายคนหนึ่งพูดไม่ดีต่อชายคนหนึ่ง ท่านอิมามอะลี อ ได้แก่เขาว่าเราจะค้นหาความจริงในสิ่งที่ท่านพูดอย่างแน่นอน ถ้าหากเป็นความจริง ฉันจะเป็นศัรตูกับเจ้า (เพราะการยุแหย่) และถ้าหากเป็นความเท็จ เราจะลงโทษเจ้า(เพราะการใส่ร้ายผู้อื่น)และหากต้องการให้เราอภัยต่อเจ้า เราจะให้อภัย ชายผู้นั้นได้อภัยต่อท่านอิมามอะลี อ

การยุแหย่

การยุแหย่คือ การที่มนุษย์นำเรื่องมาบอกกล่าวแก่คนๆ หนึ่ง โดยกล่าว่า เขาได้พูดถึงท่านเช่นนั้นเช่นนี้ หรือ เขามีทัศนะต่อท่านเช่นนั้นเช่นนี้ และแน่นอนสิ่งที่ชัดเจนประการหนึ่งคือผู้ที่นำเรื่องดังกล่าวมาพูดนั้นมีทัศนะคติที่ไม่ดีต่อผู้ที่กล่าวถึงแน่นอน นอกเสียจากว่าจะพูดออกมาในเชิงของการชมเชย ซึ่งไม่ก่อให้เกิดการใส่ร้าย และริษยาระหว่างทั้งสอง นักวิชาการผู้ทรงความรู้ ชะฮีด ษานี การยุแหย่มิใช่เกิดจากคำพูดเท่านั้น แต่เกิดจากการกระทำ ( บอกใบ้- รหัส )อยู่ในกฎการยุแหย่ ถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกรีหยจ ที่ก่อให้เกิดการส่ร้าย ความแตกแยก ความเคียดแค้นชิงชังต่อกัน การอาฆาตมาดร้าย การเป็นศัตรูต่อพี่น้องร่วมศาสนา ในกรุอานและหะดีษได้ตำหนิการกระทำเช่นนี้ไว้อย่างรุนแรง
ดังกรุอานได้กล่าว่า
وَالْفِتْنَةُ أَشَدُّ مِنَ الْقَتْلِ
และการก่อความวุ่นวายร้ายแรงยิ่งกว่าการประหัตประหารเสียอีก
ซูเราะฮ์ บะกอเราะฮ์ ๑๙๑
وَالْفِتْنَةُ أَكْبَرُ مِنَ الْقَتْل
และการฟิตนะฮ์นั้น ใหญ่โตยิ่งกว่าการฆ่า
ซูเราะฮ์บะกอเราะฮ์๒๑๗


وَيْلٌ لِّكُلِّ هُمَزَةٍ لُّمَزَةٍ
ความหายนะจงประสบแด่ทุกผู้นินทาและผู้ใส่ร้ายผู้อื่น
ซูเราะฮ์ฮุมาซะฮ์ ๑
وَلَا تُطِعْ كُلَّ حَلَّافٍ مَّهِينٍ هَمَّازٍ مَّشَّاءٍ بِنَمِيمٍ
และเจ้าอย่าปฏิบัติตามทุกคนที่เป็นนักสาบานที่ต่ำช้า ผู้นินทาตระเวนใส่ร้ายผู้อื่น
ซูเราะฮ์ กอลัม ๑๐-๑๑
ท่านศาสดา มุฮัมมัด ศ็อลฯได้กล่าวกับบรรดาสาวกของท่านว่า จะให้ฉันแจ้งแก่พวกท่านไหมเล่า ถึงมนุษย์ที่เลวร้ายทีสุด
บรรดาสาวกกล่าวว่า ดีซิ โอ้ศาสดาแห่งพระเจ้า
ท่านศาสดาศ็อลฯกล่าวว่า มนุษย์ที่เลวร้ายที่สุดคือผู้ที่ชอบยุแหย่ใส่ร้ายในหมู่พวกเขา และสร้างความแตกแยกในหมู่มิตรสหาย และชอบค้นหาข้อผิดพลาดต่างๆของผู้บริสุทธิ์
ท่านอิมามอะลี (อ.)กล่าวว่า จงออกหางจากการยุแหย่ เพราะการยุแหย่ได้สร้างความอิจฉา และการเป็นศัตรูอีกทั้งยังทำให้เขาออกหางจากพระเจ้าแน่นอน
อิสลามได้สั่งห้ามการคบค้าสมาคมกับคนชอบยุแหย่ การคบหาเป็นมิตรกับผู้ที่ชอบใส่ร้ายจะเป็นสาเหตุทำลายความสงบสุขในชีวิต เพราะเนื่องจากการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการมองโลกในแง่ร้ายและความหวาดระแวงต่างๆ นานา
ดังหะดีษจากท่านอิมามซอดิก(อ.) ได้กล่าวว่า จง หลีกเลี่ยงจากมนุษย์สามจำพวก คือ ผู้บิดพลิ้ว ผู้อธรรม และผู้ยะแหย่
และหะดีษของท่านศาสดา ศ็อลฯ ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่าการยุแหย่ไม่ใช่คุณลักษณะของมุสลิม
คนชอบยุแหย่และผู้ที่อิษฉาอยู่ในเปลวไฟ และมันจะไม่อยู่ในหัวใจของมุสลิม
นอกจากนั้นหะดีษบทนี้ได้แสดงให้เห็นว่า พวกเขาเป็นชาวนรก และดีษจากท่านศาสดาศ็อลฯ ได้กล่าว่า คนชอบยุแหย่จะไม่ได้เข้าสวรรค์

อิจฉาในทัศนะหะดีษ

ท่านอิมามอะลีได้กล่าวว่า ความอิจฉาคือคุกแห่งจิตวิญญาน
ท่านได้กล่าวอีกว่า ความอิจฉาคือโรคที่ร้ายแรงที่สุด
ท่านได้กล่าวอีกว่า ความอิจฉาคือต้นกำเนิดแห่งความชั่วร้ายทั้งหลาย
สาเหตุที่ทำให้เกิดการอิจฉา
แน่นอนการอิจฉาถือว่าเป็นคุณลักษณะที่ไม่ดี และผู้ใดมีคุณลักษณะดังกล่าว ต้องรีบขจัดความป่วยไขนี้ออกไป แต่ก่อนเราต้องมาทราบสาเหตุที่ก่อให้เกิดการอิจฉาเสียก่อน นักวิชาการด้านอัคลากได้กล่าวว่า สาเหตุทำให้เกิดการอิจฉามี เจ็ดประการด้วยกัน
๑ จิตรใจที่ชั่วร้าย
เมือเห็นคนอื่นลำบาก, เศร้า,ทุกข์ มีความสุข โดยที่ต้นเองก็มิได้มีความคิดเป็นศัตรู
๒ เป็นศัตรู
เกิดจากความเกลียดชังและการเป็นศัตรู ซึ่งไม่ปราถนาให้พบกับความสุข เมื่อเห็นศัตรูมีความสุข ได้สิ่งดีๆ เขาจะเกิดความเศร้าหมอง
๓ รักในตำแหน่งและเงินทอง
ในการใช้ชีวิตของเราอาจต้องประสบกับคู่แข่ง ซึ่งมีความรู้สึกอิจฉาต่อเขา อาทิเช่น เขามีสิ่งที่ดีกว่าเราทุกอย่าง ร่ำรวย ชื่อเสียง ตำแหน่ง มีความต้องการให้เขาพบกับความพินาศในชีวิตของเขา
๕ ตะกับโบร( ทะนงตน)
บางคนที่มีจิตรใจทะนงและเห็นตัวเองเหนือกว่าผู้อื่น เมื่อเห็นความเจริญก้าวหน้าของผู้อื่น เกิดความเศร้าโศก และไม่สามารถ จะเห็นความก้าวหน้า ของคนอื่นได้ เพราะผู้ทะนงตนไม่สามารถจะเห็นความก้าวหน้าของคนอื่นได้ เพราะผู้ทะนงตนชอบที่จะเห็นคนอื่นต่ำต้อยกว่าตนเอง เพื่อตนเองจะได้ทะนงตน และรอที่จะให้ผู้อื่นนั้นให้การยกย่องตนเอง ดังนั้นเมื่อคนอื่นมีความเหนือกว่าเขา จึงเป็นสาเหตุทำให้ไม่มีผู้ใดที่จะมาให้เกรียติและนอมน้อมต่อเขา ด้วยเหตุนี้เองความอิจฉาจึงเกิดขึ้น
๖ เห็นแก่ตัว
เพราะคนประเภทนี้ จะรักตนเองมากที่สุด เขาจึงเกิดความกังวลว่าหากใครมีความเจิรญก้าวหน้า จะทำให้ตนเองต้องเสียผลประโยชน์ ความเห็นแก่ตัว มีความแตกต่างกับวความทะนงตน เพราะความทะนงตนนั้น เห็นตนเองเหนือกว่าผู้อื่น แต่ทว่าผู้ที่เห็นแก่ตัวกลับมิได้เห็นตนเองเหนือกว่าผู้อื่น แต่กลัวผลประโยชน์สูญเสียไปจากตนเอง
๗ แสดงความงุนงง
บางคนมีความรู้สึกว่าความสุขและเนียมัตทีเขาได้รับนั้นดีที่สุด แต่เมื่อมีคนอื่นได้เนียมัตนั้นเหนือกว่าที่เขาได้รับ ทำให้เกิดความงุนงงว่าเนียมัตอันยิ่งใหญ่เช่นนี้ได้มาสู่เขาได้อย่างไร ( บุญหลนทับ) ซึ่งทำให้เขาปราถนาให้มันสูญหายไป

อิจฉาในทัศนะกุรอาน

ซูเราะฮ์อัล ฟาลัก ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า
قُلْ أَعُوذُ بِرَبِّ الْفَلَقِ مِن شَرِّ مَا خَلَقَ وَمِن شَرِّ غَاسِقٍ إِذَا وَقَبَ وَمِن شَرِّ النَّفَّاثَاتِ فِي الْعُقَدِ وَمِن شَرِّ حَاسِدٍ إِذَا حَسَدَ
จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระเจ้าแห่งรุ่งอรุณ ให้พ้นจากความชั่วร้ายที่พระองค์ได้ทรงบันดาลขึ้น และจากความชั่วร้ายแห่งความมืดของเวลากลางคืนเมื่อมันแผ่คลุม และจากความชั่วร้ายของบรรดาผู้เสกเป่าในปมเงื่อน และจากความชั่วร้ายของผู้อิจฉาเมื่อเขาอิจฉา
กรุอานได้กล่าว่า
وَلاَ تَتَمَنَّوْاْ مَا فَضَّلَ اللّهُ بِهِ بَعْضَكُمْ عَلَى بَعْضٍ لِّلرِّجَالِ نَصِيبٌ مِّمَّا اكْتَسَبُواْ وَلِلنِّسَاء نَصِيبٌ مِّمَّا اكْتَسَبْنَ وَاسْأَلُواْ اللّهَ مِن فَضْلِهِ إِنَّ اللّهَ كَانَ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمًا
และจงอย่าปราถนาในสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงให้แก่บางคนในหมู่พวกเจ้าเหนือกว่าอีกบางคน สำหรับผู้ชายนั้นมีส่วนได้รับจากสิ่งที่พวกเขาได้ขวนขวายไว้ และสำหรับหญิงนั้นก็มีส่วนได้รับจากสิ่งที่พวกนางได้ขวนขวายไว้ และพวกเจ้าจงขอต่ออัลลอฮ์เถิดจากความกรุณาของพระองค์ แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง
ซูเราะฮ์นิซา ๓๒
وَدَّ كَثِيرٌ مِّنْ أَهْلِ الْكِتَابِ لَوْ يَرُدُّونَكُم مِّن بَعْدِ إِيمَانِكُمْ كُفَّاراً حَسَدًا مِّنْ عِندِ أَنفُسِهِم مِّن بَعْدِ مَا تَبَيَّنَ لَهُمُ الْحَقُّ
อะฮ์ลุลกิตาบมากมายนั้นชอบ หากพวกเขาจะสามารถทำให้พวกเจ้ากลับเป็นผู้ปฏิเสธการศรัทธาอีก ทั้งนี้เพราะความอิจฉาริษยาที่มาจากตัวของพวกเขาเอง หลังจากความจริงได้ประจักษ์แก่พวกเขา
ซูเราะฮ์บะกอเราะฮ์ ๑๐๙

การอิจฉาริษยา

ความริษยาเป็นเป็นคุณลักษณะที่ชั่วร้ายและเป็นบาปใหญ่ และสิ่งทีสังคมไม่ยอมรับ อันสร้างให้เกิดวาดระแวงในหมู่ประชาชน ดังจากกรุอาน บาปแรกที่เกิดขึ้นบนหน้าแผ่นดินคือ การอิจฉาริษยา ครั้งแรกเกิดขึ้นในเหตุการณ์ ที่อิบริสเกิดความอิจฉาในตัวท่านศาสดาอาดัม และเป็นเหตุให้ท่านศาสดาต้องออกจากสวรรค์ เหตุการณ์ทีสองคือการอิจฉาของกอบีลต่อฮาบีลและนำไปสู่การสังหาร และนี้คือการสังหารครั้งแรกบนหน้าแผ่นดิน จนถึงปัจจุบันความชั่วเช่นนี้มีปรากฎในลูกหลานนบีอาดัมสืบต่อมา
อิจฉาคือ การปราถนาที่จะเห็นผลประโยชน์หรือความจำเริญ(อัลลอฮ์ซ.บ ทรงประทานให้)ถูกพรากไปจากผู้อื่น ไม่ว่าความจำเริญนั้นเป็นวัตถุ หรือ จิตรวิญญาน
อิจฉามี สี่ แบบด้วยกัน
๑. ปราถนาที่จะเห็นผลประโยชน์หรือความจำเริญถูกพรากไปจากผู้อื่น โดยที่มิได้หวังให้ประโยชน์หรือความจำเริญเข้ามาสู่ตัว
๒. ปราถนาที่จะเห็นผลประโยชน์หรือความจำเริญถูกพรากไปจากผู้อื่น โดยที่มีความหวังให้ประโยชน์หรือความจำเริญนั้นเข้ามาสู่ตัว
๓. ไม่ได้มีความหวังให้ประโยชน์หรือความจำเริญของเขาเข้ามาสู่ตัว แต่มีความปราถนาที่จะมีเหมือนดังกับเขา หากเขายังไม่สมหวัง คนอื่นก็อย่าได้สมหวัง
๔. ปราถนาที่ได้รับผลประโยชน์หรือความจำเริญเช่นเดียวกับเขา แต่มิได้หวังให้ประโยชน์หรือความจำเริญถูกพรากจากผู้อื่น เรียกว่า ฆิบตะฮ์
จากข้อหนึ่ง – สาม เป็นการอิจฉาที่น่าตำหนิ แต่ข้อที่สี่เป็นการอิจฉาที่ปฎิบัติได้ และนำไปสุ่การพัฒนาจิตวิญญานและจริยธรรมของมนุษย์เพราะทำให้มนุษย์เกิดความพยายามขึ้น
ดังหะดีษของท่านอิมามซอดิก อ กล่าว่า มุอมินมี ฆิบตะฮ์ แต่ไม่มีฮาซัด ( อิจฉา) ส่วนมุนาฟิกมี ฮาซัด ( อิจฉา)แต่ไม่มีฆิบตะฮ์

เตารียะฮ์

เตารียะฮ์หมายถึง คำพูดที่มีความหมายแฝงที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายคาดเครือน เตารียะฮ์ไม่ถือว่าโกหก โดยเกิดขึ้นเมือไม่ต้องการพูดความจริง และในขณะเดียวกันไม่ต้องการจะโกหก เราสามารถใช้เตารียะฮ์ อาทิเช่น เมื่อมีคนมาถามหาคนจากคุณ และคุณไม่ต้องการบอกว่าเขาอยู่ไหน คุณจึงตอบไปในลักษณะเลี่ยงๆไปว่า เห็นเขาอยู่มัสยิด แต่ในความคิดของคุณคือเมืออาทิตย์ก่อน แต่คนที่ถามกลับคิดว่าคุณเห็นเขาในขณะนี้

การโกหกกับเจตนาเพื่อล้อเล่น

คนส่วนใหญ่เมื่อล้อเล่นสิ่งที่ตามมาคือการโกหก เมื่อถามพวกเขาว่าคุณโกหกทำไม ? เขาจะตอบว่า ไม่ได้โกหก แต่ทว่าฉันล้อเล่นเท่านั้นเอง สิ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ ไม่มีความแตกต่างใดๆ ไม่ว่าจะมีเจตนาโกหกเล่นหรือโกหกจริง เพราะถือว่าชั่วร้ายด้วยกันทั้งสิ้น และถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง
ท่านศาสดา ศ ได้กล่าวว่า
การโกหกเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจไม่ว่าจะตั้งใจโกหกจริงหรือล้อเล่นก็ตาม
ท่านอิมามบากิรกล่าวว่า บิดาของฉันกล่าว่า
จงหางไกลจากการโกหก ทั้งเล็กหรือใหญ่ ทั้งจริงและล้อเล่น

การโกหกที่ได้รับการอนุญาติ

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการโกหกนั้นถือว่าเป็นสิ่งชั่วร้ายและเป็นบาป แต่มิได้หมายความว่าการโกหกในทุกๆสถานการถือเป็นสิ่งชั่วร้าย แต่บางสถานการต้องเผชิญกับจำเป็นและทีสมควรที่ยิ่งใหญ่กว่าคือเขาเลือกระหว่างการโกหกกับ ประโยชน์ส่วนรวมอันยิ่งใหญ่กว่าในกรณีนี้ถือเป็นการอนุญาติ
๑.จำเป็น
ในบางครั้งเพื่อยับยั้งความเสียหายอันใหญ่หลวง อันได้แก่ ชีวิต ทรัพสิน เกรียติยศ ไม่มีหนทางใดนอกจากการโกหก ในกรณีเช่นนี้ถือเป็นการอนุญาติดังในกรุงอานได้กล่าวถึงผู้ที่ถูกบังคับได้คำปฏิเสธออกมาในขณะที่หัวใจของพวกเขามีความศรัทธาต่อพระเจ้า โดยการที่เขาไม่ต้องกังวลในการปฏิบัติของเขา
إِلاَّ مَنْ أُكْرِهَ وَقَلْبُهُ مُطْمَئِنٌّ بِالإِيمَانِ
ยกเว้นบุคคลที่ถูกบังคับ(ให้ปฏิเสธ) แต่หัวใจของเขายังมั่นคงในศรัทธา
นะห์ลิ ๑๐๖
๒.สร้างสัมพันธ์ที่ดี
เพื่อที่จะขจัดความขัดแย้งและการเป็นศัตรูในหมู่ประชาชน( ครอบครัว หรือ เพือน ) หากไม่มีหนทางใดอีกแล้วนอกจากการโกหก ในกรณีนี้ถือเป็นที่อนุญาติ ในทาง ตรงข้ามหากความสัตร์จริงสร้างให้เกิดการเป็นศตัรูในหมู่ประชาชนถือเป็นสิ่งชั่วร้าย
๓.กลยุทธทางสงคราม
หนึ่งในเท็กนิคทางทหารและในอิสลามถือเป็นสิ่งอนุญาติ คือกลยุทธในการหลอกลวงศัตรู เพื่อให้เกิดความสับสน ดังนั้นทั้งการพูดและการกระทำเพื่อหลอกลวงต่อฝ่ายศัตรู แม้ต้องใช้การโกหกต่อศัตรูในสนามรบ ก็ถือว่า อนุญาติ
ท่านศาสดา ศ ได้กล่าวแก่ท่านอะลี อ ว่า การโกหกถูกอนุญาติใน สามเหตุการณ์และหนึ่งในนั้นคือ กลยุทธในการรบ

ความสัตย์จริงในทัศนะกรุอานและหะดีษ

เราได้รู้จักทัศนะอิสลามในเรื่องการโกหกมาแล้ว ในที่นี้ถือเป็นการสมควรที่จะขอกล่าวถึง ความสัตย์จริง ดังกรุอานได้เชิญชวนสู่ตักวาพร้อมกันนั้นได้สั่งให้พี่น้องมุสลิมมีความสัตย์จริงดังกรุอาน
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ اتَّقُواْ اللّهَ وَكُونُواْ مَعَ الصَّادِقِينَ
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และพวกเจ้าจงอยู่ร่วมกับบรรดา ผู้สัตย์จริงเถิด
เตาบะฮ์ ๑๑๙
قَالَ اللّهُ هَذَا يَوْمُ يَنفَعُ الصَّادِقِينَ صِدْقُهُمْ لَهُمْ جَنَّاتٌ تَجْرِي مِن تَحْتِهَا الأَنْهَارُ خَالِدِينَ فِيهَا أَبَدًا رَّضِيَ اللّهُ عَنْهُمْ وَرَضُواْ عَنْهُ ذَلِكَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ
อัลลอฮ์ได้ทรงตรัสว่า วันนี้เป็นวันที่ความสัจจะจักอำนวยประโยชน์แก่บรรดาผู้สัตย์จริง พวกเขาจะได้เข้าสวรรค์ ซึ่งมีธารน้ำไหลอยู่ ณ เบื้องใต้ของมัน พวกเขาเข้าประจำอยู่ในนั้นชั่วกาลนาน อัลลอฮ์ทรงพอพระทัยพวกเขา และพวกเขาก็พอใจพระองค์ นั้นเป็นรางวัลอันยิ่งใหญ่
มาอิดะฮ์ ๑๑๙
ท่านศาสดา ศ ได้กล่าวว่า
ในวันกิยามัตผู้ที่อยู่ใกล้ชิดฉันมากที่สุดคือผู้สัตย์จริง
ท่านอิมามอะลี อ กล่าวว่า
ความสัตย์จริงเป็นพี่น้องกับความยุติธรรม

การโกหก

การโกหกคือหนึ่งในบาปใหญ่ ซึ่งเกิดจากอารมณ์และกิเลสเพื่อการบรรลุสู่เป้าหมายของตนจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มนุษย์ส่วนใหญ่ต้องตกไปกระทำบาป
โกหกคือการแสดงออกมาโดยตรงข้ามกับความเชื่อของตน ดังนั้นการโกหกมี สองเงือนไขด้วยกัน
๑. สิ่งที่พูดและกระทำออกมาไม่ตรงกับความจริง
๒. เป็นสิ่งที่ขัดกับความเชื่อ ความรู้ของตน อาทิเช่น หากผู้ใด กล่าวในสิ่งทีขัดแย้งกับความเป็นจริง และในทัศนะของเขาเชื่อว่ามันเป็นควมจริง หากเป็นในลักษณะนี้ไม่ถือว่าเป็นการโกหก และสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือนอกจากการพูดถือเป็นการโกหกแล้ว การปฏิบัติก็ยังถือว่าเป็นการโกหกด้วยเช่นเดียวกัน อาทิเช่น เขาปฏิบัติตนให้คนเชื่อว่าเขาเป็นคนมีคุณธรรมแต่ในความเป็นจริงมิใช่เห็นนั้น ดังนั้นการโกหกสามารถครอบครุมทั้งการพูดและการปฏิบัติ

การโกหกในทัศนะกรุอาน
๑.ผู้ที่โกหกเทียบเท่าพวกบูชาเจ็วด
فَاجْتَنِبُوا الرِّجْسَ مِنَ الْأَوْثَانِ وَاجْتَنِبُوا قَوْلَ الزُّورِ
ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลสิ่งโสโครก สิ่งนั้นคือบรรดาวัตถุทั้งปวงและพวกเจ้าจงห่างไกลคำพูดเท็จ
ฮัจญ์ ๓๐
๒.สาเหตุการโกหกเกิดจากการไรศรัทธา
إِنَّمَا يَفْتَرِي الْكَذِبَ الَّذِينَ لاَ يُؤْمِنُونَ بِآيَاتِ اللّهِ وَأُوْلئِكَ هُمُ الْكَاذِبُونَ
ความจริงแล้ว ที่ทำการเสกสรรความเท้จขึ้นนั้น มีเฉพาะแต่จำพวกที่ไม่ศรัทธาในโองการของอัลลอฮ์เท่านั้น และบทเหล่านั้นเป็นพวกมุสาทั้งสิ้น
นะห์ลิ ๑๐๕
๓.ผู้ที่โกหกไม่สมควรได้รับการชี้นำจากอัลลอฮ์(ซ.บ)
และแน่นอนผู้ที่มิได้รับการชี้นำจากพระองค์ เขาจะพบกับความหลงทาง และสุดท้ายเขาต้องพบกับการความเลวร้าย
إِنَّ اللَّهَ لَا يَهْدِي مَنْ هُوَ كَاذِبٌ كَفَّارٌ
แท้จริงอัลลอฮ์ไม่ทรงชี้นำแก่ผู้ที่มุสาอีกทั้งไร้ศรัทธา
ซุมัร๓
๔.ถูกสาปแช่งจากพระองค์
وَالْخَامِسَةُ أَنَّ لَعْنَتَ اللَّهِ عَلَيْهِ إِن كَانَ مِنَ الْكَاذِبِينَ
แท้จริงการสาปแช่งของอัลลอฮ์จะต้องประสบแก่เขา หากเขาเป็นผู้หนึ่งจากกลุ่มผู้พูดเท็จ
นูร ๗
การโกหกในทัศนะหะดีษ
๑.มีหะดีษมากมายกล่าวถึงการโกหกว่าเป็นการทำลายศรัทธา ดังเช่น
ท่านอิมามบากิร อ กล่าวว่า
แท้จริงแล้วการโกหกคือการทำลายศรัทธา
๓. มีหะดีษอีกมากมายเช่นกันได้กล่าวว่าการโกหกเป็นตัวนำไปสู่ความชั่วร้ายและบาปต่างๆ ดังเช่น
ท่านศาสดา ศ ได้กล่าวว่า
การโกหกจะชี้นำไปสู่การงานที่ชั่วร้าย และการงานที่ชั่วร้ายจำนำพามนุษย์ไปสู่นรก
ท่านอิมามฮะซัน อัสการี ได้กล่าวว่า
ความชั่วร้ายทั้งหมดถูกเก็บอยู่ในบ้านหลังหนึ่ง โดยกุญแจที่จะไขไปสู่ความชั่วร้ายนั้น คือการโกหก
๔.มีหะดีษอีกมากมายเช่นกันได้กล่าวว่าการโกหกเป็นลักษณะที่ชั่วร้ายที่สุด
ท่านอิมามอะลี อ กล่าวว่า
จงปกป้องตัวเจ้าเองให้พ้นจากการโกหก เพราะการโกหกนั้น เป็นคุณลักษณะที่ชั่วร้ายยิ่ง
ท่านศาสดา ศ กล่าว่า
ความผิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการมีลิ้นที่โกหก

คำถาม : ความหมายของคำว่า “พระพักตร์ของอัลลอฮ์” ในโองการที่กล่าวว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างจะสูญสลายนอกจากพระพักตร์ของอัลลอฮ์”(เกาะศ็อศ /88) คืออะไร ?

คำตอบ : อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า : สิ่งที่อยู่ ณ พวกเจ้าทั้งหลายจะสิ้นสลาย สิ่งที่อยู่ ณ ที่อัลลอฮ์จะคงอยู่นิรันดร์ (นะฮล์ / 96) หากนำโองการข้างต้นกับโองการดังกล่าวนี้มารวมกัน คำว่าพระพักตร์ของอัลลอฮ์ จะหมายถึงสิ่งที่อยู่ ณ ที่อัลลอฮ์นั่นเอง ในอัลกุรอานยังกล่าวอีกว่า : “พวกเจ้าทั้งหลายอย่าได้คิดไปว่าบรรดาผู้ที่ถูก สังหารในหนทางของอัลลอฮ์นั้นจะเป็นผู้ที่สูญสิ้นไปแล้ว แต่พวกเขายังมีชีวิตอยู่โดยได้รับปัจจัยชีพอยู่ตลอดเวลา” (อาลิอิมรอน /169) หากนำโองการทั้งหมดมารวมกันจะพบว่า อีกความหมายหนึ่งของคำว่า พระพักตร์ของอัลลอฮ์ก็คือบรรดาชะฮีดนั่นเองเพราะพวกเขาจะไม่มีวันดับสูญเพราะพวกเขาเหล่านั้นคือ สิ่งที่อยู่ ณ อัลลอฮ์ และสิ่งที่อยู่ ณ อัลลอฮ์เท่านั้นจะคงอยู่นิรันดร์

คำถาม : การอรรถธิบายกุรอานมีกี่ประเภท

คำตอบ : การอรรถาธิบายกุรอานแบ่งเป็นสองชนิดใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือการอรรถาธิบายแบบ นักลีย์ (อธิบายโดยกุรอานเองและวจนะของท่านศาสดา (ศอล ฯ) ) และการอรรถธิบายแบบ อักลีย์ คือการอรรถธิบายโดยใช้หลักสติปัญญา ในการอรรถาธิบายแบบ นักลีย์ มีสองแบบด้วยกัน คือการใช้ประโยชน์จากกุรอานเอง เช่น บางครั้งนำเอาโองการหนึ่งที่เป็นโองการที่สนับสนุนอีกโองการหนึ่งมาอธิบายถึงความหมายของโองการนั้น แบบนี้เรียกว่าการอรรถาธิบายกุรอานด้วยกุรอาน หรือบางครั้งใช้ประโยชน์จากวจนะและคำสอนของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์มาอรรถธิบาย ตัวอย่างเช่น ใช้ฮะดิษบทหนึ่งมาอธิบายโองการโดยกล่าวว่าโองการนี้มีความหมายเฉพาะตามที่ฮะดิษบอกไว้ ซึ่งทั้งสองรูปแบบนี้อยู่ในรูปแบบของการอรรถาธิบายกุรอานแบบนักลีย์ หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัฟซีรบิลมะอ์ซูร
การอรรถาธิบายแบบ อักลีย์ ก็มีหลายรูปแบบ บางครั้งเราใช้สติปัญญามาเป็นข้อสนับสนุน หมายถึงในการอธิบายโองการหนึ่งเราได้นำอายะฮ์กุรอานหลาย ๆ อายะฮ์หรือฮะดิษหลายฮะดิษมารวมกันแล้วหลังจากนั้นก็ให้สติปัญญามาเป็นตัวสรุปถึงความหมายของโองการนั้น ในลักษณะนี้สติปัญญาเป็นเพียงตัวชี้นำหรือเป็นเสมือนตะเกียงเท่านั้นซึ่งจะว่าไปแล้วในรูปแบบนี้ก็เป็นการอรรถาธิบายแบบนักลีย์นั่นเองเพราะเป็นการนำเอาบทสรุปมาจากโองการกุรอานและฮะดิษหรือบางครั้งเราใช้กฏหลักสติปัญญาเป็นบันทัดฐานหลักในการอธิบายโองการกุรอานซึ่งในลักษณะนี้สติปัญญาเป็นแหล่งอ้างอิงหลักไม่ใช่เป็นเพียงตัวชี้นำเท่านั้นเราสามารถแบ่งการอรรถาธิบายกุรอานเป็นสองรูปแบบใหญ่ ๆ คือ นักลีย์และอักลีย์ ส่วนนักลีย์ถูกแบ่งออกเป็นสองคือ คำอธิบายที่ใช้ประโยชน์จากตัวกุรอานเอง และคำอธิบายที่ใช้ประโยชน์จากคำสอนของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ ดังนั้นการตัฟซีรแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบด้วยกันคือ
1- การตัฟซีรกุรอานด้วยกุรอาน
2- การตัฟซีรกุรอานด้วยซุนนะฮ์ (คำสอนของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์)
3- การตัฟซีรกุรอานด้วยสติปัญญา
ส่วนการอรรถาธิบายกุรอานด้วยการใช้ทัศนะของตัวเองนั้นไม่เรียกว่าเป็นการตัฟซีร

คำถาม : แหล่งอ้างอิงของการตัฟซีรกุรอานคืออะไร

คำตอบ : เป็นเพราะการตัฟซีรกุรอานโดยไม่มีความรู้ และไม่ศึกษาอย่างถ่องแท้เป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ และเป็นรูปแบบหนึ่งของการ “อธิบายกุรอานโดยใช้ทัศนะส่วนตัว” ถือเป็นสิ่งที่ต้องละทิ้ง ดังนั้นจากตรงนี้เองเราจำเป็นที่จะต้องมาพิจารณาถึงแหล่งอ้างอิงของการอรรถาธิบายพร้อมทั้งพิจารณาถึงบันทัดฐานของการค้นคว้าของเราเกี่ยวกับเพื่อให้ได้รับมาถึงสาระธรรมคำสอนที่แท้จริงของกุรอาน และเพื่อหลีกเลี่ยง “การอรรถธิบายกุรอานโดยใช้ทัศนะส่วนตัว” แหล่งอ้างอิงที่สำคัญสำหรับการอรรถาธิบายกุรอานคือ ตัวกุรอานเอง ซึ่งกุรอานเองเป็นสิ่งที่ชัดเจนและอรรถาธิบายตัวของกุรอานเองอยู่แล้ว แหล่งอ้างอิงที่สองสำหรับการอรรถาธิบายกุรอานคือ วจนะของท่านศาสดา (ศอลฯ) ซึ่งถ้าพิจารณาตามความหมายของฮะดิษ ซะกอลัยน์ แล้วบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์จะอยู่เคียงคู่กับกุรอานตลอด และถ้าเราทิ้งสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็เท่ากับเราละทิ้งทั้งสองสิ่งดังนั้นเราจำเป็นต้องยึดทั้งสองสิ่งเอาไว้พร้อม ๆ กันแหล่งอ้างอิงที่ สามคือสติปัญญาที่บริสุทธิ์จากความงมงายทั้งหลาย ความหมายของคำว่าสติปัญญาในที่นี้คือ กฎสติปัญญาที่ใช้พิสูจน์การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าและคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระองค์ ดังนั้นถ้าหากสติปัญญาสนับสนุนถึงความถูกต้องของประเด็นหนึ่งหรือพิสูจน์ถึงความผิดพลาดของประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ในการอรรถธิบายกุรอานจะต้องยึดเอาสิ่งที่สติปัญญาพิสูจน์ถึงความถูกต้องนั้นเอามาเป็นหลักฐานและละทิ้งสิ่งที่สติปัญญาถือว่าผิดพลาด ในการอธิบายกุรอาน ตัวอย่างเช่น โองการหนึ่งของกุรอาน หากดูเผินๆ สามารถตั้งสมมุติไปได้หลายสมมุติฐาน แต่หากไปพิจารณาในกฏหลักสติปัญญาและพิสูจน์ได้ว่ามีเพียงสมมุติฐานเดียวเท่านั้นที่ถูกต้อง ในการอธิบายกุรอานเราจะต้องทิ้งสมมุติฐานอื่นที่สติปัญญาปฏิเสธและไม่สอดคล้องกับความโองการใดเลยทั้งหมด และยึดเอาสมมุติฐานที่สติปัญญายอมรับเท่านั้น หรือบางโองของกุรอานที่สามารถตั้งสมมุติฐานไปได้หลายสมมุติฐาน แต่บางสมมุติฐานนั้นเมื่อพิจารณาด้วยสติปัญญาแล้วไม่กินกับสติปัญญาเลย เราจะต้องทิ้งสมมุติฐานนี้ไปเสียแล้วไปยึดสมมุติฐานที่เหลืออยู่ทั้งหมดโดยไม่ให้น้ำหนักกับสมมุติฐานใดสมมุติฐานหนึ่งข้อพึงสังเกตุ : เราไม่สามารถนำผลลัพธ์ของการวิจัยหรือการค้นคว้าทางวิชาการมายัดเยียดให้กับกุรอาน แต่ให้นำมาเป็นข้อสนับสนุนได้

การประทานกุรอานกับการแต่งตั้งท่านศาสดา (ศ็อล ฯ)

อัลกุรอานกล่าวว่า -
شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيهِ الْقُرْآنُ
เดือนรอมฎอนนั้น เป็นเดือนที่อัลกุร-อานได้ถูกประทานลงมา (ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์โองการที่ 185)
إِنَّا أَنْزَلْنَاهُ فِي لَيْلَةٍ مُبَارَكَةٍ
แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอันจำเริญ (ซูเราะฮ์ ดุคอน โองการที่ 3)
إِنَّا أَنْزَلْنَاهُ فِي لَيْلَةِ الْقَدْرِ
แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอัลก็อดร์ (ซูเราะฮ์ก็อดร์ โองการที่ 1)
มุสลิมทั้งหลายรู้ดีว่าท่านศาสดา (ศอลฯ) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสนทูตเมื่อท่านอายุ 40 ปี ( ประมาณ ปี ค.ศ. 610 หรือ 611) ในเมืองมักกะฮ์ และก็รู้ว่าท่านศาสดา (ศอลฯ) ถูกแต่งตั้งในถ้ำฮิรออ์ โดยอัลลอฮ์ (ซบ.)ได้ทรงประทาน โองการช่วงต้นของซูเราะฮ์ อะลัก ลงมาด้วย สองประเด็นดังกล่าวเป็นสิ่งที่มุสลิมทั้งหลายให้การยอมรับ แต่มีประเด็นที่มีการขัดแย้งกันอย่างรุนแรงคือ การแต่งตั้งท่านศาสดา(ศอลฯ) เกิดขึ้นเมื่อใด ซึ่งประเด็นนี้เองเป็นเหตุทำให้เกิดความขัดแย้งในเรื่องการประทานกุรอานลงมาในครั้งแรกด้วย มีทัศนะมากมาย เกี่ยวกับเรื่องการแต่งตั้งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) :
1 - ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ถูกแต่งตั้งวันที่ 27 เดือนระญับ
2 - ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ถูกแต่งตั้งวันที่ 17 เดือนรอมฎอน
3 - ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ถูกแต่งตั้งวันที่ 18 เดือนรอมฎอน
4 - ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ถูกแต่งตั้งวันที่ 24 เดือนรอมฎอน
5 - ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ถูกแต่งตั้งวันที่ 12 เดือนรอบิอุลเอาวัล
6 - ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ถูกแต่งตั้งคืนวันที่ 15 เดือนชะอ์บาน
7 - ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ถูกแต่งตั้งวันที่ 8 เดือนรอบิอุลเอาวัล
8- ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ถูกแต่งตั้งวันที่ 3 เดือนรอบิอุลเอาวัล
ส่วนชีอะฮ์เชื่อว่าท่านศาสดา(ศอลฯ) ถูกแต่งตั้งในวันที่ 27 เดือนระญับ โดยยึดหลักฐานจากรายงานฮะดีษมากมายที่รายงานมาจากบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ โดยเชื่อว่าบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ของท่านศาสดา(ศอล ฯ) ย่อมรู้ดีกว่าผู้อื่นในเรื่องของการแต่งตั้งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อย่างแน่นอน ซึ่งบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ได้รายงานฮะดีษเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างมากมายซึ่งเราจะขอนำเสนอดังนี้
1- มีรายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า – ท่านศาสดาถูกแต่งตั้งในวันที่ 27 เดือนรอญับ ใครก็ตามที่ถือศิลอดในวันนี้จะได้รับผลบุญเท่ากับผู้ที่ถือศิลอด 60 เดือน
2- มีรายงานจากท่านอิมาม มูซากาซิม (อ.) ว่า – อัลลอฮ์ได้ทรงแต่งตั้งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ผู้เป็นความเมตตาแก่ชาวโลก ในวันที่ 27 เดือนรอญับ ใครก็ตามที่ถือศิลอดในวันนี้ อัลลอฮ์ (ซบ.) จะทรงตอบแทนรางวัลให้เขาเท่ากับเขาถือศิลอด 60 เดือน
3- ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า - อย่าได้ทิ้งการถือศิลอดในวันที่ 27 เดือนรอญับเป็นอันขาด เพราะวันนี้เป็นวันที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศอลฯ) ถูกแต่งตั้ง ซึ่งผู้ที่ถือศิลอดในวันนี้จะได้รับผลบุญเท่ากับคนถือศิลอด 60 เดือน
และยังมีรายงานฮะดีษอีกมากมายที่มีเนื้อหาในลักษณะดังกล่าว
นักวิชาการฝ่ายอะฮ์ลิซุนนะฮ์เชื่อว่าการแต่งตั้งท่านศาสดาเกิดขึ้นในเดือนรอมฎอนโดยยึดหลักฐานจากโองการอัลกุรอาน ในซูเราะฮ์ บะเกาะเราะฮ์ ซูเราะฮ์ ดุคอน และซูเราะฮ์ ก็อดร์ พวกเขากล่าวว่า : ในอัลกุรอานไม่ได้เอ่ยถึงเดือนรอญับ หรือการแต่งตั้งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในเดือนนี้เลย แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดจากโองการในอัลกุรอานคือ อัลกุรอานถูกประทานลงมาในเดือนรอมฎอน เช่น ในโองการที่ 185 ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ กล่าวว่า : เดือนรอมฎอนนั้น เป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมา หรือโองการที่ 3 ของซูเราะฮ์ดุคอน ที่ตรัสว่า : แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอันจำเริญ ( คืนลัยละตุลก็อดร์ ) หรือโองการที่ 1 ของซูเราะฮ์ ก็อดร์ ที่กล่าวว่า : แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอัลก็อดร์ ( คืนลัยละตุลก็อดร์ ) และแน่นอนการแต่งตั้งท่านศาสดา (ศอลฯ) มาพร้อมกับการประทานกุรอานดังนั้นเดือนรอมฎอนก็คือเดือนที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ถูกแต่งตั้งนั่นเองจากคำอธิบายข้างต้นมี 2 ประเด็นที่เป็นยังข้อสงสัยอยู่ก็คือ
ประเด็นแรก : โองการทั้งสามโองการที่ถูกหยิบยกมาข้างต้นกล่าวถึง เวลาของการประทานอัลกุรอานเท่านั้นไม่ได้กล่าวถึงสถานที่ของการประทานอัลกุรอานแต่อย่างใดเลย ในขณะที่มุสลิมทั้งหลายเชื่อและเป็นที่ยอมรับกันว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ถูกแต่งตั้งโดยมีทูตจากอัลลอฮ์ (ซบ.) มาหาท่านที่ถ้ำฮิรออ์ ซึ่งทั้ง 3 โองการนี้ไม่ได้กล่าวถึงสถานที่ดังกล่าวเลย ประเด็นที่สอง : ในโองการที่ 185 ของซูเราะฮ์ บะเกาะเราะฮ์ และโองการที่ 1 ของซูเราะฮ์ก็อดร์บ่งบอกถึงการประทานทั้งหมดของอัลกุรอานในคราวเดียวซึ่งถูกประทานมาในเดือนรอมฎอน ซึ่งในโองการที่ 3 ซูเราะฮ์คุคอนกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนกว่า โดยได้กล่าวว่า – “ฮามีม ขอสาบานต่อคัมภีร์อันชัดแจ้ง แท้จริงเราได้ประทานมัน (กุรอาน) ลงมาในคืนอันจำเริญ” ซึ่งในโองการนี้คำว่า انزلناه (เราได้ประทานมันลงมา) สรรพนามคำว่า ه (มัน) ซึ่งเป็นสรรนามของบุรุษที่สาม ในที่นี้ย้อนกลับไปหาคำว่า “กิตาบ” (คัมภีร์) ก็เท่ากับว่าโองการนี้บ่งบอกว่า ทั้งหมดของอัลกุรอานถูกประทานลงมาในคราวเดียวในคืนลัยละตุลก็อดร์ แต่ทว่าเป็นที่ทราบกันดีว่าการประทานกุรอานครั้งแรกที่เป็นการบ่งบอกถึงการที่ท่านศาสดาถูกแต่งตั้งในถ้ำฮิรออ์นั้นถูกประทานลงมาเพียง 5 โองการเท่านั้น ดังนั้นเราจะกล่าวไม่ได้ว่า โองการข้างต้นทั้งสามโองการนั้น เป็นโองการที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) นักวิชาการร่วมสมัยท่านหนึ่ง ได้นำเสนอทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยกล่าวว่า : “ ตามรายงานฮะดิษบ่งชี้ว่าการแต่งตั้งท่านศาสดา (ศอลฯ) เกิดขึ้นในเดือนรอญับ แต่การประทานกุรอานครั้งแรกเกิดขึ้นในเดือนรอมฏอน 3 ปีหลังจากนั้น ซึ่งในช่วงระยะเวลา 3 ปีนั้นท่านศาสดา (ศอลฯ) ทำการเผยแพร่อย่างลับ ๆ จนกระทั่ง โองการที่ 94 – 96 ซูเราะฮ์ ฮิจร์จึงได้ถูกประทานลงมา
فَاصْدَعْ بِمَا تُؤْمَرُ وَأَعْرِضْ عَنِ الْمُشْرِكِينَ
ดังนั้น จงประกาศอย่างเปิดเผยในสิ่งที่เจ้าถูกบัญชา และจงผินหลังให้พวกมุชริกีน
จากนั้นเองโองการต่าง ๆ ของอัลกุรอานก็ถูกลงมาเป็นลำดับตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนอีกด้านหนึ่งมีรายงานฮะดิษที่บ่งชี้ว่าการประทานกุรอานทั้งหมดใช้เวลา 20 ปีด้วยกัน จากคำอธิบายนี้เราสามารถสรุปได้ว่า การประทานกุรอานเริ่มต้นหลังจากการแต่งตั้งท่านศาสดา (ศอลฯ) แล้ว 3 ปีซึ่งการประทานกุรอานเกิดขึ้นในเดือนรอมฎอน ”
จากคำกล่าวข้างต้นพอจะสรุปได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้
1- ระหว่างการแต่งตั้งท่านศาสดา (ศอลฯ) กับการประทานกุรอานไม่ได้เกี่ยวข้องกัน
2- 5 อายะฮ์แรกของซูเราะฮ์ อัล อะลัก ที่ถูกประทานในถ้ำฮิรออ์ เป็นการบอกข่าวดีและบ่งชี้ถึงการแต่งตั้งท่านศาสดา (ศอลฯ) เท่านั้นไม่ถือว่าเป็นการประทานกุรอาน
3- กุรอานเริ่มต้นถูกประทานในฐานะกุรอานในเดือนรอมฎอน หลังจากการแต่งตั้งท่านศาสดา (ศอลฯ)แล้วเป็นเวลา 3 ปี
4- ระยะเวลาในการประทานกุรอานทั้งหมด 20 ปีด้วยกัน
5- ความหมายของการประทานกุรอานในเดือนรอมฎอน คือการเริ่มต้นประทานในเดือนนี้ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในช่วงชีวิคของการเผยแพร่ของท่านศาสดา (ศอลฯ)
หากพิจารณาในหนังสือ อัล ตัมฮีด จะเห็นว่าอายาตุลลอฮ์ ฮาดีย์ มะริฟัตได้ยึดหลักฐานจากรายงานฮะดิษสองกลุ่มด้วยกัน
1- กลุ่มแรกเป็นกลุ่มรายงานทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงการเชิญชวนแบบลับ ๆ ของท่านศาสดาในมักกะฮ์ในช่วง 3 ปีแรกของการแต่งตั้งก่อนการประทานโองการที่สั่งให้ท่านเผยแพร่อิสลามอย่างเปิดเผย
2- กลุ่มที่สองเป็นรายงานที่กล่าวถึงระยะเวลาในการประทานอัลกุรอานให้กับท่านศาสดา ที่กล่าวว่าระยะเวลาทั้งหมดเพียง 20 ปี ไม่ใช่ 23 ปี
จากหลักฐานและคำกล่าวของท่านอายาตุลลอฮ์ ฮาดีย์มะริฟัต มีข้อสงสัยอยู่หลายประการดังนี้
1- รายงานที่กล่าวถึงเรื่องการเผยแพร่อย่างลับในช่วง 3 ปีแรกของการแต่งตั้งท่านศาสดาที่รายงานจาก อะลี อิบนิอิบรอฮีม กุมมี รายงานจาก ยะอ์กูบีย์ รายงานจาก มุฮัมมัด บิน อิสฮาก และคำกล่าวของท่านอิมามศอดิก (อ.) รายงานต่าง ๆเหล่านั้นกล่าวถึงการเผยแพร่อย่างลับ ๆ ของท่านศาสดา (ศอลฯ) เท่านั้นไม่ได้กล่าวกถึงการประทานกุรอานหรือการไม่ประทานกุรอานในช่วงเวลานั้นแต่อย่างใดเลย และในทางกลับกันก็เป็นไปได้ว่าในช่วงเวลานั้นมีการประทานกุรอานมาด้วย เพราะจะเป็นไปได้อย่างไรที่ในระยะเวลาตั้ง 3 ปีมีการประทานกุรอานเพียงแค่ 5 โองการในถ้ำฮิรออ์เท่านั้น
2- มีรายงานว่าการประทานกุรอานอย่างต่อเนื่องเกิดขึ้นหลังจากการประทานโอง .................. ซึ่งหากพิจารณาแล้วโองการนี้อยู่ในซูเราะฮ์ ฮิจร์ ซึ่งเป็นซูเราะฮ์ที่ประทานลงมาที่มักกะฮ์ ซึ่งจากการเรียงลำดับการประทานกุรอานของหนังสือ อัล ตัมฮีดเอง โดยอ้างหลักฐานจากรายงานฮะดิษของ อิบนิอับบาส และ ญาบิร บิน เซด กล่าวว่า ซูเราะฮ์ฮิจร์เป็นซูเราะฮ์ลำดับที่ 54 ของกุรอาน
หากพิจารณาตามการเรียงลำดับของหนังสืออัล ตัมฮีด จะต้องยอมรับว่าก่อนโองการ .............. กุรอานประทานมาแล้ว 53 ซูเราะฮ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในช่วงของการเผยแพร่อย่างลับ ๆ ของท่านศาสดา (ศอลฯ) ก็ไม่มีปัญหาอะไรที่กุรอานก็ถูกประทานลงมาในช่วงเวลานั้นด้วย
3- และหากพิจาณาอย่างละเอียดจะพบท่านศาสดา (ศอลฯ) ต้องการการชี้แนะจากอัลลอฮ์ในช่วงแรกของการถูกแต่งตั้งให้เป็นศาสดา (ศอลฯ) มากกว่าเวลาอื่น โดยจะสังเกตุได้จากจำนวนโองการที่ประทานในเมืองมักกะฮ์ซึ่งถือเป็นช่วงแรกของการถูกแต่งตั้งให้เป็นศาสดา มีจำนวนมากกว่าโองการที่ถูกประทานในเมืองมะดีนะฮ์
4- มีรายงานมากมายที่กล่าวว่า ระยะเวลาการประทานกุรอานทั้งหมด 23 ปี
5- รายงานฮะดิษที่เจ้าของหนังสือ อัล – ตัมฮีดได้อ้างถึงเกี่ยวกับเรื่องระยะเวลาของการประทานอัลกุรอานว่าทั้งหมดใช้เวลา 20 เท่านั้น ซึ่งถ้าหากพิจารณาให้ดีแล้วรายงานฮะดิษดังกล่าวนั้นขัดกับทัศนะของเจ้าของหนังสืออัต – ตัมฮีดเอง
ในรายงานที่ในหนังสืออัต – ฮีดยกมาเพียงบางส่วน แต่เราจะขอนำตัวบทฮะดิษทั้งหมดมานำเสนอและอธิบายดังต่อไปนี้
ฮัฟซ์ บิน ฆิยาซกล่าวว่า ฉันได้เรียนถามท่านอิมามศอดิกว่า – ทำไมกุรอานกล่าวว่า – เดือนรอมฏอนเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมา ในขณะที่ในช่วง 20 ปีกุรอานถูกประทานลงมาตลอดเวลา
ท่านอิมาม กล่าวว่า – การประทานกุรอานที่กล่าวถึงในอายะฮ์ เป็นการประทานทั้งหมดของกุรอานมาในบัยตุลมะอ์มูร และหลังจากนั้นเป็นระยะเวลา 20 ปีได้ประทานตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในรายงานฮะดิษนี้เป็นฮะดิษที่ถูกนำมาพิสูจน์และกล่าวถึงเรื่องการประทานกุรอานมาในบัยตุลมะอ์มูร ( คือสถานที่หนึ่งที่ทีกุรอานถูกพักไว้ก่อนที่จะประทานลงมาให้กับท่านศาสดา ซึ่งมีรายงานว่าเป็นสถานที่ที่อยู่ ณ ชั้นฟ้าชั้นที่ 4 ) แต่ถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานในเรื่องระยะเวลาของการประทานกุรอาน และในขณะเดียวกันในฮะดิษนี้กล่าวถึงการประทานทั้งหมดของอัลกุรอาน ไม่ได้บอกว่ากุรอานถูกเริ่มต้นประทานในเดือนรอมฎอน
จากคำกล่าวทั้งหมดนี้สรุปได้ว่าการแต่งตั้งท่านศาสดา (ศอลฯ) และการประทานอัลกุรอานที่ถือเป็นธรรมนูญแห่งชีวิตของมนุษย์นั้นเกิดขึ้นในวันที่ 27 เดือนรอญับ

อายะฮ์และซูเราะฮ์ในอัล กุรอาน

ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่านในฉบับนี้เราจะมาวิเคราะห์ความหมายของคำว่า ซูเราะฮ์และอายะฮ์ รวมทั้งกล่าวถึงจำนวนอายะฮ์และคำทั้งหมดในอัล กุรอานกัน อย่างที่ท่านผู้อ่านทราบกันดีแล้วว่า อัล กุรอานมี 114 ซูเราะฮ์ และในแต่ละซูเราะฮ์จะมีจำนวนโองการหรือที่เรียกว่าอายะฮ์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งในช่วงแรกนี้จะขอนำเสนอความหมายเกี่ยวกับทั้งสองดังกล่าวนี้ก่อน ความหมายของคำว่าอายะฮ์ คำว่า อายะฮ์ ในทางภาษาให้ความหมายว่า สัญลักษณ์ที่ชัดเจนหรือเครื่องหมายที่ชัดแจ้ง ในอัล กุรอานให้ความหมายของคำว่าอายะฮ์ไปในรูปแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้1 – ให้ความหมายว่า สัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย อัล กุรอานกล่าวในซูเราะฮ์ มัรยัม โองการที่ 10 ว่า قَالَ رَبِّ اجْعَلْ لِي آيَةً เขากล่าวว่า “ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดทำให้มีสัญญาณ แก่ข้าพระองค์ด้วย2 – ให้ความหมายว่า สิ่งมหัศจรรย์ อัล กุรอานกล่าวในซูเราะฮ์ อาลิ อิมรอน โองการที่ 49 ว่า أَنِّي قَدْ جِئْتُكُمْ بِآيَةٍ مِنْ رَبِّكُمْ แท้จริงนั้นได้นำสัญญาณหนึ่ง(สิ่งมหัศจรรย์)จากพระเจ้าของพวกท่านมายังพวกท่านแล้ว 3 – ให้ความหมายว่า หลักฐาน อัล กุรอานกล่าวในซูเราะฮ์ อัล บะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 145 ว่า وَلَئِنْ أَتَيْتَ الَّذِينَ أُوتُوا الْكِتَابَ بِكُلِّ آيَةٍ مَا تَبِعُوا قِبْلَتَكَ และแน่นอน ถ้าหากเจ้าได้นำหลักฐานทุกอย่างมาแสดงแก่บรรดาผู้ได้รับคัมภีร์พวกเขาก็ไม่ตามกิบละฮ์ของเจ้า4 – ให้ความหมายว่า อุทาหรณ์ อัล กุรอานกล่าวในซูเราะฮ์ ฮูด โองการที่ 103 إِنَّ فِي ذَلِكَ لآيَةً لِمَنْ خَافَ عَذَابَ الآخِرَةِ แท้จริง ในการนั้นเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้ที่กลัวการลงโทษในวันอาคิเราะฮ์ 5 – ให้ความหมายว่า โองของซูเราะฮ์ในอัล กุรอาน อัล กุรอานกล่าวในซูเราะฮ์ ฟุศศิลัตโองการที่ 3 ว่า : كِتَابٌ فُصِّلَتْ آيَاتُهُ قُرْآنًا عَرَبِيًّا لِقَوْمٍ يَعْلَمُونَ คัมภีร์ซึ่งโองการทั้งหลายได้ให้คำอธิบายไว้อย่างละเอียดเป็นอัล กุรอานภาษาอาหรับสำหรับหมู่ชนผู้มีความรู้ ส่วนคำว่า “อายะฮ์” ในสำนวนทางวิชาการหมายถึงคำหรือประโยคที่ถูกแยกออกจากประโยคก่อนและหลังซึ่งมีปรากฏในทุกซูเราะฮ์ โองการแรกและโองการสุดท้ายของอัล กุรอาน นักวิชาการและนักค้นคว้าด้านอัล กุรอานเชื่อว่า โองการแรกของอัล กุรอานที่ถูกประทานลงมาคือ 5 โองการแรกของซูเราะฮ์ อัลอะลัก โดยมีรายงานฮะดิษยืนยันถึงความเชื่อดังกล่าวอย่างชัดเจน มีรายงานจากท่านอิมาม ซอดิก (อ) ว่า : โองการแรกที่ถูกประทานให้กับท่านศาสดา(ศ็อล ฯ) คือ اقْرَأْ بِاسْمِ رَبِّكَ الَّذِي خَلَقَ (١)خَلَقَ الإنْسَانَ مِنْ عَلَقٍ (٢)اقْرَأْ وَرَبُّكَ الأكْرَمُ (٣)الَّذِي عَلَّمَ بِالْقَلَمِ (٤)عَلَّمَ الإنْسَانَ مَا لَمْ يَعْلَمْ (٥) 1. จงอ่านด้วยพระนามแห่งพระเจ้าของเจ้าผู้ทรงสร้าง 2. ทรงสร้างมนุษย์จากก้อนเลือด 3. จงอ่านเถิด และพระเจ้าของเจ้านั้นผู้ทรงเกียรติยิ่ง 4. ผู้ทรงสอนการใช้ปากกา 5. ผู้ทรงสอนมนุษย์ในสิ่งที่เขาไม่รู้ ส่วนประเด็นเกี่ยวกับโองการสุดท้ายของอัล กุรอานที่ถูกประทานให้แก่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ)นักวิชาการมีความเห็นที่แตกต่างกันออกไปซึ่งท่าน ซัรกอนี ได้กล่าวไว้ในหนังสือ مناهل العرفان ว่ามีทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ถึง 10 ทัศนะด้วยกัน ซึ่งเราจะขอนำเสนอกับท่านผู้อ่านเพียงบางทัศนะเท่านั้น 1 – อิบนิอับบาสและอิบนิอุมัรเชื่อว่า โองการสุดท้ายของอัล กุรอานคือโองการที่ 281 ของซูเราะฮ์ บะเกาะเราะฮ์ 2 – อิบนิอะบีฮาตัม นักตัฟซีรและนักวิชาการอิสลามในช่วงศตวรรษที่ 2 -3 เชื่อว่าโองการที่ถูกประทานลงมาเป็นโองสุดท้ายของอัล กุรอานคือโองการที่ 278 ของซูเราะฮ์ บะเกาะเราะฮ์ 3 – ซัรกอนี นักวิชาการด้านอุลูมกุรอานเจ้าของหนังสือ มะนาฮิลุลอิรฟาน และซูยูฎีย์ เจ้าของหนังสือ อัลอิตกอน เชื่อว่าโองการสุดท้ายของอัล กุรอานคือโองการที่ 282 ของซูเราะฮ์ บะเกาะเราะฮ์ โดยที่ ซัรกอนีได้นำหลักฐานมายืนยันถึงความเชื่อของตนเองว่า - เพราะโองการนี้เป็นโองการที่กล่าวถึงการให้มนุษย์เตรียมตัวไปสู่วันกิยามะฮ์และโองการยังมีความหมายที่ต้องการจะกล่าวถึงการสิ้นสุดการประทานอัล กุรอานอีกด้วย - มีรายงานจากอิบนิอะบีฮาตัมว่า หลังจากโองการนี้ถูกประทานลงมาเพียง 9 วันหลังจากนั้นท่านศาสดาก็เสียชีวิต (อัล อิตกอน ฟี อุลูมิลกุรอาน เล่ม 1 หน้า 87) 4 – ยะอ์กูบีนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เจ้าของหนังสือตารีค ยะอ์กูบีย์ เชื่อว่า โองการที่ 3 ของซูเราะฮ์ มาอิดะฮ์ คือโองการสุดท้ายของอัล กุรอานซึ่งถูกประทานลงมาในตำบล เฆาะดีคุม หลังจากที่ท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) ได้แต่งตั้งให้ท่านอิมามอาลี (อ) เป็นผู้นำสืบต่อจากท่าน (อัตตัมฮีด ฟี อุลูมิลกุรอาน เล่ม 1 หน้า 128 – 129) จำนวนโองการในอัล กุรอาน ในเรื่องจำนวนโองการในอัล กุรอานนั้นนักวิชาการด้านอัล กุรอานมีความขัดแย้งและมีทัศนะต่าง ๆ มากมาย แต่ความขัดแย้งดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการที่ว่าอัล กุรอานขาดตกบกพร่องหรือถูกเพิ่มเติมแต่อย่างใด แต่ความขัดแย้งนั้นเกิดจากกำหนดการหยุดระหว่างอายะฮ์และการนับอายะฮ์ที่แตกต่างกัน และนักวิชาการยังเชื่ออีกว่าสาเหตุของความขัดแย้งนั้นเกิดจากการที่บางครั้งท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) เริ่มต้นอ่านโองการหนึ่งและอ่านโองการต่อไปโดยหยุดระหว่างโองการเพียงเล็กน้อยจนเป็นเหตุให้บางคนเข้าใจว่าท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) ยังอ่านไม่จบโองการจึงนับโองการนั้นเป็นหนึ่งโองการเท่านั้น หรือบางครั้งความขัดแย้งเกิดจากนักอ่านอัล กุรอานและนักท่องจำในช่วงยุคแรก ๆ มีทัศนะที่แตกต่างกันในการหยุดและการเริ่มต้นของแต่ละโองการ นักอ่านอัล กุรอานหรือนักท่องจำอัล กุรอานที่อาศัยอยู่ในเมืองสำคัญต่าง ๆ ของอิสลามมีทัศนะและความคิดเห็นเกี่ยวกับการหยุดและการเริ่มต้นของแต่ละโองการอีกทั้งการนับโองการที่แตกต่างกันเช่นนักท่องจำในเมืองมักกะฮ์มีทัศนะในการอ่านและการนับโองการแบบหนึ่งซึ่งแตกต่างกับทัศนะของนักอ่านในเมืองกูฟะฮ์ ประชาชนของแต่ละเมืองก็จะอ่านอัล กุรอานตามนักวิชาการของตนจึงเกิดความขัดแย้งกัน แต่ความขัดแย้งในสองประเด็นดังกล่าวนี้เป็นความขัดแย้งที่ผิวเผินไม่ได้มีผลต่อจำนวนโองการของอัล กุรอานที่แท้จริงแต่อย่างใดเลย นักอ่านกุรอานในแต่ละเมืองสำคัญของอิสลามมีความเชื่อเกี่ยวกับจำนวนของโองการกุรอานที่แตกต่างกันไป ด้วยเหตุนี้จึงมีการเรียกจำนวนของโองการตามชื่อของเมืองต่าง ๆ นั้นด้วย เช่น อะดะดุ มักกีย์ หมายถึงจำนวนโองการอัลกุรอานตามความเชื่อของชาวมักกะฮ์ หรืออะดะดุ กูฟีย์ หมายถึงจำนวนของโองการอัล กุรอานตามความเชื่อของชาวกูฟะฮ์ ซึ่งตามความเชื่อของชาวกูฟะฮ์โองการในอัลกุรอาน มีทั้งหมด 6236 โองการ ซึ่งจำนวนของโองการดังกล่าวนี้ถูกกล่าวไว้ในหนังสืออัลอิตกอนว่า – จำนวนดังกล่าวนี้รายงานจาก อิบนิอะบีลัยลา ซึ่งรายงานจากอับดุลเราะฮ์มาน ซุลละมีย์ ที่รายงานมาจากท่านอะลี อิบนิ อะบีฏอลิบ (อัลอิตกอน เล่ม 1 หน้า 211 ) แต่ก็มีบางส่วนเช่นกันที่เชื่อว่าโองการอัลกุรอานทั้งหมดมี 6666 โองการ ส่วนจำนวนคำทั้งหมดในอัลกุรอ่านมีทั้งหมด 77807 คำ ซึ่งจำนวนคำดังกล่าวนี้อ้างอิงจากหนังสือ อัลมุอ์ญัมอิฮ์ซออีย์ ความหมายของคำว่า ซูเราะฮ์ บรรดานักวิชาการด้านภาษาเชื่อว่าคำว่า ซูเราะฮ์ หมายถึงความสูงส่ง หรือ สถานะภาพอันสูงส่ง อิบนิฟาริส นักวิชาการด้านภาษาอาหรับกล่าวว่า – รากศัพท์ของคำว่า ซูเราะฮ์ หมายถึงความสูงส่ง ส่วนในทางวิชาการคำว่าซูเราะฮ์หมายถึง บทเฉพาะที่เริ่มต้นด้วยบิสมิลลาฮ์ ประเภทต่าง ๆ ของซูเราะฮ์ นักวิชาการด้านอัล กุรอานได้แบ่งซูเราะฮ์ในอัล กุรอานไว้ 4 ประเภทด้วยกัน พร้อมกับตั้งชื่อประเภทต่าง ๆ ไว้ดังนี้ 1 – سبع الطول (ซับอุตตุวัล) หมายถึง 7 ซูเราะฮ์ที่มีความยาวมากที่สุด ซึ่งนักวิชาการส่วนมากเห็นว่า 7 ซูเราะฮ์ดังกล่าวนั้นก็คือ ซูเราะฮ์ บะเกาะเราะฮ์ ซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน ซูเราะฮ์ นิสาอ์ ซูเราะฮ์ มาอิดะฮ์ ซูเราะฮ์ อันอาม และ ซูเราะฮ์ อะอ์รอฟ ในส่วนของซูเราะฮ์ อะอ์รอฟ นั้น นักวิชาการบางท่านเช่น ซะอีด อิบนิ ญุบัยร์ เชื่อว่าเป็นซูเราะฮ์ยูนุสหรืออีกบางท่านเชื่อว่า เป็นซูเราะฮ์กะฮ์ฟิ 2 – المئون (อัลมะอูน) คือบรรดาซูเราะฮ์ที่โองการมากกว่า 100 โองการซึ่งได้แก่ ซูเราะฮ์ เตาบะฮ์ ซูเราะฮ์ อันนะฮล์ ซูเราะฮ์ ฮูด ซูเราะฮ์ ยูซุฟ ซูเราะฮ์ อัมบิยาอ์ ซูเราะฮ์ ฏอฮา ซูเราะฮ์ มุอ์มินูน และซูเราะฮ์ ชูรอ 3 – المثانی (อัลมะซานีย์ ) หมายถึงซูเราะฮ์ที่โองการน้อยกว่า 100 โองการซึ่งมีด้วยกัน 20 ซูเราะฮ์ 4 – المفصل (อัลมุฟัศศอล) หมายถึงซูเราะฮ์มีเนื้อหาสั้นมาก เช่นซูเราะอ์ อัลเกาซัร ซูเราะฮ์ อันนาส ..... ซูเราะฮ์แรกและซูเราะฮ์สุดท้ายของอัล กุรอาน เกี่ยวกับเรื่องซูเราะฮ์แรกของอัล กุรอานมีทัศนะที่แตกต่างกันมากมายในหมู่นักวิชาการด้านอัล กุรอาน นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า ซูเราะฮ์แรกของคือซูเราะฮ์อัลอะลัก บางท่านก็เชื่อว่าคือซูเราะฮ์ อัลมุดดัซซิรแต่ทัศนะที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือคือทัศนะของท่านซะมัคชะรีย์นักวิชาการผู้มีชื่อเสียงด้านอัล กุรอานที่เชื่อว่าซูเราะฮ์ที่ถูกประทานลงมาครบสมบูรณ์ทั้งซูเราะฮ์คือซูเราะฮ์ อัลฟาติหะฮ์ โดยมีหลักฐานจากรายงานฮะดิษจากอะบูมัยซะเราะฮ์ อัมร์ บิน ชัรฮะบีล ว่า : ครั้งหนึ่งเมื่อท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) อยู่เพียงลำพัง ท่านได้ยินเสียงเรียกทำให้ท่านเกิดอาการตื่นตระหนกและเป็นกังวล ครั้งสุดท้ายทูตสวรรค์ได้ร้องเรียกท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) ว่า : โอ้มุฮัมมัด ท่านศาสดา (ศ็อล ฯ)ขานรับเสียงเรียกดังกล่าวนั้น หลังจากนั้นเองทูตสวรรค์ได้กล่าวว่า โอ้มุฮัมมัด จงกล่าวตามฉันเถิด ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ผู้ทรงกรุณาเมตตาปราณีเสมอ ..... (จนจบซูเราะฮ์ฟาติหะฮ์) ส่วนซูเราะฮ์สุดท้ายที่ถูกประทานลงมาครบทั้งซูเราะฮ์ คือซูเราะฮ์ อัลนัศร์ ท่านอิบนิอับบาสกล่าวว่า : ซูเราะฮ์นัศร์ คือซูเราะฮ์สุดท้ายที่ถูกประทานลงมาโดยมีรายงานยืนยันถึงเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจน มีรายงานจากหนังสือ มะนาฮิลุลอิรฟาน ว่า : หลังจากที่ซูเราะฮ์ อัล นัศร์ ถูกประทานลงมา ท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) ได้อ่านซูเราะฮ์ดังกล่าวให้กับบรรดาสาวกได้ฟัง ทุกคนต่างมีสีหน้ายิ้มแย้มและอิ่มเอิบ แต่มีเพียงท่านอับบาสลุงของท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) เท่านั้นได้ร้องไห้ด้วยความโศกเศร้าทุกคนในที่นั้นรวมทั้งท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) ได้ถามถึงสาเหตุของการร้องให้และความโศกเศร้าดังกล่าว ท่านอับบาสกล่าวตอบว่า : ฉันคิดว่า ซูเราะฮ์นี้คือการประกาศถึงวาระสุดท้ายของท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) าร ปรัชญาของการแบ่งอัล กุรอานเป็นซูเราะฮ์ บรรดานักวิชาการด้านอุลูมอัล กุรอานได้กล่าวถึงคุณประโยชน์ของการแบ่งอัล กุรอานให้เป็นซูเราะฮ์ต่าง ๆ ไว้ ซึ่งซูเราะฮ์ที่สั้นที่สุดคือซูเราะฮ์ อัลเกาซัร มีเพียง 3 โองการเท่านั้น และซูเราะฮ์ที่ยาวที่สุดคือ ซูเราะฮ์ อัล บะเกาะเราะฮ์ ซึ่งมี 286 โองการ ซึ่งจะขอนำเสนอเพียง 3 ข้อดังนี้ 1 - เพราะอัล กุรอานมีเรื่องราวและเป้าหมายที่ต้องการนำเสนอที่หลากหลาย : ในอัล กุรอานมีโองมากมายที่มีเนื้อหาและเป้าหมายที่แตกต่างกันไปซึ่งเนื้อหาดังกล่าวส่วนมากจะถูกแบ่งไปในรูปแบบของซูเราะฮ์ โองการที่มีเป้าหมายเดียวกันจะถูกรวบรวมไว้ในซูเราะฮ์เดียวกัน ตัวอย่างเช่น ซูเราะฮ์ นิสาอ์ จะกล่าวถึงเรื่องราวของที่เกิดขึ้นในอดีตที่เกี่ยวข้องกับบรรดาศาสดา 2 – เพื่อง่ายต่อการจดจำ : การแบ่งโองการอัล กุรอานในรูปแบบซูเราะฮ์ มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความสะดวกในการจดจำและการศึกษาค้นคว้า 3 – เพื่อปกป้องอัล กุรอานให้พ้นจากการบิดเบือนและเปลี่ยนแปลง : ด้านหนึ่งที่ถือเป็นความมหัศจรรย์ของอัล กุรอานคือการที่อัล กุรอานถูกแบ่งให้เป็นบทซูเราะฮ์ต่าง ๆ นี้เอง การแบ่งในรูปแบบดังกล่าวนี้เป็นสาเหตุทำให้อัล กุรอานถูกปกป้องรักษาไว้ ท่านผู้อ่านที่รักทั้งหลายอัล กุรอานกล่าวไว้ในโองการที่ 9 ซูเราะฮ์ ฮิจร์ อย่างชัดเจนว่า انا نحن نزلنا الذکر وانا له لحافظون แท้จริงเราได้ให้ข้อตักเตือน(อัล กุรอาน)ลงมา และแท้จริงเราเป็นผุ้รักษามันอย่างแน่นอน จากโองการข้างต้นอัล กุรอานมีผู้เป็นเจ้าของคือเอกองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) และพระองค์เองคือผู้ทรงรักษาอัล กุรอานให้พ้นจากการถูกตัดทอนและเพิ่มเติมอย่างแน่นอน

เหตุการณ์น้ำท่วมโลก

เหตุการณ์น้ำท่วมโลกเป็นช่วงสุดท้ายของการรอคอยของท่านศาสดานูฮ์ เป็นช่วงเวลาแห่งการพิสูจน์ถึงความอ่อนแอของบรรดาเจว็ดและพวกบูชาเจว็ดทั้งหลายรวมทั้งเป็นการพิสูจน์ถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์ (ซบ.)
หลังจากที่ท่านศาสดานูฮ์ ได้เห็นสัญญานต่าง ๆ ที่แสดงถึงการเกิดน้ำท่วมโลก ท่านได้รับคำสั่งจากอัลลอฮ์ให้นำสัตว์ทั้งหลายขึ้นเรือ ท่านศาสดานูฮ์ได้นำสัตว์แต่ละชนิดขึ้นเรือเป็นคู่ ๆ พร้อมทั้งบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหมด( ยกเว้นภรรยาและบุตรชายของท่านเอง ) โดยก้าวขึ้นเรือด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์และหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความหวังในความเมตตาของพระองค์
กุรอานกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในซูเราะฮ์ ฮูด โองการที่ 40 – 41 ว่า - จนกระทั่งเมื่อคำบัญชาของเราได้มา และบนพื้นแผ่นดินน้ำได้พวยพุ่งขึ้น เรากล่าวว่า “ จงบรรทุกไว้ในเรือจากทุกชนิดเป็นคู่ ๆและครอบครัวของเจ้าด้วย เว้นแต่ผู้ที่พระดำรัสได้กำหนดแก่เขาไว้ก่อนและผู้ศรัทธาแต่ไม่มีผู้ศรัทธาร่วมกับเขานอกจากจำนวนเล็กน้อย และเขากล่าวว่า “พวกท่านจงลงในเรือด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ทั้งในยามแล่นของมันและในยามจอดของมัน แท้จริงพระเจ้าของฉันเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ ”
หลังจากที่ท่านศาสดานูฮ์และบรรดาสาวกผู้ศรัทธาขึ้นเรือแล้ว มีคำสั่งจากฟากฟ้าให้ลงโทษกลุ่มชนผู้ปฎิเสธ เมื่อนั้นเองท้องฟ้ามืดครึ้มและเต็มไปด้วยเมฆฝน ฝนเม็ดใหญ่เทลงมาเสมือนกับว่าประตูแห่งท้องฟ้าได้เปิดออก อีกด้านหนึ่งเกิดตาน้ำที่มีน้ำพุ่งขึ้นมาอย่างรุนแรงไปทั่วผืนแผ่นดิน หลังจากนั้นไม่นานเกิดคลื่นยักษ์ถาโถมเข้าใส่กลุ่มชนผู้ปฏิเสธอย่างรุนแรง จนกระทั่งบรรดาผู้ปฏิเสธต่างหมดหวังที่จะมีชิวิตรอดจากเหตุการณ์ครั้งนี้
กุรอานกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในซูเราะฮ์ ฮูด โองการที่ 42 – 43 ว่า - และมันแล่นพาพวกเขาไปท่ามกลางคลื่นลูกเท่าภูเขา และนูฮ์ได้ร้องเรียกลูกชายของเขาซึ่งอยู่อย่างโดดเดี่ยว “ โอ้ลูกของฉันเอ๋ย ! จงมาขึ้นเรือมากับเราเถิด และเจ้าอย่าอยู่ร่วมกับผู้ปฏิเสธศรัทธาเลย ” เขา(ลูกชาย) กล่าวว่า “ ฉันจะไปอาศัยภูเขาลูกหนึ่ง มันจะคุ้มครองฉันจากน้ำนี้ได้ ” เขา(นูฮ์) กล่าวว่า “ ไม่มีผู้ใดคุ้มครอง (เจ้าได้) ในวันนี้ (ให้พ้น) จากพระบัญชาของอัลลอฮ์ เว้นแต่ผู้ที่พระองค์ทรงเมตตา ” และคลื่นได้ซัดเข้ามาระหว่างเขาทั้งสอง และเขา(ลูกชาย) ได้อยู่ในหมู่ของผู้จมน้ำตาย หลังจากเหตุการณ์สงบลง เรือของท่านศาสดานูฮ์มาหยุดอยู่บนยอดเขาแห่งหนึ่ง สัญญาของพระผู้เป็นเจ้าได้เกิดขึ้นแล้ว สัญญาที่พระองค์จะทำให้บรรดาผู้ศรัทธาได้รับชัยชนะและทำลายพวกบูชาเจว็ดทั้งหลาย ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของโลกกำลังจะเกิดขึ้น ทุกสิ่งกำลังถูกตระเตรียมให้ไปสู่การศรัทธาและความบริสุทธิ์ กุรอานกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในซูเราะฮ์ ฮูด อายะฮ์ที่ 44 – 48 ว่า - และได้มีเสียงกล่าวว่า “แผ่นดินเอ๋ย! จงกลืนน้ำของเจ้า และฟ้าเอ๋ย ! จงหยุด” และน้ำได้ลดลงและกิจการได้ถูกตัดสิน และมันได้จอดเทียบอยู่ที่ยอดเขา และได้มีเสียงกล่าวว่า “ความหายนะจงประสบแก่หมู่ชนผู้อธรรมเถิด” และนูฮ์ได้ร้องเรียนต่อพระเจ้าของเขาโดยกล่าวว่า “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า แท้จริงลูกชายของข้าพระองค์เป็นคนหนึ่งในครอบครัวของข้าพระองค์ และแท้จริงสัญญาของพระองค์นั้นเป็นความจริง และพระองค์เท่านั้นทรงตัดสินเที่ยงธรรมยิ่งในหมู่ผู้ตัดสิน พระองค์ทรงตรัสว่า “โอ้นูฮ์เอ๋ย ! แท้จริงเขามิได้เป็นคนหนึ่งในครอบครัวของเจ้า แท้จริงการกระทำของเขาไม่ดี ดังนั้นเจ้าอย่าร้องเรียนต่อข้าในสิ่งที่เจ้าไม่มีความรู้ แท้จริงข้าขอเตือนเจ้าที่เจ้าจะอยู่ในหมู่ผู้งมงาย เขากล่าวว่า “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ แท้จริงข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ท่าน ให้พ้นจากการร้องเรียนต่อพระองค์ท่านในสิ่งที่ข้าพระองค์ไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น และหากพระองค์ไม่ทรงอภัยแก่ข้าพระองค์ และไม่ทรงเมตตาข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ก็จะอยู่ในหมู่ของผู้ขาดทุน ได้มีเสียงกล่าวว่า “โอ้นุห์เอ๋ย ! จงลงไป(จากเรือ) ด้วยความศานติจากเรา และความจำเริญแก่เจ้า และแก่กลุ่มชนที่อยู่กับเจ้า และกลุ่มชนอื่นที่เราจะให้พวกเขาหลงระเริง แล้วการลงโทษอย่างเจ็บปวดจากเราก็จะประสบแก่พวกเขา

ศาสดา ซุลกิฟล์

หนึ่งในบรรดาศาสดาที่ถูกกล่าวถึงในกุรอาน คือ ท่านศาสดาซุลกิฟล์ ชื่อท่านถูกกล่าวถึง 2 ครั้งด้วยกัน ในโองการที่ 85 ซูเราะฮ์ อัมบิยาอ์ ที่กล่าวว่า : และจงรำลึกถึงเรื่องราวของอิสมาอีลและอิดรีส และซัลกิฟลิ แต่ละคนอยุ่ในหมู่ผู้อดทนขันติ
และในอายะฮ์ที่ 48 ซูเราะฮ์ ศอด ที่กล่าวว่า : และจงรำลึกถึงอิสมาอีล และอัลยะซะอฺ และซัลกิฟลิ และทุกคนอยู่ในหมู่ผู้ดีเลิศ
เรื่องราวเกี่ยวกับท่านศาสดา ซุลกิฟล์ นักวิชาการมีทัศนะที่แตกต่างกันออกไป แต่ประเด็นที่เป็นที่บรรดานักวิชาการยอมรับกันทั้งหมดคือ ท่านศาสดา ซุลกิฟล์ เป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์ ดังที่กล่าวข้างต้นแล้วว่าชื่อของท่านถูกกล่าวไว้ในกุรอานถึงสองครั้งด้วยกัน
ตามรายงานฮะดิษกล่าวว่า ท่านศาสดาซุลกิฟล์ เป็นบุตรของท่านศาสดา อัยยูบ ซึ่งชื่อเดิมของท่านคือ บาชีร อิบนิ อัยยูบ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ปัจจุบันอยู่ในประเทศซีเรีย ท่านมีอายุ 95 ปี มีบุตรชาย 1 คนชื่ออับดาน ซึ่งท่านได้แต่งตั้งให้เป็นตัวแทนของท่านหลังจากที่ท่านได้เสียชีวิตลง หลังจากสมัยของท่านศาสดาซุลกิฟล์ อัลลอฮ์ทรงส่งท่านศาสดาชุอัยบ์ลงมาเป็นผู้เผยแพร่สืบต่อมา
คุณลักษณะพิเศษสามประการของท่านศาสดาซุลกิฟล์
มีรายงานฮะดิษกล่าวว่า มีศาสนทูตท่านหนึ่งมีนามว่า อัลยะสะอ์ ได้กล่าวกับกลุ่มชนของตนว่า : ฉันมีความหวังว่า จะให้บุคคลหนึ่งเป็นตัวแทนฉันแต่ฉันจะต้องพิจารณก่อนว่าเขาจะปฏิตัวกับกลุ่มชนของฉันอย่างไร (หากเขาปฏิบัติดีต่อกลุ่มชนของฉัน ฉันจะแต่งตั้งให้เขาเป็นตัวแทนหลังจากฉันทันที) ท่านได้เรียกรวบกลุ่มชนของท่านแล้วประกาศว่า : ใครก็ตามที่สัญญาว่าจะปฏิบัติในสามสิ่งที่ฉันจะกล่าวต่อไปนี้ ฉันจะแต่งตั้งให้เขาเป็นตัวแทนหลังจากฉันทันที สามสิ่งดังกล่าวนั้นก็คือ
1- ให้ถือศิลอดในเวลากลางวัน
2- ให้ทำการเคารพภักดีพระเจ้าในเวลากลางคืน
3- อย่าโกรธและโมโห
มีเด็กหนุ่มได้ลุกขึ้นแล้วกล่าวว่า : ฉันสัญญาว่าจะปฏิบัติในสิ่งสามประการดังกล่าว
ท่านศาสดาอัลยะสะอ์ไม่ได้ให้ความสนใจกับเด็กหนุ่มคนดังกล่าว ท่านยังกล่าวถามกลุ่มชนของท่านเหมือนเดิมว่ามีใครพร้อมที่จะสัญญาที่จะปฏิบัติในสิ่งสามประการนั้นใหม เด็กหนุ่มคนดังกล่าวก็ลุกขึ้นมาตอบอีก ท่านศาสดาอัลยะสะอ์ก็ไม่ได้สนใจเด็กหนุ่มคนนั้น กล่าวซ้ำเป็นครั้งที่สามแต่ก็ไม่มีใครลุกขึ้นมาตอบรับคำเรียกร้องของท่านศาสดาอัลยะสะอ์มีเพียงเด็กหนุ่มคนเดิมเท่านั้น
หลังจากนั้นท่านศาสดาอัลยะสะอ์จึงได้แต่งตั้งให้เด็กคนนั้นเป็นตัวแทนหลังจากท่าน ต่อมาอัลลอฮ์ทรงแต่งตั้งให้เด็กหนุ่มคนดังกล่าวเป็นศาสนทูต เด็กหนุ่มที่กล่าวถึงนั้นก็คือท่านศาสดาซุลกิฟล์นั่นเอง ท่านได้ปฏิบัติในสามสิ่งดังกล่าวจึงได้ชื่อว่า ซุลกิฟล์ (ผู้รักษาสัญญา)

ความประเสริฐของอัลกุรอานในมุมมองของฮะดิษ

1. ท่านศาสนทูต (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “ทุกครั้งที่พวกท่านตกอยู่ในห้วงแห่งความชั่วร้าย อาทิ ความชั่วร้ายที่มาจากความมืดมน ดังนั้นพวกท่านจงยึดอัลกุรอานไว้เถิด แท้จริงอัลกุรอานให้ความช่วยเหลือกับทุกคนที่ต้องการความช่วยเหลือ และใครก็ตามที่พบกับข้อขัดแย้งและต้องการข้อเท็จจริง เขาผู้นั้นก็จะได้รับทางนำ และใครก็ตามที่ยึดอัลกุรอานเป็นทางนำ ผู้นั้นจะได้รับสวนสวรรค์ และผู้ใดก็ตามที่ผินหลังให้กับอัลกุรอาน และไม่ปฏิบัติตามอัลกุรอาน หนทางของพวกเขาคือไฟนรก และแท้จริงอัลกุรอานคือทางนำที่ดีที่สุดของแนวทางทั้งหลาย”
อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่อรรถาธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ไว้อย่างสมบูรณ์ ทั้งรูปลักษณ์ภายนอกและภายใน ซึ่งภายนอกนั้น คือ บทบัญญัติและหลักการจากพระผู้เป็นเจ้า สำหรับภายในคือ วิชาการที่ลึกซึ้ง อัลกุรอานมีรูปลักษณ์ภายนอกที่สวยงาม และมีรูปลักษณ์ภายในที่ลึกซึ้ง อัลกุรอานเปรียบเสมือนดวงดาวที่ส่องสว่างทางนำจากพระผู้เป็นเจ้า และเหนือจากดวงดาวนี้ ยังมีดวงดาวอื่นที่มาเพื่อเผยแผ่บทบัญญัติแห่งพระองค์ นั่นก็คือ บรรดาอิมามมะอ์ศูม (อ.) เพราะบรรดามะอ์ศูม (อ.) เป็นศูนย์รวมแห่งวิชาการ ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานไม่สามารถคำนวณนับได้ และปาฏิหาริย์ของอัลกุรอานก็ไม่มีวันล้าหลังเช่นกัน อัลกุรอานเป็นแสงสว่างแห่งทางนำ และรัศมีแห่งวิทยปัญญาที่ประจักษ์ชัด ชี้นำหนทางแห่งการอภัยโทษให้กับผู้ที่แสวงหาหนทางแห่งการอภัย ดังนั้นจงศึกษาอัลกุรอาน และเปิดใจในการศึกษาแสงสว่างแห่งทางนำ เพื่อให้รอดพ้นจากหนทางแห่งความหายนะและหลงผิด แท้จริงความคิดที่นำมาซึ่งความมืดบอดแห่งชีวิตและความมืดมนแห่งความเขลา จะถูกขจัดให้หมดสิ้นด้วยกับรัศมีแห่งทางนำ ดังนั้นจงกระทำความดีงามด้วยความบริสุทธิ์ใจเถิด และจงอย่าใส่ร้ายซึ่งกันและกัน2. มีกล่าวไว้ในฮะดิษอีกบทหนึ่งว่า “ อัลกุรอานคือทางนำเมื่อตกอยู่ในห้วงแห่งความหลงผิด อัลกุรอานคือคำอรรถาธิบายในห้วงแห่งความเขลา อัลกุรอานฉุดรั้งให้พ้นจากความผิดบาป อัลกุรอานคือรัศมีในห้วงแห่งความมืดมน อัลกุรอานอรรถาธิบายสิ่งอุตริทั้งหลาย อัลกุรอานปกป้องให้พ้นจากความหายนะ อัลกุรอานชี้ทางนำแก่ผู้หลงผิด อัลกุรอานคือสิ่งชี้แจงความความขัดแย้งทั้งหลาย อัลกุรอานคือทางนำแห่งดุนยาสู่อาคิเราะฮ์ ความสูงส่งแห่งศาสนาของพวกท่านสมบูรณ์อยู่ในอัลกุรอาน และผลลัพธ์ของผู้ผินหลังให้อัลกุรอานเป็นสิ่งใดมิได้เลย นอกเสียจากไฟนรก”3. อิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า “พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานคัมภีร์อันประเสริฐยิ่งให้กับพวกท่าน เป็นคัมภีร์ที่สัจจะยิ่งต่อสัญญาที่ให้ไว้ อัลกุรอานได้แจ้งข่าวและเหตุการณ์ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต หรือแม้แต่เรื่องราวแห่งชั้นฟ้าและแผ่นดิน หากมีคนใดมีความรู้ และบอกกล่าวพวกท่านถึงเรื่องราวอันเร้นลับและวิชาการที่ไร้จุดจบของคัมภีร์อัลกุรอานนั้น พวกท่านต้องประหลาดใจอย่างแน่นอน”4. จากสายรายงานที่น่าเชื่อถือ (มุตะวาติร) รายงานว่า ท่านศาสนทูต (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “ฉันจะจากไปโดยทิ้งสิ่งสองสิ่งไว้ให้กับพวกท่าน สิ่งหนึ่งคือ คัมภีร์แห่งพระผู้เป็นเจ้า คือสายเชือกที่ประทานจากฟากฟ้ามายังโลกมนุษย์ และอีกสิ่งหนึ่งคือ ลูกหลานและวงศ์วานของฉัน ดังนั้นจงดูเถิดว่าพวกท่านจะฝ่าฝืนฉันในเรื่องทั้งสองอย่างไรบ้าง”

ความหมายของปาฏิหาริย์ (อิอ์ญาซ) ของอัลกุรอาน

คำว่า อัล อิอ์ญาซ (ปฏิหาริย์) ในด้านภาษามีความหมายหลายแง่ด้วยกัน เช่น ปรากฏการณ์ที่เกิดอย่างฉับพลัน การมีฤทธิ์เดช การสำแดงให้สิ่งที่สุดวิสัยสำหรับคนอื่นเกิดขึ้น เช่นมักจะมีการกล่าวกันว่า งานของบุคคลนั้นเป็นความสามารถเฉพาะตัว ซึ่งเป็นงานที่สุดวิสัยสำหรับคนอื่น เป็นต้น ในทางวิชาการ คำนี้หมายถึงการมีผู้อ้างตนว่า ถูกแต่งตั้งมาจากพระผู้เป็นเจ้า แล้วสามารถบันดาลให้มีปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติ และกิจการที่สุดวิสัยสำหรับคนอื่นเกิดขึ้น แล้วกิจการอันนั้นก็จะได้เป็นพยานยืนยันถึงความตามข้ออ้างดังกล่าว กิจการที่สุดวิสัยสำหรับผู้อื่น จะยืนยันความจริงของผู้แสดงกิจการนั้นได้ก็ต่อเมื่อ ผู้แสดงกิจการนั้นสามารถทำให้เป็นจริงตามข้ออ้างเท่านั้น ครั้นหากความจริงตามข้ออ้างของเขาขัดกับกฎเกณฑ์ที่ยืนยันมาจากนบีหรืออิมามมะอ์ศูม (ผู้ปราศจากบาป) (อ.) ก็จะไม่ถือว่ากิจการนั้นเป็นความจริง และกิจการนั้นก็ยังไม่ได้ชื่อว่า เป็นปาฏิหาริย์ตามความหมายในวิชาการทางศาสนา ถึงแม้ว่าปุถุชนธรรมดาจะกระทำได้ก็ตาม ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ตัวอย่างที่ 1 ไม่ว่ากรณีใด ถ้าบุคคลใดอ้างตัวเป็นพระเจ้า โดยกฎเกณฑ์ทางสติปัญญา ถือว่าข้ออ้างนี้เป็นไปไม่ได้ สำหรับข้อพิสูจน์ที่ถูกต้องทั้งหลายล้วนเป็นหลักฐานยืนยันว่า ข้ออ้างนี้มิอาจเป็นไปได้ ตัวอย่างที่ 2 ไม่ว่ากรณีใด ถ้าผู้ใดอ้างตนว่าเป็นนบี หลังจากนบีแห่งอิสลาม นั้นหมายความว่า ข้ออ้างนี้เป็นเท็จโดยสิ้นเชิง ตามกฎเกณฑ์ของหลักฐานอ้างอิงที่เชื่อถือได้จากนบีแห่งอิสลามและหลักฐานจากบรรดาคอลีฟะฮ์มะอ์ศูมของท่าน ที่ยืนยันว่า ตำแหน่งนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นตราประทับความสมบูรณ์ของนบีทั้งหลาย เมื่อข้ออ้างเป็นความเท็จโดยสิ้นเชิง พยานหลักฐานจะให้ประโยชน์อะไรได้อีก ถึงแม้ผู้อ้างตนจะสามารถนำพยายานหลักฐานมาแสดงได้ก็ตาม สำหรับอัลลอฮ์ (ซบ.) ไม่ทรงมีความจำเป็นอันใดที่จะลบล้างสิ่งเหล่านั้น ในเมื่อกฎเกณฑ์ทางสติปัญญาสามารถพิสูจน์ถึงความเป็นไปมิได้ของข้ออ้างหรือหลักฐานอ้างอิงนั้น ๆ ได้อยู่แล้ว ว่าสิ่งนั้นเป็นโมฆะ มีชายคนหนึ่งอ้างตนว่า เป็นผู้ถูกแต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า ต่อมาเขาได้แสดงการกระทำหนึ่งที่ปุถุชนคนอื่น ๆ สุดวิสัยจะกระทำได้ แต่การกระทำนั้นยืนยันให้เห็นว่า ผู้อ้างตนผู้นั้นเป็นคนพูดเท็จ ดังมีรายงานเล่าว่า มุซัยลามะฮ์ได้ทำให้น้ำที่มีเพียงเล็กน้อยในบ่อเพิ่มปริมาณขึ้นจนเต็มบ่อ และเขาได้ใช้มือลูบไปที่ศรีษะของเด็ก ๆ ตระกูลฮะนีฟะฮ์เพื่อทำขวัญเด็กเหล่านั้น จนศรีษะของเด็ก ๆ เหล่านั้นมีรอยลูบติดอยู่ และเขายังได้เปิดเพดานปากของเด็กทุกคน เมื่อผู้แอบอ้างได้แสดงหลักฐานเช่นนี้ไม่จำเป็นสำหรับอัลลอฮ์ (ซบ.) ที่จะทรงลบล้าง เพราะว่าในกรณีเยี่ยงนี้ การแอบอ้างของเขาเองก็เพียงพอที่จะถูกลบล้างได้อยู่แล้ว และการกระทำเช่นนี้ก็ยังไม่ถือว่าเป็นปาฏิหาริย์ในแง่วิชาการศาสนา การกระทำต่าง ๆ ที่แสดงโดยพวกเล่นไสยศาสตร์และนักมายากลหรือการกระทำของผู้รู้บางแขนง วิชาที่มีศิลปะละเอียดอ่อน สลับซับซ้อนก็ยังไม่ถือว่าเป็นปาฏิหาริย์ในแง่วิชาการศาสนา ถึงแม้ว่าคนเหล่านั้นจะสามารถแสดงให้ปรากฎในสิ่งที่สุดวิสัยสำหรับคนอื่น ๆ ก็ตาม และไม่จำเป็นสำหรับอัลลอฮ์ (ซบ.) ที่จะทรงลบล้างการกระทำนั้น ๆ ในเมื่อเป็นที่รู้ว่าการกระทำของคนผู้นั้นจะอ้างตนว่าเป็นผู้ถูกแต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า และได้แสดงหลักฐานยืนยันให้เห็นว่าเขาพูดความจริงก็ตามเพราะวิชาความรู้ที่มีศิลปะอันละเอียดอ่อนสลับซับซ้อนนั้นจะมีหลักเกณฑ์ที่รู้กันอยู่สำหรับคนในวงการนั้น ๆ และหลักเกณฑ์เหล่านั้นก็ย่อมทำให้บรรลุถึงผลลัพท์ของมัน แม้อาจจำเป็นอาศัยการจัดลำดับขั้นตอนที่ละเอียดพิสดารก็ตาม จากการเปรียบเทียบเช่นนี้ความลี้ลับต่าง ๆ ถึงแม้ว่ามันจะเคยเป็นสิ่งลี้ลับสำหรับคนทั่วไป และบางเรื่องก็เคยเป็นความลี้ลับสำหรับบรรดาแพทย์กันเองด้วยซ้ำ มิได้เป็นเรื่องที่น่ารังเกียจต่อการที่อัลลอฮ์ (ซบ.) จะทรงเจาะจงให้มนุษย์คนหนึ่งคนใดมีความรู้แจ้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งบางทีเรื่องนั้น ๆ มีความละเอียดอ่อน และไกลเกินไปที่คนทั่วไปจะเข้าถึงได้ แต่ทว่าสิ่งที่น่ารังเกียจก็คือ คนโง่เขลาที่ปล่อยให้ความโง่เขลาลวงล่อ และปล่อยให้สิ่งปาฏิหาริย์อยู่ในมือของคนโกหก แล้วเขาก็ล่อลวงคนทั้งหลายให้พลาดหลงไปจากวิถีแห่งธรรม

การประทานอัลกุรอานแบบวาระเดียว

1. การประทานอัลกุรอานมี 2 รูปแบบด้วยกันคือ : การประทานอัลกุรอานแบบวาระเดียว และการประทานอัลกุรอานแบบหลายวาระ ซึ่งโองการที่ถูกประทานมาในเดือนรอมฎอน เป็นการประทานอัลกุรอานในรูปแบบวาระเดียว 2. ตามรายงานของบรรดาอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ถึงเรื่องของการประทานอัลกุรอานแบบวาระเดียว เป็นการประทานลงมา ณ บัยตุลอิซซะฮ์ และฟากฟ้าแห่งโลกดุนยา และตามการรายงานของชีอะฮ์อิมามียะฮ์รายงานกล่าวไว้เช่นกันว่าการประทานอัลกุรอานถูกประทาน ณ บัยตุลมะอ์มูรและฟากฟ้าชั้นที่สี่
3. ตามแนวความคิดของท่านอัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีย์ คือ อัลกุรอานถูกประทานลงมาสู่จิตใจของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แบบวาระเดียว ดังโองการที่ 11 ซูเราะฮ์ฏอฮา และโองการที่ 19 ซูเราะฮ์กิยามัต ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า การประทานโองการหรือซูเราะฮ์แบบวาระเดียวยังท่านศาสดา(ศ็อลฯ) นั้น ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)รอบรู้ในทุก ๆ สิ่งที่จะถูกประทานมายังท่านก่อนแล้ว ด้วยเหตุนี้เองการอ่านโองการอัลกุรอานก่อนการประทานจะเสร็จสิ้นลงนั้นจึงเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) 4. ความเร้นลับหนึ่งในการประทานอัลกุรอานแบบหลายวาระ คือ การทำให้จิตใจของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) และบรรดามุสลิเกิดความมั่นคง และการประทานอัลกุรอานแบบหลายวาระเป็นบทบัญญัติของอิสลาม เพี่อให้อัลกุรอานพ้นจากการดัดแปลง เพิ่มเติม และเพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้หลักปฏิบัติ อีกทั้งเพื่อให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ต่าง ๆที่เกิดขึ้นในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อย่างสมบูรณ์การประทานอัลกุรอานแบบวาระเดียว สิ่งนี้ทำให้คาดการณ์ได้ว่า อัลกุรอานมีการประทานลงมาหลายรูปแบบ : เนื่องจากทั้งในสายรายงานของพี่น้องซุนนะฮ์และชีอะฮ์ ต่างยอมรับและมีความเห็นตรงกันในการประทานในรูปแบบนี้ ท่านญะลาลุดดีน ซะยูฏี กล่าวว่า : รูปแบบการประทานอัลกุรอานลงมาจากบัลลังก์ของอัลลอฮ์ (ซบ.) มี 3 ทัศนะด้วยกันคือ ทัศนะแรก : อัลกุรอานถูกประทาทนลงมายังโลกดุนยาแบบทั้งหมดเพียงวาระเดียวในค่ำคืนลัยละตุลก็อดร์ หลังจากนั้นถูกประทานแบบเป็นระยะ ๆ ในเวลา 20-23 หรือ 25 ปี (แตกต่างกันตามระยะเวลาของการพำนักอยู่ในนครมักกะฮ์ของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) หลังจากการเผยแพร่ศาสนาอย่างเปิดเผย) ท่านชะฮีด บิน ญะบีร รายงานจากท่านอิบนิอับบาสว่า : อัลกุรอานถูกประทานมายังโลกดุนยาแบบวาระเดียวในค่ำคืนลัยละตุลก็อดร์ หลังจากนั้นพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงทยอยประทานโองการต่าง ๆ ตามกันลงมายังท่านศาสดาของพระองค์ มีรายงานอีกรายงานหนึ่ง จากท่านอิบนิอับบาส เช่นกันว่า : อัลกุรอานถูกประทานลงมาเพียงครั้งเดียว ณ บัยตุลอิซซะฮ์ ในฟากฟ้าแห่งโลกดุนยา และหลังจากนั้นญิบรออีลได้นำอัลกุรอานมาประทานแก่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เพื่อใช้ในการตอบคำถามของมนุษยชาติ และเพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติในการดำรงชีวิตของพวกเขา ทัศนะที่ 2 : อัลกุรอานถูกประทานลงมาสู่โลกดุนยาในค่ำคืนที่ 20 หรือ 23 หรือ 25 ของเดือนรอมฎอน เรียกได้ว่า ทุกค่ำคืนของลัยละตุลก็อดร์ พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงประทานโองการกุรอานจำนวนหนึ่งลงมาในระยะเวลาดังกล่าวจนครบถ้วนและหลังจากนั้น โองการต่าง ๆ เหล่านี้ถูกประทานอีกครั้งแบบเป็นระยะสั้น ๆ ตลอดทั้งปี ทัศนะที่ 3 : ความหมายของการประทานอัลกุรอานในเดือนรอมฎอน คือ ในครั้งแรกเป็นการประทานอัลกุรอานลงมาเพียงบางส่วนในเดือนรอมฎอน หลังจากนั้นเป็นการประทานส่วนที่เหลือในรูปแบบต่าง ๆ เป็นครั้งคราวตลอดทั้งปีมีอีกรายงานหนึ่งจากทางอิมามียะฮ์ รายงานว่า การประทานอัลกุรอานมีขึ้นที่บัยตุลมะอ์มูร และบางสายรายงานกล่าวว่า บัยตุลมะอ์มูร อยู่ณ ฟากฟ้าชั้นที่สี่ สำหรับฟากฟ้าชั้นที่สี่อยู่ที่ใหน และความเป็นจริงของบัยตุลมะอ์มูรคืออะไร เรื่องนี้ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด รายงานนี้เป็นรายงานเดียวที่ทำให้ทราบถึงสถานที่หนึ่งที่มีนามว่า ชั้นฟ้าชั้นที่สี่และบัยตุลมะอ์มูร ซึ่งอัลกุรอานถูกประทานลงมาในค่ำคืนลัยละตุลก็อดร์ ณ สถานที่ดังกล่าว ตามแนวความคิดของอัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งสามารถกล่าวโดยสังเขปได้ดังนี้คือ : จากแนวคิดทางปัญญาในเรื่องของการประทานอัลกุรอานลงมาในค่ำคืนลัยละตุลก็อดร์ของเดือนรอมฎอน และการอรรถาธิบายถึงการประทานอัลกุรอานลงมาแบบวาระเดียว ดังโองการกุรอานทั้งสามโองการข้างต้นนั้น มีคำอธิบายที่ตรงกันข้ามกับการประทานอัลกุรอานแบบหลายวาระ (ซึ่งกริยาบาบ ตัฟอีล ส่วนใหญ่แล้วจะตรงกันข้ามกับกริยาบาบ อิฟอาล) ด้วยเหตุนี้เองทำให้อัลกุรอานซึ่งมีความสัจจริงอยู่เหนือความเข้าใจโดยปกติทั่วไปของมนุษย์ จากโองการแรกของซูเราะฮ์ฮูด ได้กล่าวถึงความเป็นสัจจริงดังกล่าวไว้ดังนี้คือ “(อัลกุรอาน) เป็นคัมภีร์ซึ่งบรรดาโองการที่ปรากฏในนั้น ถูกเรียบเรียงขึ้นอย่างมั่นคง (โดยอัลลอฮ์) หลังจากนั้นโองการดังกล่าวก็ถูกจำแนกไว้อย่างชัดเจน เป็นคัมภีร์ที่ถูกประทานมาจากอัลลอฮ์ผู้ทรงปรีชาญาณยิ่ง อีกทั้งทรงตระหนักยิ่ง” กล่าวคือ อัลกุรอานในอีกระดับหนี่งไม่มีการแบ่งออกเป็นภาคหรือเป็นส่วนย่อยแต่อย่างใด สำหรับการอรรถาธิบายและรายละเอียดย่อยของโองการอัลกุรอานซึ่งเราเห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นขั้นตอนภายหลังจากนั้นที่ได้ถูกประทานลงมา ดังในซูเราะฮ์อะอ์รอฟ โองการี่ 53 และซูเราะฮ์ยูนุส โองการที่ 39 เป็นโองการที่มีลักษณะดังที่ได้กล่าวไว้ และที่กระจ่างชัดที่สุดคือในซูเราะฮ์ซุครุฟ โองการที่ 1-4 ความว่า : “ฮามีม ขอยืนยันในคัมภีร์(อัลกุรอาน) ที่แจ้งชัด แท้จริงเราได้บันดาลคัมภีร์นั้นให้เป็นกุรอานภาษาอาหรับเพื่อเจ้าทั้งหลายจะได้เข้าใจ และแท้จริงอัลกุรอานมีปรากฏอยู่ในแม่บทแห่งคัมภีร์ซึ่งอยู่ที่เราเอง แน่นอนยิ่งเป็นคัมภีร์อันสูงส่ง เป็นคัมภีร์ที่ยิ่งด้วยวิทยญาณ” โองการนี้เป็นการอรรถาธิบายคำกล่าวที่ว่า คัมภีร์ที่แจ้งชัดนั้นอยู่ในแม่บทแห่งคัมภีร์ซึ่งไม่ใช่ภาษาอาหรับ และไม่มีการแบ่งออกเป็นภาคหรือส่วนย่อย และถูกประทานมาเพื่อให้มนุษยชาติทั้งหลายได้ทำความเข้าใจโดยประทานลงมาเป็นภาษาอาหรับ จากโองการข้างต้นและโองการอื่น ๆ ทำให้เรากล่าวได้ว่า การประทานอัลกุรอานลงมาในเดือนรอมฎอนซึ่งเป็นการประทานคัมภีร์อันสูงส่งมาในหัวใจของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)แบบทั้งหมดในวาระเดียวนั้นมีวัตถุประสงค์เดียวกับการประทานอัลกุรอานลงมาในจิตใจของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) แบบเป็นระยะ ๆ ตลอดระยะเวลาของการเป็นศาสดาของท่าน ท่านอัลลามะฮ์ ได้ยกตัวอย่างซูเราะฮ์ฏอฮา โองการที่ 114 ความว่า : “และเจ้าอย่างเร่งรัดใน(การถ่ายทอด)อัลกุรอาน (สู่ผู้อื่น) ก่อนที่การประทานอัลกุรอานส่วนนั้นแก่เจ้าจะเรียบร้อยลง” และในซูเราะฮ์กิยามัต โองการที่ 16-17 ความว่า : “เจ้าอย่ากระดกลิ้นของเจ้าด้วยความเร่งรัดในการอ่านอัลกุรอาน เนื่องจากการรวบรวมอัลกุรอานและการอ่านมันเป็นหน้าที่ของเรา” จากโองการดังกล่าวทำให้เราทราบได้ว่า จริง ๆ แล้วอัลกุรอานถูกประทานลงมายังจิตใจของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)อยู่ก่อนแล้ว และท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ก็มีความรอบรู้ในสิ่งที่ได้ประทานลงมายังท่านเช่นกัน ด้วยเหตุนี้พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) จึงทรงห้ามท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ในการรีบเร่งที่จะอ่านโองการอัลกุรอานก่อนที่การประทานจะเรียบร้อยลง

กุรอานในมุมมองของกุรอาน

การสรรเสริญอัลกุรอาน (ก็อฟ ขอสาบานด้วยอัลกุรอานอันทรงเกียรติ /กอฟ - 1) การยกย่องอัลกุรอาน (นั่นคือ กุรอานอันทรงเกียรติ /วากิอะฮ์ - 2) และการเทอดเกียรติอัลกุรอาน (และโดยแน่นอน เราได้ให้แก่เจ้าเจ็ดโองการที่ถูกอ่านซ้ำและอัลกุรอานที่ยิ่งใหญ่ /ฮิจร์ - 87) เหมาะสมกับสถานะภาพของพระเจ้าที่พระองค์ทรงประทานคัมภีร์แห่งทางนำ (บรรดาผู้ได้รับคัมภีร์ทั้งหลาย แท้จริงร่อซูลของเรา ได้มายังพวกเจ้าแล้ว โดยที่เขาจะแจกแจงแก่พวกเจ้า ซึ่งมากมายจากสิ่งที่พวกเจ้าปกปิดไว้จากคัมภีร์และเขาจะระงับไว้มากมาย แท้จริงแสงสว่างจากอัลลอฮ์ และคัมภีร์อันชัดแจ้งนั้นได้มายังพวกเจ้าแล้ว /มาอิดะฮ์ - 15) มาบนพื้นฐานแห่งความรู้อันไม่มีที่สินสุดของพระองค์ (หากพวกเขาไม่ตอบสนองการเรียกร้องของพวกท่าน ก็จงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลกรุอานถูกประทานลงมาด้วยความรู้ของอัลลอฮ์ /ฮูด - 14) เป็นการดีว่าที่เราจะรับฟังการกล่าวถึงคุณลักษณะของอัลกุรอานจากพระเจ้าผู้ทรงประทานกุรอานลงมาเอง
กุรอานคือวจนะที่ดีที่สุดของพระเจ้า (อัลลอฮ์ทรงประทานวจนะที่ดีที่สุด) และเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์รำลึก (คัมภีร์นี้มิใช่อื่นใดเลย นอกจากเป็นข้อตักเตือนและเป็นคัมภีร์อันชัดแจ้ง /ยาซีน - 69) เป็นอุทาหรณ์และบทเรียนจากพระเจ้าที่สูงส่งที่สุด (แท้จริงข้อตักเตือน (อัลกุรอาน) จากพระเจ้าของพวกท่าน ได้มายังพวกท่านแล้ว /ยูนุซ - 57) สำหรับบรรดาผู้ศรัทธา อัลกุรอานคือยาบำบัด ( และเราได้ให้ส่วนหนึ่งจากอัลกุรอานลงมา ซึ่งเป็นการบำบัดและความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา /อัซรออ์ - 82) พร้อมทั้งเป็นสิ่งที่แยกแยะระหว่างสัจธรรมและความเป็นโมฆะ (ความจำเริญยิ่งแด่พระองค์ ผู้ทรงประทานอัลฟุรกอน แก่บ่าวของพระองค์(มุฮัมมัด) เพื่อเขาจะได้เป็นผู้ตักเตือนแก่ปวงบ่าวทั้งมวล /ฟุรกอน - 1) อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่ไม่มีความคลางแคลงสงสัยอยู่ในนั้นเลยอีกทั้งเป็นทางนำแห่งผู้ศรัทธาทั้งหลาย (คัมภีร์นี้ ไม่มีข้อสงสัยใด ๆ ในนั้น เป็นทางนำสำหรับบรรดาผู้ยำเกรงเท่านั้น /บะเกาะเราะฮ์ - 2) อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่มีถ้อยคำที่มีน้ำหนักยิ่ง (แท้จริงเราจะประทานวจนะ (วะฮียฺ) อันหนักหน่วงแก่เจ้า /มุซซัมมิล - 5) เป็นคัมภีร์ที่มีความเป็นสิริมงคลและความจำเริญ (นี้คือ คัมภีร์ ที่เราได้ให้ลงมาอันเป็นคัมภีร์ที่มีความจำเริญ /อันอาม - 92) เป็นคัมภีร์ที่ไม่มีความเป็นโมฆะและความเท็จอยู่ในนั้นเลย (ความเท็จจากข้างหน้าและจากข้างหลังจะไม่คืบคลานเข้าไปสู่อัลกุรอานได้ /ฟุซซิลัต - 43) อัลกุรอานเป็นปาฏิหาริย์อันนิรันดร์ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) (จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด แน่นอนหากมนุษย์และญินรวมกันที่จะนำมาเช่นอัลกุรอานนี้ พวกเขาไม่อาจจะนำมาเช่นนั้นได้ และแม้ว่าบางคนในหมู่พวกเขาเป็นผู้ช่วยเหลือแก่อีกบางคนก็ตาม /อัซรออ์ - 3) อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่การเรียนรู้และปฏิบัติตามจะนำมนุษย์ไปสู่การเป็นผู้รู้ผู้สูงส่ง (หากแต่(เขาจะกล่าวว่า) ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ที่ผูกพันธ์กับพระเจ้าเถิด เนื่องจากการที่พวกท่านเคยสอนคัมภีร์ และเคยศึกษาคัมภีร์มา /อาลิอิมรอน - 79) อัลกุรอานคือคัมภีร์ที่การยึดมั่นต่อมันนั้นเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ได้รับชัยชนะที่แท้จริง (และบรรดาผู้ที่ยึดถือคัมภีร์ และดำรงไว้ซึ่งการนมาซนั้น แท้จริงเราจะไม่ให้สูญไปซึ่งรางวัลของผู้ปรับปรุงแก้ไขทั้งหลาย /อะอ์รอฟ - 170) แต่เป็นที่น่าเสียใจว่ามุสลิมแทนที่จะยึดมั่นต่อกุรอาน (พวกเจ้าจงยึดเอาสิ่งที่เราได้ให้ไว้แก่พวกเจ้าด้วยความเข้มแข็ง/อะอ์รอฟ - 171) พวกเขากลับทอดทิ้งกุรอาน ( และรอซูลได้กล่าวว่า “ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ แท้จริงชนชาติของข้าพระองค์ได้ทอดทิ้งอัลกุรอานเสียแล้ว /ฟุรกอน - 30) อัลกุรอานคัมภีร์แห่งพระเจ้าแทนที่จะถูกนำมาเป็นผู้นำ (พวกท่านจงยึดมั่นต่อกุรอาน ดังนั้นจงยึดอัลกุรอานเป็นผู้นำเถิด /กันซุลอุมมาล – เล่ม 2 หน้า 290) กลับถูกทำให้เป็นผู้ตาม (และพวกเจ้าจะต้องไม่ปิดบังมัน แล้วพวกเขาก็เหวี่ยงมันไว้เบื้องหลังพวกเขา /อาลิอิมรอน - 187) ราหวังว่ากุรอานคือยาบำบัดสำหรับเราในโลกดุนยา (และเราได้ให้ส่วนหนึ่งจากอัลกุรอานลงมา ซึ่งเป็นการบำบัดและความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา /อัซรออ์ - 82) และเป็นยาบำบัดสำหรับเราในวันปรโลก (ท่านทั้งหลายจงยึดมั่นอัลกุรอาน เพราะแท้จริงอัลกุรอานคือสิ่งบำบัดที่การบำบัดนั้นถูกตอบรับ /บิฮารรุลอันวาร – เล่ม92 หน้า 17)

กุรอาน คืออะไร? (นิยามของกุรอาน)

นิยามที่ง่ายที่สุดสำหรับผู้คนทั่วไปที่จะรับรู้ถึงอัลกุรอานได้ก็คือเป็น คัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นคัมภีร์แห่งฟากฟ้าของศาสนาอิสลาม เป็นวะฮ์ยูแห่งพระผู้เป็นเจ้าที่มีต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) นอกจากนี้ยังมีการให้นิยามอื่น ๆ ในเชิงวิชาการอีกว่า :
กุรอาน คือวะฮ์ยูที่เป็นปาฏิหาริย์แห่งพระผู้เป็นเจ้า เป็นภาษาอาหรับ ซึ่งถูกประทานลงมาในรูปแบบของคำด้วย โดยผ่านญิบรออีลที่รับมาจากพระผู้เป็นเจ้า จากเลาหุลมะฮ์ฟูซ สู่จิตอันบริสุทธิ์ของท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ) ทั้งที่ถูกประทานลงมาวาระเดียวอย่างกว้าง ๆ และทั้งที่ถูกประทานลงมาเป็นรายละเอียดในตลอดระยะเวลา 23 ปี โดยท่านศาสดาได้อ่านสิ่งนั้นให้แก่เหล่าสาวกกลุ่มหนึ่งของท่าน และมีสาวกกลุ่มหนึ่งทำการจดบันทึกวะฮ์ยู(พระวจนะแห่งพระเจ้า) โดยได้รับการดูแลตรวจสอบโดยตรงและอย่างต่อเนื่องจากท่านศาสดา(ศ็อลฯ) อีกทั้งมีเหล่าสาวกอีกจำนวนมากที่ได้ท่องจำกุรอาน โดยได้รายงานกันมาด้วยสายรายงานที่น่าเชื่อถือ (มุตะวาติร) กุรอานถูกบันทึกในสมัยท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แต่ยังไม่ได้รวบรวมเป็นเล่ม ซึ่งต่อมาในยุคของท่านอุษมาน เขาได้ใช้เวลารวบรวมเป็นรูปเล่มนานกว่า 28 ปี โดยได้เรียบเรียงจากซูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์จนถึงซูเราะฮ์อันนาส รวมทั้งหมด 114 ซูเราะฮ์ เป็นตัวบทที่ศักดิ์สิทธิ์ ได้รายงานด้วยสายรายงานที่น่าเชื่อถือ โดยเป็นสิ่งดียิ่งสำหรับการอ่านคัมภีร์ ( กุรอานพะญูฮี หน้า 3 )คำว่ากุรอาน กุรอานเป็นชื่อที่ถูกรู้จักมากที่สุดในหมู่คัมภีร์แห่งฟากฟ้า ท่ามกลางนามหรือคุณลักษณะต่าง ๆ มากมายที่กล่าวถึงคัมภีร์สุดท้ายนี้ คำว่า “กุรอาน” ถูกใช้เรียกชื่อคัมภีร์มากกว่าคำอื่น ๆ ท่านศาสดา(ศ็อลฯ) หรือเหล่าสาวกไม่ได้ตั้งชื่อคัมภีร์นี้ว่ากุรอาน แต่ทว่าพระผู้เป็นเจ้าเองเป็นผู้ที่ตั้งชื่อคัมภีร์นี้ว่า “กุรอาน” คำว่า “กุรอาน” มีปรากฏในคัมภีร์ถึง 68 ครั้ง โดยมีอยู่สองครั้งที่ให้ความหมายว่า “ การนมาซ” (ซูเราะฮ์อิสรอ โองการที่ 78) ในโองการนี้คำว่า “กุรอานุลฟัจร์” ถูกกล่าวซ้ำสองครั้ง นักอรรถาธิบายกุรอานกลุ่มหนึ่งเชื่อว่ากุรอานในที่นี้หมายถึงนมาซ และ “กุรอานุลฟัจร์” หมายถึงนมาซศุบห์ (มัจมะอุลบะยาน เล่ม 2 หน้า 65) และอีกสองครั้งให้ความหมายของการอ่าน ( ซูเราะฮ์กิยามะฮ์โองการที่ 17 และ 18) ส่วนกรณีที่เหลือบ่งชี้ถึงคัมภีร์แห่งอัลลอฮ์ (ซบ.) ระหว่างนักอรรถาธิบายกุรอานและนักวิชาการอิสลาม มีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับเรื่องของการอ่านออกเสียง รากศัพท์ รวมทั้งความหมายของคำนี้ บ้างก็เชื่อว่า กุรอาน มาจากรากศัพท์ของคำว่า “กอร่อนะ” หมายถึง “การรวบรวม” บ้างก็เชื่อว่า รากศัพท์มาจากคำว่า “กอร่ออะ”หมายถึงสิ่งถูกอ่าน ซึ่งโดยทั่วไปความหมายของรากศัพท์จะให้ความหมายของกรรม อิมามชาฟิอี ถือว่า กุรอาน ไม่ได้แตกออกมาจากรากศัพท์ใด ๆ เลย เป็นชื่อเฉพาะ กล่าวคือ ชื่อนี้ เป็นคำแรกที่ใช้สำหรับคัมภีร์เล่มนี้ โดยไม่เคยมีความหมายใดมาก่อนเลย ( ตะอ์รีเคกุรอาน ของท่านรอมยอร หน้า 16) นามของกุรอานที่ถูกรู้จักรองลงมา ได้แก่ ฟุรกอน กิตาบ ซิกร์ และฮิกมะฮ์และยังมีอีกกว่า 80 ชื่อ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นลักษณะนามของอัลกุรอาน

ผู้สนับสนุน